วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องเล่าจากในวัง....แล้วคุณจะรัก " ในหลวง "

ผมมีเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง อยู่เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นเรื่องจริง เหตุการณ์เกิดที่จังหวัดตาก เมื่อพระเทพทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฎรตามที่ต่างๆ ได้ทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนในตลาดสด และถามความเป็น อยู่กับบรรดาแม่ค้าในตลาด แต่ก็มาถึงแม่ค้าปลา
ซึ่งพระองค์ทรง ตรัสถามว่า  "ปลาพวกนี้ขายอย่างไงจ๊ะ"
แม่ค้าตอบว่า "ที่ สวรรคตแล้ว กิโลละ 40 บาท
และที่เสด็จไปเสด็จมา กิโลละ 80 บาทจ๊ะ"
เหตุการณ์นี้ ทำให้ข้าราชบริพารที่ ตามเสด็จหัวเราะกันทุกคน
------------------------------------

เช้าวันหนึ่ง เวลาประมาณ 7 โมงเช้า นางสนองพระโอษฐ์
ของฟ้าหญิงองค์ เล็ก ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงผู้ชาย ขอพูดสายกับ ฟ้าหญิง
ทางนางสนองพระโอษฐ์ ก็สอบถามว่าใครจะพูดสาย ด้วย
ก็มี เสียงตอบกลับมาว่า คนที่แบงค์ นางสนองพระโอฐก็ งง...งง
ว่าคนที่แบงค์ ทำไมโทรมาแต่เช้า แบงค์ก็ยังไม่เปิดนี่หว่า
แต่ พอฟ้าหญิงรับ โทรศัพท์แล้วถึงได้รู้ว่า คนที่แบงค์น่ะ
ก็ที่แบงค์จริงๆนะ ไม่ เชื่อเปิดกระเป๋าตังค์ แล้วหยิบแบงค์มาดูสิ . ขนลุก เลย
( ทรงตรัสกับในหลวงท่านอยู่นั่น เอง)
------------------------------------

อีกครั้งหนึ่งที่ภาคอีสานเมื่อเสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้าน ของราษฎรผู้หนึ่ง
ที่คณะผู้ตามเสด็จทั้งหลายออกแปลกใจในการ กราบบังคมทูล
ที่คล่องแคล่วและใช้ราชาศัพท์ได้อย่างน่า ฉงน
เมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชา ศัพท์ได้ดีนี้
จึงมีคำกราบทูลว่า " ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผ ลิเกเก่า
บัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวนพระ พุทธเจ้าข้า.."
มาถึงตอนสำคัญที่ทรงพบนกในกรงที่เลี้ยงไว้ ที่ชานเรือน
ก็ทรงตรัสถามว่า เป็นนกอะไรและมีกี่ ตัว.
พ่อลิเกเก่ากราบบังคมทูลว่า  " มีทั้งหมดสามตัว พระมเหสีมันบินหนีไป
ทิ้งพระโอรสไว้สองตัว ตัวหนึ่งที่ยังเล็ก ตรัสอ้อแอ้อยู่เลย และทิ้งให้พระบิดาเลี้ยงดูแต่ผู้ เดียว "
เรื่องนี้ ดร.สุเมธ  เล่าว่าเป็นที่ต้องสะกด กลั้นหัวเราะกันทั้งคณะไม่ยกเว้นแม้ในหลวง
------------------------------------

เมื่อครั้งท่านพระชนม์มายุ 72 พรรษา
มีการผลิตเหรียญที่ระลึกออกมาหลายรุ่น
เจ้าของกิจการนาฬิกายี่ห้อหนึ่งได้ยื่น เรื่องขออนุญาตนำพระบรมฉายาลักษณ์ของท่านมาประดับที่หน้าปัดนาฬิกาเป็นรุ่นพิเศษ
ท่านทราบเรื่องแล้วตรัสกับเจ้าหน้าที่ว่า
"ไปบอกเค้านะเราไม่ใช่ มิกกี้เมาส์"
------------------------------------

เรื่องการใช้ราชาศัพท์กับ ในหลวง ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครต่อใครเกร็งกันทั้ง แผ่นดิน
และไม่เว้นแม้กระทั่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงาน
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน มีข้าราชการระดับสูงผู้หนึ่งกราบบังคมทูลรายงาน
ว่า "ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าพลตรีภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
กราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ"
"ข้าพระพุทธ เจ้าพลตรีภูมิพลอดุลยเดชขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
กราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ"
เมื่อสิ้นคำกราบบังคมทูลชื่อในหลวงทรงแย้มพระสรวล อย่างมีพระอารมณ์ดีและไม่ถือสาว่า "เออ ดี เราชื่อเดียว กัน..."
ข่าวว่าวันนั้นผู้เข้าเฝ้า ต้องซ่อนหัวเราะขำขันกันทั้งศาลาดุสิดาลัย เพราะผู้รายงานตื่นเต้นจนจำชื่อตนเองไม่ได้
------------------------------------

มีอยู่ครั้ง หนึ่งทรงเสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตร
ให้กับนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ในระหว่างที่ทรงเปลี่ยนในครุย ทรงโปรดสูบมวน พระโอสถ
แต่ว่าทรงหาที่จุดไม่ได้
ทางอธิการบดีซึ่งเฝ้าอยู่ก็จุดไฟให้พร้อมทูล ว่า
" ถวายพระเพลิงพระเจ้า ข้า "
ในหลวงทรงชะงัก ก่อนจะแย้มสรวลน้อยๆ กับ อธิการบดีว่า
" เรายังไม่ตายถวายพระเพลิงไม่ได้ หรอก"

------------------------------------

เคยมีเรื่องเล่าให้ฟังว่า ในหลวงเสด็จไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยม เยียนราษฎร
มีอยู่ครั้งหนึ่งพระองค์ท่านทรงแจกพระเครื่องให้กับราษฎรจนหมดแล้ว
แต่ราษฎรผู้หนึ่งกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานพระเครื่องว่า
"ขอเดชะ ขอพระ หนึ่งองค์"
ในหลวงทรงตรัสว่า "ขอเดชะ พระหมด แล้ว"
------------------------------------

วันหนึ่งพระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรของท่านตาม ปกติที่ต่างจังหวัด
ก็มีชาวบ้านมาต้อนรับในหลวงมาก มาย
พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาตามลาดพระ บาท
ที่แถวหน้าก็มีหญิงชราแก่คนหนึ่งได้ก้มลง กราบแทบพระบาท
แล้วก็เอามือของแกมาจับ พระหัตถ์ของ ในหลวง
แล้วก็พูดว่า ยายดีใจเหลือเกินที่ได้เจอ ในหลวง
แล้วก็พูดว่า ยายอย่างโน้น ยายอย่าง นี้
อีกตั้งมากมายแต่ในหลวงก็ทรง เฉยๆ
มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร
แต่พวกข้าราชบริภารก็มองหน้ากันใหญ่
กลัวว่าพระองค์จะทรงพอ พระราชหฤหัย หรือไม่
แต่พอพวกเราได้ยินพระองค์รับสั่งตอบ ว่ากับหญิงชราคนนั้น
ทำให้เราถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ ไหว เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า
" เรียกว่ายายได้อย่างไร อายุอ่อน กว่าแม่ฉันตั้งเยอะ  ต้องเรียกน้าซิถึงจะ ถูก"
------------------------------------

ครั้งหนึ่ง หลายๆ ปีมา แล้ว
พระเจ้าอยู่หัวทรงประชวรนิดหน่อยเกี่ยวกับ พระฉวีมีพระอาการคัน
มีหมอโรคผิวหนังคณะหนึ่งไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายการรักษา
คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรคผิวหนังแต่ไม่ได้เชี่ยวชาญทางราชา ศัพท์
ก็กราบบังคมทูลว่า "เอ้อ - ทรง...อ้า - ทร งพระคันมานานแล้วหรือยังพะยะ ค่ะ"
พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระสรวล ตรัส ว่า " ฉันไม่ใช่ผู้หญิง นี่จะท้องได้ยังไง"
แล้วคงจะทรงพระกรุณาว่า หมอคงจะไม่รู้ราชาศัพท์ทางด้านอวัยวะร่างกาย จริงๆ
ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า เอ้าพูดภาษา อังกฤษกันเถอะ
------------------------------------

เรื่องนี้รุ่นพี่ที่จุฬาฯเล่าให้ฟัง ว่า มีอยู่ปีนึงที่ ในหลวงทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร อธิการบดีอ่านรายชื่อ บัณฑิตแล้วบังเอิญว่า มีเหตุขัดข้องบางประการ ทำให้อ่านขาดตอน
ก็ต้องรีบหาว่าอ่านรายชื่อไปถึงไหน แล้ว
ปรากฏว่าในหลวงท่านทรงจำได้ ท่านเลยตรัสกับ อธิการไปว่า

"เมื่อกี้นี้ (ชื่อ....) เค้ารับไป แล้ว"
และมีอีกปีนึงขณะที่พระราชทานปริญญาบัตรอยู่ดีๆ  ไฟดับไปชั่วขณะ...
ทำให้บัณฑิตคน หนึ่งพลาดโอกาสครั้งสำคัญในการถ่ายรูป
พอในหลวงทรงพระราชทาน ปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว
ก่อนที่จะให้พระบรมราโชวาท
ท่านทรงให้อธิการบดีเรียกบัณฑิตคนนั้นมารับ พระราชทานอีกครั้ง
เพื่อจะได้มีรูปไว้เป็นที่ระลึก
ตื้นตันกันถ้วนทั่วทั้งหอประชุม
------------------------------------

ถ้ารักท่านก็ส่งไปเรื่อยๆ นะ คนไทยทุกคนจะได้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้น
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

พระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

 

รายละเอียด
... ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้ ดูจะเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมู่นี้ก็พูดกันอย่างขวัญเสียว่า อีกหน่อยจะต้องปันส่วนน้ำ หรือแม้แต่จะต้องตัดน้ำประปา อันนี้สำหรับกรุงเทพฯ ฉะนั้น ต้องหาทางแก้ไขเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ได้วางแผนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติ ตามแผนนั้นๆ แล้ว วันนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำ โครงการโดยเฉพาะนั้นก็มี แล้ว โครงการนั้นได้ยืนยันมาเมื่อเดือนที่แล้ว เมื่ออยู่ที่นราธิวาสได้วางโครงการ ที่แม้จะยังไม่แก้ ปัญหาปีนี้หรือปีหน้า แต่ถ้าทำอย่างดี ในประมาณ ๕ หรือ ๖ ปี ปัญหาน้ำขาดแคลนใน กรุงเทพฯ จะหมดไปโดยสิ้นเชิง..." พระราชดำรัสถึงโครงการกักเก็บน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี โครงการเขื่อนเก็บน้ำแม่น้ำนครนายก จ.นครนายก โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ "... เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตุถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้อง มีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป ฉะนั้น น้ำนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่กล่าวถึงข้อนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนา ขั้นแรกหรือสิ่งแรก ที่นึกถึงก็คือโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการ สิ่งแวดล้อมทำให้น้ำดี สองอย่างนี้อื่นๆ ก็จะเป็นไปได้ถ้าหากว่า ปัญหา ของน้ำนี้ เราได้สามารถที่จะแก้ไข หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้ อย่างเพียงพอ ฉะนั้นการพัฒนานั้นสิ่งสำคัญก็อยู่ตรงนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เช่นวิชาการในด้านการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึง การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการค้า หรือการคลัง อะไร พวกนี้ก็ต่อเนื่องต่อไป... " พระราชดำรัส วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน “... การทำฝนเทียมนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีเครื่องอุปกรณ์ วัสดุ และเจ้าหน้าที่ งานที่ทำนี้ก็ต้องสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย แต้ถ้าผลที่ได้ คือจะเป็นผลที่น่าพอใจ การทำฝนนี้ เป็นสิ่งที่ลำบากหลายๆ ประการ ทางด้านเทคนิค และในด้านจังหวะที่จะทำ เพราะถ้าพูดถึงด้านเทคนิค ฝนที่ทำนี้ จะพลิกฤดูการไม่ได้ ไม่ใช่ว่าฝนแล้งจะบันดาลได้อย่าง ปาฎิหาริย์ทำให้มีฝนเพียงพอกับการเพาะปลูกมิได้ หรือจะแทนการ ชลประทานที่ขุดเรียบร้อยกว้างขวางก็ไม่ได้ แต่เป็นทางหนึ่งที่มีหวัง สำหรับฤดูกาลที่ควรจะมีฝน และฝนเทียมจะช่วยให้ประคองพืชผล ไม่ให้สิ้นไปพอได้ การทำฝนเทียมนี้เป็นสิ่งที่ใหม่ จึงต้องทำโครงการ อย่างระมัดระวัง เพราะว่าสิ้นเปลือง ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลจะสิ้น เปลืองโดยใช่เหตุ...” พระราชดำริ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน “ ... ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุ ราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ช่วยปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้ จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถ ปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น พันธ์ุไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อ ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...” พระราชดำรัส วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ อ.บาเจาพ จ.นคราธิวาส “...ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูง ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝาย ดังกล่าวจำเป็นต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ ไว้ได้ปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่ แข็งแรง และโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้ง อย่างสม่ำเสมอ โดยการจ่ายน้ำไปรอบๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้..." พระราชดำรัส วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน “... อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมจึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ที่โรงเรียนมีครู ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล่้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดิน แล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่าไม้อย่างนั้น เมื่อเม็ดฝนตกลงมาแล้ว จะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ทำความเสียหายดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ และเป็นหลักของชลประทาน ที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้ เดือดร้อนตลอดทั้งดินบนภูเขาจะหมดไป กระทั่งมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี้นะ เรียนมา ตั้งแต่ อายุ ๑๐ ขวบ ..." พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๒ “...สำหรับต้นน้ำ ไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษา ไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับ ก็ควรสร้างฝายขนาดเล็ก กั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับแหล่งน้ำ ที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำ ลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก...” “... ควรสร้างฝายต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำ เพื่อช่่วยชะลอกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำ สำหรับสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ...” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ณ ดอยอ่างขาง เชียงใหม่ ข้อมูลจาก :http://202.129.59.73/5dec/kingandwater4.htm

“พระราชินี” พระราชทานชุดธารน้ำใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย จ.สุรินทร์

220_0_0

  วันนี้( 26 ก.ย.2556) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชุดธารน้ำใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย จ.สุรินทร์
      วานนี้ที่หอประชุมโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์ นำชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทยพระราชทานจำนวน 2,000 ชุด มอบแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ณ หอประชุมโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม จำนวน 1,000 ชุด และช่วงบ่ายจะมอบให้ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอศรีณรงค์ จำนวน 1,000 ชุด

“ในหลวง” โปรดเกล้าฯ จัดหน่วยเคลื่อนที่ช่วยผู้ประสบอุทกภัย จ.ปราจีนบุรี

563588_10152608450415752_880046035_n

  วันนี้ ( 25 ก.ย.2556) “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดหน่วยสงเคราะห์เคลื่อนที่ไปช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี
  วานนี้นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ประธานฝ่ายบรรเทาทุกข์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะเดินทางไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัย ณ ที่ว่าการอำเภอกบินทร์บุรี, ที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ์ และที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี รวม 2,000 ครัวเรือน
  ซึ่งจังหวัดปราจีนบุรี เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ส่งผลให้น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทับลาน ไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่พร้อมกัน ทำให้บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเสียหายจำนวนมาก  ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้ว 5 อำเภอ 39 ตำบล โดยจังหวัดได้บูรณาการหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และได้รับความช่วยเหลือจากมณฑลทหารบกที่ 12 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรในเบื้องต้นแล้ว เนื่องจากระดับน้ำสูงและมีบริเวณกว้าง

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

การปกครองโดยพระมหากษัตริย์


กษัตริย์ โบราณ
Absolute Monarchy
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ หรือราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งสืบทอดมาจากระบบการปกครองแบบมีหัวหน้าเผ่า พระมหากษัตริย์บางพระองค์อาจอ้างว่าได้สิทธิอันศักสิทธิ์จากพระเจ้าให้มาปกครองประเทศตามความปรารถนาของพระเจ้า ซึ่งมักอ้างอิงกับหลักความเชื่อทางศาสนา (Divine right of King) พระมหากษัตริย์บางพระองค์ก็อาจมาจากการเลือกตั้ง (อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ) ซึ่งอาจเลือกโดยคณะบุคคลที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เช่น ในรัฐเผ่าเยอรมัน หรือโดยคนกลุ่มเล็กๆ เช่น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในอดีต มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือพระมหากษัตริย์อาจจะมาจากการสืบทอดอำนาจ หรืออาจมาจากการแย่งชิงบัลลังก์ หรืออาจจะเกิดจากหลายๆ วิธีรวมกัน
เอนกนิกรสโมสรสมมติาชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งได้อำนาจปกครองโดยการสืบราชสมบัติ ลักษณะที่ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแตกต่างจากระบอบสาธารณรัฐ คือ พระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ หรือเป็นประมุขอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ และจะส่งต่ออำนาจให้กับองค์รัชทายาทซึ่งอาจเป็นพระราชโอรสของพระองค์ต่อไป ส่วนในบอบสาธารณรัฐ ประมุขของรัฐ (ประธานาธิบดี) โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีที่มาจากการเลือกตั้ง และทำหน้าที่อยู่ในช่วงในเวลาที่แน่นอน เช่น ๔ หรือ ๖ ปี
คำว่าราชาธิปไตยนั้นอาจหมายถึงกลุ่มคน (ราชวงศ์) และองค์กรที่รวมตัวกันเป็นสถาบันกษัตริย์ ทุกวันนี้ อำนาจของกษัตริย์นั้นแตกต่างกันไปตามประเทศ ในระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น อำนาจสูงสุดของประเทศจะถือว่าอยู่ที่กษัตริย์ในฐานะองค์พระประมุข แต่อำนาจที่แท้จริงนั้นจะอยู่ที่ประชาชน พระมหากษัตริย์มักจะทำหน้าที่ในงานพิธีต่างๆ ในบางประเทศพระมหากษัตริย์อาจมีอำนาจอยู่บ้าง แต่ก็ถูกจำกัดไว้ด้วยความเห็นของประชาชน หลักธรรม หรือบรรทัดฐานของพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ในบางประเทศ พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจมาก และอาจใช้อำนาจได้อย่างไร้ขอบเขต อย่างไรก็ตามระบอบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ในทุกวันนี้จะอยู่ภายใต้กฎหมายมากกว่าจะทำตามอำเภอใจได้

ประเภทของสถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองโดยสถาบันพระมหากษัตริย์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท พอสรุปได้ดังนี้
พระมหากษัตริย์
๑. พระมหากษัตริย์ในระบบฟิวดัล (Feudal Monarchy) คือ การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ มีพระราชอำนาจเหนือแผ่นดินและเพื่อตอบแทนเหล่าขุนนาง พระมหากษัตริย์ในระบอบ นี้จึงให้ที่ดินเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานของเหล่าขุนนาง เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองและขุนนางต่างๆ อีกทั้งเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และขุนนางให้การ บริหารรัฐเป็นไปโดยสงบ
๒. พระมหากษัตริย์ในลัทธิเทวสิทธิ์ (Absolute Monarchy) จากลัทธินี้จึงมีความเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดจากอำนาจของพระเจ้า พระมหากษัตริย์จึงเป็นเจ้าชีวิต เป็นเจ้าของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมโดยองค์การของพระเจ้าในการปกครอง ประชาชนต้องยอมรับและปฏิบัติตนตามโองการของพระเจ้า สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสมบูรณ์ เราจึงเรียกการปกครองลักษณะนี้ว่า การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ทั้งนี้การปกครองอยู่บนรากฐานของหลักของศีลธรรมอันดีงามเป็นแนวปฏิบัติ
๓. พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย (Constitutional Monarchy)แนวคิดนี้เริ่มพัฒนาเมื่อมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ามาทำให้การปกครองแนวคิดนี้เชื่อในเรื่องปัจเจกบุคคล และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วนในการปกครอง และยังเชื่อว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองนั้นเป็นของประชาชนทุกคน ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง

ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๐๐ ระบอบราชาธิปไตยส่วนใหญ่ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากการแบ่งแยกหรือการรวมดินแดน หรือการเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ประเทศที่ยังใช้ใช้ราชาธิปไตยอยู่ในปัจจุบันมักจะเป็นประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีประเทศบางประเทศที่ยังใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ เช่น บรูไน โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สวาซิแลนด์ และ นครรัฐวาติกัน ซึ่งปัจจุบันมีราชวงศ์ ๒๘ ราชวงศ์ ปกครองดินแดนทั้งหมด ๔๓ ประเทศทั่วโลก
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ในหลวง
แผนที่ ประเทศ กษัตริย์

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์



ในหลวง ทรงพระเยาว์
พระราชสมภพ
สูติบัตร ในหลวงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ Cambridge Hospital (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 เหตุที่มีพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาอยู่ที่นั่น
King Bhumibol Adulyadej Square
ทั้งนี้ ใกล้สถานที่พระบรมราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ขอพระราชทานพระนามว่า จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช (King Bhumibol Adulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบการอุทิศจัตุรัสแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ ณ ที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
พระราชบิดา สมเด็จย่า ในหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”
ลายพระราชหัถต์ รัชกาลที่ ๗พระนาม “ภูมิพลอดุลเดช” นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า “Bhumibala Aduladeja” ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิพลอดุลเดช” ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว “ย” สะกดตราบปัจจุบัน
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า “Bhumibala” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า “ภูมิบาล” ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น “Bhumibol”
พระราชบิดา ในหลวงเมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
ในหลวง พระเยาว์
การศึกษา
ทรงพระเยาว์เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการดูแลในเบื้องต้นจากสถานเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ (Champ Soleil) ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พอมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นอนุบาลในประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีได้พาพระธิดา และพระโอรสทั้งสองพระองค์เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทรงส่งทั้ง ๓ พระองค์ เข้าสถานเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ อีกครั้ง จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนเมียร์มองต์ (Ecole Miremont) และในช่วงเวลาหยุดฤดูร้อนสมเด็จพระบรมราชชนนีจะส่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมเชษฐาเข้าเรียนที่โรงเรียนฟัวเย่ (Ecole Foyer,Les Pléiades)
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมเชษฐาได้เปลี่ยนเข้าศึกษาที่รงเรียนเอกชน นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์เมืองแซลลี ซูร โลซานน์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande ,Chailly-sur-Lausanne) ที่มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาและมีการสอนวิชาพิเศษ คือวิชาการทำสวน และวิชาช่างไม้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกสายการเรียนทั้งสองพระองค์ทรงเลือกเรียนทางด้านภาษาคือสายศิลป์ภาษาละตินและภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงด้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากโรงเรียนยิมนาส กลาซีค กังโตนาล (diplôme de bachelier ,Gymmase Classique Cantonal) แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ในหลวง การศึกษาในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เสด็จนิวัติกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่๒ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกันหลายประการ แล้วในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันเดียวกันนั้นเอง
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษา จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ในปีนั้น ในการเสด็จกลับไปศึกษาต่อในครั้งนี้ได้ทรงเปลี่ยนแผนการศึกษาจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็น สาขาวิชารัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์แทนด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในพระราชภารกิจที่เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙