แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย



สถาบันพระมหากษัตริย์
 
สถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่เหนือการเมืองและการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และชอบที่จะให้มีการเมืองที่มีเสถียรภาพ มีนิติรัฐและความผาสุก ถ้าการเมืองมีความมั่นคงแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเสถียรภาพไปด้วย ถ้าการเมืองไม่มั่นคงหรือมีความปั่นป่วนในสังคม สถาบันพระมหากษัตริย์จะไม่มั่นคงตามไปด้วย
 
สถาบันพระมหากษัตริย์จะรู้สึกไม่เป็นปกติทุกครั้งที่ประเทศไทยไร้เสถียรภาพซึ่งเป็นขอเท็จจริงที่สำคัญ สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจเข้ากับฝ่ายใดได้เนื่องจากจะเสียความเป็นกลาง สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการรบกวนจากการที่มีการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานในปี พ.ศ.๒๕๔๗ เนื่องจากไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และขณะนี้สถาบันฯ ก็ได้รับการรบกวนอีกครั้งจากทุกฝ่ายในความขัดแย้งครั้งนี้เนื่องจากทุกฝ่ายไม่ได้ใช้ปัญญาหรือแสดงความเสียสละเพื่อประเทศชาติเพื่อให้ประเทศชาติสามารถก้าวต่อไปบนทิศทางที่ควร
 
สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและแม้ว่าจะมีหนังสือบางเล่มพยามยามให้เราเข้าใจเป็นอย่างอื่น แต่ความจริงแล้วประชาธิปไตยที่อ่อนแอและนิติรัฐที่อ่อนแอจะส่งผลร้ายต่อความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เท่าเทียมกัน กล่าวโดยสรุปแล้ว ถ้ามีดุลยภาพในระบบของไทยและประชาชนชาวไทยมีความสุขและปรองดองกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเสถียรภาพตามไปด้วย สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถจะอยู่ร่วมกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในสภาพแวดล้อมของไทยได้
 
สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ต้องการการเมืองที่ไม่มีความมั่นคงเพื่อที่จะได้เลือกข้างกองทัพเพื่อให้มาปกป้อง“ผลประโยชน์และอภิสิทธิ” อย่างที่นิตยสารดิอีโคนอมิสต์ได้กล่าวอ้างอย่างผิดๆ การเมืองที่ไม่มีเสถียรจะส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน  ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ต้องการความมีเสถียรทางการเมืองในประเทศรอบข้าง เช่น ลาว กัมพูชา มาเลเซีย หรือพม่า ประเทศไทยจะไม่มีเสถียรภาพถ้าเพื่อนบ้านไร้เสถียรภาพทางการเมืองหรือมีเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ถ้าเพื่อนบ้านของไทยมีเสถียรภาพและความรุ่งเรือง ไทยก็จะได้รับประโยชน์จากเสถียรภาพและความรุ่งเรืองนั้นไปด้วย
 
สหรัฐอเมริกาก็ต้องการให้เม็กซิโกมีสุขภาพและเสถียรภาพที่ดี และไม่ต้องการเห็นวิกฤติเปโซครั้งต่อไป
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันอื่นในประเทศไทยควรจะได้รับการพิจารณาจากมุมมองนี้ ถ้ามีดุลยภาพในสังคมไทยและสถาบันต่างๆ มีความเข้มแข็งภายใต้หลักนิติรัฐแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเสถียรภาพตามไปด้วย
บทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงดำรงความเป็นกลาง โดยทรงปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและรัฐธรรมนูญ ทรงตักเตือนหลายครั้งให้ชาวไทยสามัคคีกันและใช้ปัญญาในการป้องกันไม่ให้ประเทศล่มจม และทรงใช้คำว่า “ล่มจม” หลายครั้ง
 
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชให้ยุบสภาเพื่อยุติปัญหาการเมือง โดยมีนัยยะว่าถ้านักการเมืองไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองได้ก็ควรจะคืนอำนาจสู่พระมหากษัตริย์
หลังจากการเลือกตั้งแล้ว พระมหากษัตริย์ก็จะทรงพระราชทานอำนาจคืนสู่ปวงชนชาวไทยผ่านรัฐสภา ในลักษณะนี้ก็จะมีการคงอยู่ของอำนาจการเมืองไทยตลอดเวลา โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่คงอยู่ตลอดเวลา
 
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงสูญเสียพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชในปี พ.ศ.๒๔๗๕ นั้น ไม่ทรงพระราชทานอำนาจให้แก่บุคคลใด แต่ทรงพระราชทานพระราชอำนาจนั้นให้ปวงชนชาวไทยอย่างเต็มเปี่ยม
 
เมื่อใดก็ตามที่ชาวไทยไม่สามารถตกลงวิกฤติการเมืองกันได้ ก็จะถวายอำนาจคืนให้พระมหากษัตริย์ เพื่อที่จะได้เดินหน้าต่อไปอีกครั้งหนึ่งโดยได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ นี่คือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเทศไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้โอบอุ้ม
 
เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสารฟอร์บส์ ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจว่ากษัตริย์ไทยเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วย ทรัพย์สินมูลค่า 35 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
 
นิตยสารดังกล่าวไม่ทราบว่าทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ การดูแลรักษา เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
2. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดูแลรักษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
3. ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติแผ่นดิน เช่นพระราชวังต่างๆ
 
ดังนั้นการสำรวจทรัพย์สินจึงควรต้องพิจารณา เฉพาะทรัพย์สินส่วนพระองค์ เช่นเดียวกับที่เราคงไม่อาจนับรวมทำเนียบขาวเข้าไปในบรรดาทรัพย์สินของประธานาธิบดีบุชได้ แต่ความร่ำรวยมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดประการใดถ้าความร่ำรวยนั้นไม่ได้มาโดยมิชอบ สำหรับที่ดินในกรุงเทพฯ จำนวนมากที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือครองอยู่นั้นมีเพียงร้อยละ ๗ เท่านั้น ที่ได้จัดประโยชน์เชิงพาณิชย์ ส่วนที่เหลือให้เช่าแก่บุคคลรายได้น้อย องค์กรการกุศลและองค์กรต่างๆ ของรัฐ ในอัตราที่ต่ำกว่าราคาตลาดทั่วไป
 
อันที่จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำรัฐประหารในปี พ.ศ.2549 และพระองค์มิได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเอกชาติชายในปี พ.ศ.2534 แต่เนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อทำไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับหรือยกเลิกได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต้องลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ มิเช่นนั้นก็จะเกิดสุญญากาศในการบริหารกิจการบ้านเมือง (การที่ไม่มีรัฐบาลจะทำให้ประเทศอยู่ในสภาวะสูญญากาศทางการเมืองและเกิดความสับสนวุ่นวาย)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและและทรงเป็นพุทธมามกะที่ยิ่งใหญ่ การที่ทรงเป็นพุทธมามกะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่มีความเห็นแก่พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้มีแต่ให้ พระองค์มิทรงเคยเอาผลประโยชน์จากประชาชนชาวไทย

เงินหรือการบริจาคจากสาธารณชนที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะถูกส่งต่อไปยังองค์กรการกุศลอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชจริยวัตรเรียบง่ายและเสวยพระกระยาหารธรรมดา พระองค์จะทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือทรงใช้รถพระที่นั่งลีมูซีนต่อเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีอย่างเป็นทางการ

นั่นคือถ้าเป็นพระราชกรณียกิจที่เป็นทางการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงทำอย่างเป็นทางการ แต่หากเป็นพระราชกรณียกิจที่ไม่เป็นทางการ พระองค์จะทรงทำอย่างเรียบง่าย
 
ตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย คำว่า“ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย”นี้เป็นสิ่งซึ่งอยู่ในพระราชหฤทัยเป็นลำดับแรกเสมอมา

บางครั้งคนไทยก็เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พ่อหลวง” คำนี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ในสมัยสุโขทัย แต่พระองค์ทรงปกครองประชาชนเฉกเช่นพ่อปกครองลูก

 “ประชาชนชาวไทยรู้อยู่ลึกๆ ในใจว่า
พ่อหลวงจะไม่ทรงคิดร้ายแก่ประเทศไทย
พ่อหลวงไม่ทรงเห็นแก่พระองค์”
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทไทยดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับที่ดินและสิ่งแวดล้อมของตนเอง เมื่อพวกเขาสามารถดำรงชีพได้อย่างพอเพียงบนผืนดินและสิ่งแวดล้อมของเขาเองแล้วพวกเขาก็จะสามารถมีเงินออมเพื่อใช้ในอนาคตโดยการขายส่วนที่เหลือกินเหลือใช้

ในความเป็นจริง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรมากที่สุดในโลก เรามีสภาพภูมิอากาศที่ดีมาก มีภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อยมาก ข้าวไทยเป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก ผลไม้ไทยก็เป็นผลไม้ที่ดีที่สุดในโลก ผืนดินก็อุดมสมบูรณ์และต้นไม้ก็สามารถเติบโตได้เองโดยธรรมชาติ ที่นี่คือสุวรรณภูมิ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งทองคำคุ้มครองโดยพระสยามเทวาธิราช

แต่ระบบและค่านิยมแบบสมัยนิยมผลักดันให้ชาวชนบทไทยออกห่างจากชุมชนของพวกเขาอันเป็นการทำลายโครงสร้างทางสังคมของพวกเขาลง พวกเขาจะถูกเอาเปรียบจากคนรวยในพื้นที่และสังคมชนบทก็ยิ่งถูกทำให้อ่อนแอลง ความไม่เท่าเทียมทางสังคมและความไม่ยุติธรรมพบเห็นได้ในประเทศไทยมานานก่อนที่จะเกิดปรากฏการณ์เสื้อแดงเสียอีก

การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองและกลุ่มเสื้อแดงก็เป็นผลจากช่องว่างของความคิดหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองและคุณค่าของสังคมไทย ในขณะนี้เราก็ยังคงมีความต้องการประชาธิปไตยแม้ว่าเราจะไม่รู้ว่ามันคืออะไรหรือการทำให้เกิดประชาธิปไตยจริงๆ ได้อย่างไร และไม่ว่ารัฐธรรมนูญของเราจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วนเพียงใด เรายังคงจะมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว และมีภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสมอยู่ในรัฐสภา

เมื่อใดก็ตามที่เรามีการเลือกตั้งเรามักจะพูดว่ามันเป็นสิ่งดี ที่ในที่สุดเสียงของประชาชนก็ได้รับความสนใจเพราะพวกเราไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงการเมืองไทยเต็มไปด้วยความทุจริต ไม่ว่าเราจะเปลี่ยนหรือปฏิรูปการเมืองหรือแม้กระทั่งมีรัฐประหาร นักการเมืองหน้าเดิมๆก็กลับมาหลอกหลอนพวกเราอีก ประชาธิปไตยของไทยช่างน่าสิ้นหวังจริงๆ

ในความเป็นจริงหากคนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าเรามีความสุขกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์และวัฒนธรรมอันมากมายที่ไม่มีในชาติอื่น เราก็จะยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์ไปตราบเท่าที่เราต้องการ ประชากรไทยเท่านั้นที่จะตัดสินใจ ไม่ใช่นักวิชาการจอมปลอม สื่อต่างชาติ นักสิทธิมนุษยชน องค์กรเอกชน หรือแม้แต่ผู้นิยมลัทธิมากซ์

หมายเหตุ บทความนี้เป็นบางส่วนของบทความ “เผด็จการเสียงข้างน้อย กับเผด็จการเสียงข้างมาก” (TheTyranny of the Minority vs the Tyranny of the Majority) ของทนง ขันทอง จาก http://blog.nationmultimedia.com/thanong/2008/10/08/entry-2 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 8 ตุลาคม 2551

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙