แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระราชสมภพ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระราชสมภพ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์



ในหลวง ทรงพระเยาว์
พระราชสมภพ
สูติบัตร ในหลวงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ Cambridge Hospital (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 เหตุที่มีพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาอยู่ที่นั่น
King Bhumibol Adulyadej Square
ทั้งนี้ ใกล้สถานที่พระบรมราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ขอพระราชทานพระนามว่า จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช (King Bhumibol Adulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบการอุทิศจัตุรัสแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ ณ ที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
พระราชบิดา สมเด็จย่า ในหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”
ลายพระราชหัถต์ รัชกาลที่ ๗พระนาม “ภูมิพลอดุลเดช” นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า “Bhumibala Aduladeja” ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิพลอดุลเดช” ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว “ย” สะกดตราบปัจจุบัน
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า “Bhumibala” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า “ภูมิบาล” ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น “Bhumibol”
พระราชบิดา ในหลวงเมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
ในหลวง พระเยาว์
การศึกษา
ทรงพระเยาว์เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการดูแลในเบื้องต้นจากสถานเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ (Champ Soleil) ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พอมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นอนุบาลในประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีได้พาพระธิดา และพระโอรสทั้งสองพระองค์เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทรงส่งทั้ง ๓ พระองค์ เข้าสถานเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ อีกครั้ง จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนเมียร์มองต์ (Ecole Miremont) และในช่วงเวลาหยุดฤดูร้อนสมเด็จพระบรมราชชนนีจะส่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมเชษฐาเข้าเรียนที่โรงเรียนฟัวเย่ (Ecole Foyer,Les Pléiades)
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมเชษฐาได้เปลี่ยนเข้าศึกษาที่รงเรียนเอกชน นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์เมืองแซลลี ซูร โลซานน์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande ,Chailly-sur-Lausanne) ที่มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาและมีการสอนวิชาพิเศษ คือวิชาการทำสวน และวิชาช่างไม้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกสายการเรียนทั้งสองพระองค์ทรงเลือกเรียนทางด้านภาษาคือสายศิลป์ภาษาละตินและภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงด้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากโรงเรียนยิมนาส กลาซีค กังโตนาล (diplôme de bachelier ,Gymmase Classique Cantonal) แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ในหลวง การศึกษาในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เสด็จนิวัติกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่๒ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกันหลายประการ แล้วในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันเดียวกันนั้นเอง
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษา จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ในปีนั้น ในการเสด็จกลับไปศึกษาต่อในครั้งนี้ได้ทรงเปลี่ยนแผนการศึกษาจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็น สาขาวิชารัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์แทนด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในพระราชภารกิจที่เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙