วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทรงยืนรับคลื่นลมการเมืองแทนประชาชนและบ้านเมือง


ทรงยืนรับคลื่นลม
แทนประชาชนและบ้านเมือง

                                                                พูลเดช กรรณิการ์

คนไทยทุกคนมีบุญที่ได้เกิดมาและอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของในหลวง เพราะนอกจากพระองค์จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สุดประเสริฐ ปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม เป็น “ผู้ปกครอง” ที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดในโลกเสมอเหมือน พระองค์ยังเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ที่ทุ่มเทการทำงานเพื่อประชาชนอย่างที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดในโลกทำได้ ด้วยความรักความห่วงใยในประชาชนอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้หวังผลทางการเมืองหรืออย่างอื่นเช่นผู้ปกครองทั่วไป

หาก 65 ปีที่ผ่านมา คนไทยไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่สุดประเสริฐอย่างพระองค์ บ้านเมืองและคนไทยจะเป็นอย่างไรจากปัญหาการเมืองที่รุมเร้าประเทศไทยมาตลอด
     พระองค์ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจของ “คณะราษฎร” สองฝ่าย ที่ต่อสู้กันมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นผลสำเร็จ

บ้านเมืองระส่ำระสายเพราะการต่อสู้ทางการเมือง พระมหากษัตริย์หนุ่มต้องยืนอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดจากการแย่งชิงอำนาจของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองตอนนั้น พระองค์ต้องรับแรงถาโถมทางการเมืองมากมายเพราะคำสัญญาว่า “จะไม่ทอดทิ้งประชาชน”

สถานการณ์บ้านเมืองในตอนนั้น คนไทยไม่รู้จะพึ่งใคร นอกจากพระเจ้าอยู่หัวของพวกเขา อันสะท้อนออกมาเป็นเสียงตะโกนของคนไทยผู้หนึ่งว่า “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”

นับแต่วันนั้นมา ในหลวงไม่เคยทั้งประชาชนเลย แม้ว่าภยันตรายทางการเมืองจะรายล้อมรอบตัวพระองค์ และ “อะไรก็เกิดขึ้นได้กับพระองค์” แม้แต่ถึงชีวิต  ถัดจากยุคคณะราษฎรสองฝ่าย พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับเผด็จการทหารเบ็ดเสร็จครองเมืองที่ทั้งข่มขู่กดดันพระองค์ แสดงอำนาจบาตรใหญ่เหนือพระองค์ และพร้อมที่จะเป็นภยันตรายต่อพระองค์ทุกเมื่อเช่นกัน

พระองค์ต้องดำรงสถานะพระเจ้าแผ่นดินอยู่อย่างกล้ำกลืนเพื่อให้ประชาชนมีที่ยึดเหนี่ยว และทรงแปรความกล้ำกลืนเป็นการออกบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทุกหัวระแหงทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า “พวกเขายังมีพระเจ้าอยู่หัวอยู่กับพวกเขา”

ยุคลัทธิคอมมิวนิสต์แผ่เข้าสู่ประเทศไทย พระองค์ต้องเผชิญมรสุมทางการเมืองอีกครั้ง เพราะพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งลัทธิคอมมิวนิสต์จะต้องทำลายและล้มล้างตามสูตรการปฏิวัติประชาชนที่ทำกันมาในหลายประเทศ ทั้งที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ควรถูกยกเว้นการโค่นล้มทำลายและเพราะพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่นอกเหนือนิยามการถูกทำลายของลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ที่ทำให้ในที่สุดลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่สามารถชนะสงครามประชาชนในประเทศไทยได้

     เราคนไทยและประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์มาได้เพราะพระองค์ท่านหมดจากยุคลัทธิคอมมิวนิสต์ แทนที่ปัญหาการเมืองจะไม่ต้องไปกระทบพระองค์อีก กลับไม่เป็นเช่นนั้น การต่อสู้ระหว่างประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย กับเผด็จการที่ยังตกทอดมา ก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า

เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์พฤษภาปี 35 บ้านเมืองวิกฤตและเสียหายอย่างหนัก ประชาชนเสียเลือดเสียเนื้อ ใครเล่าจะสามารถดับวิกฤตของบ้านเมืองได้ นอกจากพระองค์

พระองค์ต้องลงมาแก้วิกฤตการเมืองของบ้านเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะไม่อาจทิ้งประชาชนและปล่อยบ้านเมืองให้ลุกลามเสียหายต่อไปได้ การเมืองยังคงวนเวียนอยู่กับพระองค์ทั้งที่ไม่ประสงค์จะเกี่ยวข้อง

มีใครสำนึกบ้างว่า พระองค์ทรงยอมเปลืองตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการเมืองที่ไม่รู้จักจบสิ้น เพื่อบ้านเมืองที่พระองค์ทรงฟูมฟักมา และเพื่อประชาชนที่พระองค์ไม่เคยทอดทิ้ง

จนในที่สุด วิกฤตการเมืองก็ถาโถมเข้าสู่พระองค์ เมื่อ “การเมืองชั่วร้าย” หันไปเล่นงานพระองค์ เพราะต้องการอำนาจสูงสุดทางการเมืองโดยที่ไม่ต้องการให้มีใครหรือสถาบันใดอยู่เหนือกว่าและคอยทัดทาน

การเมืองชั่วร้ายทำลายพระองค์ด้วยการสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนที่มีต่อพระองค์ ก่อเกิดวิกฤตในบ้านเมืองสองปีซ้อนด้วยการจลาจลในปี 2552 และ 2553 สร้างความทุกข์ให้กับพระองค์ที่ทรงห่วงบ้านเมืองและประชาชนมากยิ่งขึ้นในยามที่พระชนมายุมากแล้วและยังทรงพระประชวร แทนที่พระองค์จะได้พักผ่อนและสบายพระทัยหลังจากทรงงานหนักและทรงเผชิญกับวิกฤตการเมืองมาตลอด 65 ปี

ทั้งที่พระองค์สามารถเอาพระองค์รอดได้ด้วยการลอยตัวออกจากปัญหาการเมือง แต่เพราะพระองค์ไม่เคยทิ้งประชาชนและไม่อาจปล่อยบ้านเมืองให้เสียหายได้ ทำให้พระองค์ต้องเผชิญคลื่นลมทางการเมืองแทนประชาชนตลอดมา 

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ถวายน้ำสรงพระศพสมเด็จพระสังฆราช


เมื่อ 25 ต.ค.56 เวลา 16.29 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) มีองคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายต่างๆ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จฯ

จากนั้น เวลา 17.00 น.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ถึงตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อถวายน้ำสรงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์

เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ถวายน้ำสรงพระศพเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานสุกำพระศพลงสู่หีบ แล้วเชิญไปประดิษฐานหลังชั้นแว่นฟ้าทอง ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ เสร็จแล้วทรงทอดผ้าไตรถวายพระศพ พร้อมทั้งทรงวางพวงมาลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพวงมาลาส่วนพระองค์ ที่หน้าพระโกศพระศพ

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มีการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประจำทั้งกลางวันและกลางคืน รับพระราชทานฉันเช้า 8 รูป เพล 4 รูป กำหนด 7 วัน

ส่วนการไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก จาก 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม ถึงวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2556 และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

TIME ยกย่อง “ในหลวง” A MONARCHY FIGHTS FOR FREEDOM


แคน ไทเมือง

โซเชียลมีเดียทุกวันนี้ ประชาชนแสดงความจงรักภักดีด้วยการนำเสนอพระราชกรณียกิจมากมายหลากหลาย รวมทั้งเสียงชื่นชมจากทั่วโลก สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้รับการยอมรับมากที่สุด  มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ใดๆ ในโลกนี้

ถึงขนาดพาดหัวหน้าปกว่า… “ A MONARCHY FIGHTS FOR FREEDOM ” ย่อมไม่ธรรมดา

วีรบุรุษแห่งเอเชีย …

นิตยสาร “ไทม์” นิตยสารที่ทรงอิทธิพลของโลก ฉบับพิเศษในโอกาสครบรอบการก่อตั้งนิตยสารครบ 60 ปี ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2549 ได้รวบรวมจัดอันดับวีรบุรุษแห่งเอเชีย ในหัวข้อ “60 Years of Asian Heroes” โดยยกย่องบุคคลสำคัญของเอเชีย 64 คน ใน 5 บทบาท คือ ผู้สร้างชาติ ศิลปินและนักคิด ผู้นำด้านธุรกิจ นักกีฬาและนักผจญภัย และผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ ..(บางท่านอาจยังไม่ทราบ จึงนำมาลงให้ได้อ่านกันอีกครั้ง)

สำหรับกลุ่มบุคคลที่ได้รับยกย่องให้มีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) นั้นมีทั้งสิ้น 14 คน อาทิ ดาไลลามะแห่งทิเบต  และแม่ชีเทเรซา ส่วนอองซาน ซูจี นักสู้เพื่อประชาธิปไตยของเมียนมาร์ ได้รับการเชิดชูในบทบาทผู้สร้างชาติ  ขณะที่บรูซ ลี ได้รับยกย่องในฐานะนักกีฬาและนักผจญภัย

เป็นที่น่ายินดีสูงสุดสำหรับคนไทยทั้งประเทศ ที่หนึ่งในบุคคลที่ได้รับการยกย่องในครั้งนี้ นิตยสาร “ไทม์” ได้สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ในบทบาทของผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) โดยไทม์ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ทรงใช้พระบารมีแห่งราชธรรมชี้นำประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตหลายต่อหลายครั้ง

ตลอดระยะเวลาในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมานับแต่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ  พระองค์ทรงแสดงให้เป็นที่ประจักษ์จากโครงการพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ ที่ล้วนแต่เป็นโครงการที่ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทรงช่วยเหลือประชาชนในเขตชนบทอันห่างไกล  แม้ว่าเขตนั้นจะเป็นเขตของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็ตาม

กาลเวลาได้เป็นบทพิสูจน์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลายครั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ตุลาคม ปี ค.ศ.1973 (พ.ศ. 2516) และพฤษภาทมิฬ ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)  พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้วิกฤติการคลี่คลายลง  แม้กระทั่งการรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ชาวไทยยังเชื่อมั่นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะทรงเป็นที่ยึดมั่นให้คณะปฏิรูปคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนตามที่ได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดเป็นการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยโดยอาศัยพระบารมีของพระองค์ทั้งสิ้น

หลายครั้งพระองค์ยังทรงแนะนำอย่างเงียบๆ และบางครั้งทรงชี้แนะอย่างเปิดเผย เพื่อเน้นให้รัฐบาลคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและประพฤติปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประชาชนเป็นอันดับแรก บทความของไทม์ยังระบุด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสถานะอันสูงส่งเป็นที่เคารพรักได้ตลอด 60 ปีที่ทรงครองราชย์ ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างล้มเลิกระบอบกษัตริย์  บางประเทศกษัตริย์และเจ้าชายถูกลดทอนพระราชอำนาจลง  หรือบางราชวงศ์ถูกขับให้ลี้ภัยหรือถูกประหาร ตรงกันข้ามกับพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงและต่อเนื่องตลอดมา

นิตยสาร “ไทม์” ยังสดุดีพระองค์ท่านด้วยว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นยุวกษัตริย์ของไทย ที่มีพระชนมายุเพียง 18 ชันษา ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลฯ ที่สวรรคตอย่างกระทันหัน สื่อหลายสำนักรวมทั้งไทม์ นิตยสารที่เพิ่งเปิดตัวในเอเชียขณะนั้น ก็ได้ตั้งคำถามว่า พระองค์จะสามารถปกครองบ้านเมืองท่ามกลางมรสุมทางการเมือง และความลี้ลับในเหตุการณ์ที่เกิดได้หรือไม่

 ข้อคำถามของนิตยสารไทม์ได้รับการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะเสมอเหมือนได้ พระองค์ทรงดำรงความเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ได้ เพราะทรงเป็นศูนย์กลางแห่งความรักและศรัทธาของประชาชนอย่างแท้จริง ทรงปกครองประเทศโดยอาศัยหลักคุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำ

 พระราชกรณียกิจต่างๆ จำนวนมากได้กลายเป็นแบบอย่างของปวงพสกนิกรให้ดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน เพราะทุกคนต่างเชื่อมั่นว่าการประพฤติปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำรัส จะเป็นหนทางที่นำไปสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิตได้อย่างยั่งยืน  จึงมิผิดเลยที่นิตยสารไทม์จะเชิดชูให้พะองค์ทรงเป็นบุคคลที่สมควรได้รับยกย่องให้มีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) ของเอเชียในครั้งนี้

…………………………………………………………

Hero of Asia …

Magazine “Time” magazine, the richness of the world. Special Issue Celebrating the 60th year after the magazine was released in November 2006 (2549) to compile rankings of Asian heroes in the “60 Years of Asian Heroes” in honor of Asian people is 64 people in five roles. The author, artist and thinker. Business leaders. Athletes and adventurers. And an inspiration.

For people who have been regarded as an inspiration. (Inspirations) that there were 14 people including the Tibetan Dalai Lama and Mother Teresa and Aung San Suu Kyi’s fight for the democratization of Myanmar. Be true in a national role as Bruce Lee was hailed as a sportsman and adventurer.

It is desirable for the Thai people. The one person who has been honored in this magazine, “Time,” a tribute to the King. The role of the inspiration. (Inspirations) by the Times said. He was the king’s reign, the longest in the world. He used the prestige of Rachtrrm guide Thailand through many crisis.

During the past 60 years or more after the Throne. He seemed to be the works of more than 3,000 projects are all projects that help poor people to have better lives. He helps people in remote rural areas. Even if it is a communist or a terrorist.

Time is a testament to that. King is the soul of the Thai people truly Especially when the political crisis in Thailand The only event in October 1973 (2516) and May 1992, Tamil (2535) He has a critical role in resolving the crisis down. Even the most recent coup on September 19, 2006 (2549) Thais believe that the King is committed to the reform, restoring sovereignty to the people that have pledged to the King. All the problems of the country through the glory of Him.

He also suggested several times in silence. And sometimes, he should openly. To highlight the government to take into account the public interest and responsible behavior with regard to the first. The Time article also noted. King held the lofty status as beloved throughout his 60 year reign. While many countries. In Southeast Asia, and the monarchy abolished. Some of the kings and princes is to reduce his power. Some were driven to house refugees. Or were executed. In contrast to the royal status of the King of Thailand and has been highly praised ever since.

Magazine, “Time,” a tribute to him, he said. When His Majesty the King ascended the throne as a young king of Thailand. At age 18 is the age of King Ananda Mahidol. Who died suddenly. Many media agencies, including the Time. Magazine launched in Asia at that time. He asked. He will be ruling the country in the midst of political turmoil. The mystery of the incident or not.

Question of the Time magazine has been proved to be proven that His Majesty the King is not any monarch in the world will be like that. He has served as a king. It is a center of love and faith of the people truly The country is governed by moral principles as a guide. Various royal duties. Many of the entire population to become a model followed by him. We are all confident that the good deeds of the King. The way to true happiness of life is sustainable. The New Time magazine is wrong to glorify God Joe was the person who should be regarded as an inspiration. (Inspirations) of Asia at this time.

…………………………………………………………

แถลงการณ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ ฉบับที่ 9 : สิ้นพระชนม์ลงแล้ว


แถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่อง พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 9

เมื่อ 24 ตุลาคม 2556 คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 นาฬิกา ของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
 
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน 
 
 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
24 ตุลาคม พุทธศักราช 2556
************************
 
กำหนดการคร่าวๆ : ในวันที่ 25 ต.ค.(พรุ่งนี้) 08.00 น.จะเปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าแสดงความอาลัยต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่รพ.จุฬาฯ และจะมีการเคลื่อนพระศพไปประดิษฐาน ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 12.00 น. และคาดว่าจะมีพิธีสรงพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ในช่วงบ่าย วันที่ 25 ต.ค. 56 (พรุ่งนี้)

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุจะมีการลดธงครึ่งเสา 3 วัน ข้า ราชการไว้ทุกข์ 15 วัน หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ หรือเริ่มตั้งแต่วันวันที่ 25 ต.ค.นี้เป็นต้นไป

น้อมจิตส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยแด่ “สมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456—24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษากว่า 100 ปี

พระประวัติ
ขณะทรงพระเยาว์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู

เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า “เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย” จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามเป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษาและได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมา คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระงอค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”  จนกระทั่ง พระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม
พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470

แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า “คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว” แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484

การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์
หลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค

ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย

เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก

ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ  พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย


สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น

เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ

กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวรสังฆราชพระองค์แรกของประเทศไทย

หรืออ่านรายละเอียดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของพระองค์ได้
ใน http://www.sangharaja.org/ (ญาณสังวรธรรม)

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

“สมเด็จพระบรมฯ” ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช


วันนี้ (24 ต.ค.2556) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช


วานนี้ เมื่อเวลา 15.37 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ไปยังพระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต ทรงวางพวงมาลาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพวงมาลาส่วนพระองค์ จากนั้น ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช


เวลา 15.46 น. เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอภิรักษ์ขิตตสมัย วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการนี้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ซึ่งประดิษฐานที่พระที่นั่งบุษบกมาลา แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ ซึ่งประดิษฐานที่พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร
      จากนั้น พระสงฆ์ 57 รูป สวดพระพุทธมนต์ จบแล้วทรงจุดธูปเทียนดูหนังสือเทศน์ แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร สำหรับพระบรมอัฐิทรงธรรม ทรงศีล พระราชาคณะถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา จบแล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ แล้วทรงทอดผ้าไตร ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานแจกันดอกไม้เยี่ยม “พระสังฆราช”


เมื่อ 24 ต.ค.56 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานแจกันดอกไม้เยี่ยม “พระสังฆราช”

เวลา 18.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงโปรดฯ ให้พล.ต.ปรีชา บุญอำพล ผู้ควบคุมการปฏิบัติราชการวังเทเวศก์ เชิญแจกันดอกไม้ประทานแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ชั้น 6 ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

สำหรับบรรยากาศในช่วงค่ำที่บริเวณ ชั้น 6 ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ด้านหน้าห้องที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราช พุทธศาสนิกชนยังคงเดินทางมาเฝ้าติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิด

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตร บำเพ็ญกุศลครบ 50 วัน


“ในหลวง-พระเทพฯ” พระราชทานผ้าไตรบำเพ็ญกุศลครบ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) การละสังขาร ของหลวงปู่สุภา กนฺตสีโล

     
เมื่อ 22 ต.ค.2556 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตร บำเพ็ญกุศลครบ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) การละสังขาร ของพระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล) อริยสงฆ์ 5 แผ่นดิน
   
เมื่อเวลา 10.30 น. นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานในพิธีอัญเชิญผ้าไตรพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 1 ไตร และผ้าไตรพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1 ไตร ในพิธีบำเพ็ญกุศล 50 วัน (ปัญญาสมวาร) พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล) อริยสงฆ์ 5 แผ่นดิน อดีตเจ้าอาวาสวัดสิริสีลสุภาราม ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมีพระพรหมเวที เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นประธานสงฆ์ และแสดงพระธรรมเทศนา ท่ามกลางพระสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกา เข้าร่วมพิธีจำนวนมาก

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร จุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ที่โต๊ะสักการะ (เครื่องนอก) กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล ประธานสงฆ์ให้ศีล ประธานจุดเครื่องทองน้อย (เครื่องใน) เสร็จแล้วพระพรหมเวที เจ้าคณะหนใหญ่ตะวันออก แสดงพระธรรมเทศนา จากนั้น เป็นพิธีถวายผ้าไตรพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 1 ไตร และผ้าไตรพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1 ไตร ตามลำดับ พร้อมทั้งประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ แด่พระเดชพระคุณพระพรหมเวที เจ้าคณะหนใหญ่ตะวันออก

หลวง ปู่สุภา กนฺตสีโล ได้ละสังขารอย่างสงบเมื่อเวลา 05.05 น.วันที่ 2 กันยายน 2556 ในกุฏิภายในวัดคอนสวรรค์ ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ภายหลังเข้ารับการรักษาตัวจากอาการอาพาธที่โรงพยาบาลสกลนคร นานกว่า 3 เดือน ด้วยอาการโรคชรา และโรคอื่นๆ อีกหลายโรค คณะศิษยานุศิษย์ได้นำสรีระสังขารตั้งไว้ที่ศาลากลางน้ำ ซึ่งเป็นศาลาขนาดใหญ่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานน้ำหลวงอาบศพในเวลา 17.00 น. วันที่ 3 กันยายน 2556 และเมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 5 กันยายน 2556 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ อีก 6 พระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพวงมาลา เพื่อถวายสักการะบูชา ศพ ดร.พระมงคลวิสุทธิ์ หรือ หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล อดีตเจ้าอาวาสวัดสีลสุภาราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อีกด้วย

22 ตุลาคม 2499 วันในหลวงทรงผนวช


“วันนี้ในอดีต”
เมื่อ 22 ตุลาคม 2499 เป็นวันพระราชพิธีทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “ภูมิพโล”
พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระผนวชขณะทรงดำรงสิริราชสมบัติมี 4 พระองค์ คือ พญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช …
ข้อมูลจาก สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
เรื่อง “พระราชพิธีทรงพระผนวช พุทธศักราช ๒๔๙๙”
โดย นายทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
ขอบคุณ
สำนักราชเลขาธิการ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดฉะเชิงเทรา


เมื่อ 22 ต.ค.2556 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา สมเด็จ-พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย พระราชทานชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย พร้อมน้ำดื่มแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตำบลดงน้อย 677 ชุด ตำบลเมืองใหม่ 292 ชุด และตำบลบ้านคา 649 ชุด
นอกจากนี้ เหล่ากาชาดจังหวัดจะนำอีกส่วนไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อื่นที่ ได้รับความเดือดร้อน  ที่ผ่านมาสภากาชาดไทยได้สั่งการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว หรือ RAT TEAM ไปสำรวจพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙