แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระราชดำริ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระราชดำริ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ครองใจคน” หลากหลายเหตุผลที่คนไทยรัก “ในหลวง”


“…. ผมเคยอยู่มาแล้วหลายแผ่นดิน แต่ก็ไม่เคยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินใดที่คนทั้งเมืองเขาเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ให้ความเคารพบูชาอย่างสนิทสนมอย่างทุกวันนี้… พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน ๆ ทรงครองแผ่นดิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ทรง “ครองใจคน..”

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ในหลวง พัฒนา พระราชดำริ 

“เดิมพันของเรานั้นสูง”
ครั้งหนึ่ง เมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่”  ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบว่า “ความ จริงมันน่าท้อถอยหรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้าน คือเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ฉบัย 5 ธ.ค.32


“ราษฎรยังอยู่ได้”
ปีพุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไป เยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้ เวลานั้น ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็น อยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ “ราษฎรเขาเสี่ยง ภัยยิ่งกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ…  คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้าง ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้!”
ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง “พระบิดาประชาชน”

“ดอกไม้จากหัวใจ”
ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร บายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ  ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ

ในหลวง ยายแก่วันนั้น หลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น ดังเช่นครอบครัว จันท์นิตย์ ที่ลูกหลายช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดี อย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอยางอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม

เช่น เดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า “หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก”  พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปี เต็ม ๆ แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี
ข้อมูลจาก “แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์” ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย

“เขาเดินมาเป็นวัน ๆ”
… มีอยู่ครั้งนึง ข้าพเจ้าอายุ 18 ปี ได้ตามเสด็จ…ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ๆ ก็เสด็จฯ ประมาณ 9 โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรมาเรื่อยๆ ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหมนานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึกแดดเปรี้ยง หนังเท้านี้รู้สึกไหม้เชียว ก็เดินเข้าไปกระซิบท่านว่า พอหรือยัง ก็โดนกริ้ว

นี่เห็นไหมราษฎรเขาเดินมาเป็นวัน ๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว..
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534

“ต่อไปจะมีน้ำ”
บทความ “น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา” เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528 ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ “ในหลวง” กับ “น้ำ” ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528

ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า “ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้” แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอด ห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตามๆ กัน

“เก็บร่ม”
ในหลวง งานพัฒนาการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย้อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน

ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ “พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง” ตีพิมพ์ในหนังสือ “72 พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์” ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จได้เข้าไปกางร่มถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่าง ก็เปียกฝนโดยทั่วกัน  “จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชอครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น”

“สิ่งที่ทรงหวัง”
ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์ และได้กราบบังคมทูลถามว่า การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรบสั่งตอบว่า มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่ แต่ทรงสนพระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยลงหรือไม่


“รักถึงเพียงนี้” และ “จุดเทียนส่งเสด็จ”
บทความชื่อ “แผ่นดินร่มเย็นที่นราธิวาส” ตีพิมพ์ในนิตยสาร “สู่อนาคต” ฉบับพิเศษเนื่องในวันเฉลิมฯ ได้เล่าย้อนให้เราได้เห็นภาพความยากลำบากในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทางภาใต้เมื่อหลายปีก่อน โดยเฉพาะช่วงก่อนสร้างพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนราธิวาสชุกชุมไปด้วยโจรร้าย โจรปล้นสะดมและพวกโจรเรียกค่าไถ่ ถึงขนาดที่ในหลายๆ หมู่บ้านนั้น แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่กล้าย่างกรายเข้าไป

ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในทุกข์อันลึกล้ำของชาวบ้านที่ทั้งทุกข์เพราะยากจน และทุกข์เพราะภัยคุกคาม จึงได้เสด็จฯ ลงไปเยี่ยมเยียนเป็นขวัญกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์โดยไม่ทรงหวาดหวั่น บางวันถึงกับเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยปราศจากกำลังอารักขา และบางหมู่บ้านตำรวจเพิ่งถูกคนร้ายแย่งปืนแล้วยิ่งตายก่อเสด็จไปถึงเพียงไม่ กี่ชั่วโมง

ทรงรักราษฎรถึงเพียงนี้ จึงไม่แปลกที่หญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอรือเสาะจะเข้ามาเกาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร้องไห้แล้วบอกว่า “ไม่นึกเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไทยชาวพุทธ จะมารักมุสลิมได้ถึงขนาดนี้…”

บทความเดียวกันได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า ที่อีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเดียวกันนั้น โต๊ะครูได้พาพรรคพวกมายืนรอรับเสด็จแล้วพูดขึ้นว่า “..รายอกลับไปเถอะ ประไหมสุหรีกลับไปเถิด ประเดี๋ยวพวกโจรจะลงจากเขา…”  และเมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับที่มืดสนิทอย่างน่ากลัว โต๊ะครูกับชาวบ้านก็พากันมาจุดเทียนส่งเสด็จตลอดเส้นทางอันตราย ด้วยความห่วงใยใน “รายอ” และ “ประไหมสุหรี” หรือ พระราชาพระราชินีของพวกเขาอย่างสุดซึ้ง


“รถติดหล่มกับถนนสายนั้น”
หากย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว ชื่อของ “ลุงรวย” และ “บ้านห้วยมงคล” คือสองชื่อที่ลืมไม่ได้ เรื่องราวของ “ลุงรวย” เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2495 หรือมากกว่าห้าสิบปีล่วงมาแล้ว ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บ้านห้วย มงคลนี้อยู่ทั้ง “ใกล้และไกล” ตลาดหัวหิน ใกล้เพราะระยะทางที่ห่างกันนั้นไม่กี่กิโลเมตร แต่ไกลเพราะไม่มีถนน หากชาวบ้านจะขนพืชผักไปขายที่ตลาดต้องใช้เวลาเป็นวันๆ

ห่างไกลความเจริญถึงเพียงนี้ แต่วันหนึ่งกลับมีรถยนต์คันหนึ่งมาตกหล่มอยู่ที่หน้าบ้านลุงรวย เมื่อเห็นทหารตำรวจกว่าสิบนายระดมกำลังกันช่วยรถคันนั้นขึ้นจากหล่ม ลุงรวยผู้รวยน้ำใจสมชื่อก็กุลีกุจอออกไปช่วยทั้งงัด ทั้งดัน ทั้งฉุด จนที่สุดล้อรถก็หลุดจากหล่ม  เมื่อรถขึ้นจากหล่มแล้ว ลุงรวยจึงได้รู้ว่ารถคันที่ตัวทั้งฉุดทั้งดึงนั้นเป็นรถยนต์พระที่นั่งและคน ในรถนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ

แม้จะตื่นเต้นตกใจที่ได้เฝ้าฯ ในหลวงอย่างไม่คาดฝัน แต่ลุงรวยก็ยังจำได้ว่าวันนั้น “ในหลวง” มีรับสั่งถามลุงว่า “หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง..” ลุงได้กราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน จึงนอกจากจะโชคดีได้รับพระราชทาน “เงินก้นถุง” จำนวน 36 บาท ซึ่งลุงนำไปเก็บใส่หีบบูชาไว้เป็นสิริมงคลจนถึงทุกวันนี้แล้ว

อีกไม่นานหลังจากนั้น ลุงรวยก็ได้เห็นตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งเข้ามาช่วยกันไถดินที่บ้านห้วยมงคล และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ถนนห้วยมงคลที่ทำให้ชาวไร้ห้วยมงคลสามารถขนพืชผักออกมาขายที่ตลาดหัวหินได้ ภายในเวลาเพียง 20 นาที

 ในหลวง พัฒนา ความเป็นธรรม

“สามร้อยตุ่ม”
มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย รอบพระศอ พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงตางๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่อยู่ภายใต้แสงไฟฉายที่มีผ้ส่องถวายอยางไม่สะ ดุ้นสะเทือน อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบาๆ เท่านั้น

ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง “ยุง” ด้วยพระอารมณ์ขันว่า  “.. ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่ เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแตง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี..”


“น้ำท่วมครั้งนั้น”
ในหลวงกับงานพัฒนา 007วันที่ 7 พ.ย. 26 ขณะที่ชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งกำลังทนทุกข์หนักกับสภาพน้ำท่วมขัง น้อยคนที่จะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพยายามหาหนทางบรรเทาทุกข์ให้พวกเขาอยู่อย่างเงียบ ๆ

วันนั้นรถพระที่นั่งแวนแวคคอนเนียร์ แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ราวบ่ายสองโมงเศษ สู่ถนนศรีอยุธยาเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรี มุ่งสู่ถนนบางนาตราด ไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีการปิดถนน แม้แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่ทราบล่วงหน้า

รถยนต์พระที่นั่งชะลอเป็นระยะๆ เพื่อทรงตรวจดูระดับน้ำ จนเมื่อถึงคอสะพานสร้างใหม่ที่คลองลาดกระบัง จึงเสด็จลงจากรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทรงหารือกับเจ้าหน้าที่ที่ตามเสด็จ

ทรงฉายภาพด้วยพระองค์เอง ทรงกางแผนที่ทอดพระเนตรจุดต่างๆ จนถึงเวลาบ่ายคล้อย รถยนต์พระที่นั่งจึงแล่นกลับ เมื่อถึงสะพานคลองหนองบอน รถพระที่นั่งหยุดเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพบริเวณน้ำท่วม และทรงศึกษาแผนที่ร่องน้ำอีกครั้ง

ปรากฎว่าชาวบ้านทราบข่าวว่า “ในหลวงมาดูน้ำท่วม” ต่างก็พากันมาชมพระบารมีนับร้อยๆ คน จนทำให้การจราจรบนสะพานเกิดการติดขัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงโบกพระหัตถ์ให้รถขบวนเสด็จผ่านไปจนเป็น ที่เรียบร้อยด้วยพระองค์เอง!


“เชื่อมั่น”
เย็นย่ำแล้วแต่ขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังไม่หมดภารกิจ เมื่อรถวิ่งกลับมาทางถนนพัฒนาการ ทรงแวะฉายภาพบริเวณคลองตัน ทอดพรเนตรระดับน้ำแล้วทรงวกกลับมาที่คลองจิก

เวลานั้นฟ้ามืดแล้วเพราะเป็นเวลาจวนค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงนำไฟฉายส่วนพระองค์ออกมาส่องแผนที่ป้องกัน น้ำท่วมและแนวพนังกั้นน้ำอยู่เป็นเวลานาน กลายเป็นอีกภาพหนึ่งที่สร้างความตื้นตันใจแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ อย่างยิ่ง

ประชาชนคนหนึ่งในละแวกเคหะนคร 1 แขวงบางบอน เขตประเวศ บอกว่า “รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงห่วงใยทุกข์ของราษฎร เสด็จฯ มาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยพระองค์เอง พวกเราถึงจะทนทุกข์เพราะน้ำท่วมขังเน่ามาเป็นเวลานานก็เชื่อมั่นว่าพระองค์ ทรงช่วยพวกเราได้อย่างแน่นอน”


“ฉันทนได้”
ในหลวงกับงานพัฒนา 006ในเดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหักเฉียดโพรงประสาทฟัน พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกัน
เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า “จะใช้เวลานานเท่าใด” ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1-2 ชม.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน”

“คำสอนประโยคเดียว”
เมื่อนิตยสาร “สไตล์” ฉบับปี 2530 ได้ตั้งคำถามกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ถึง “คำสอน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ ดร.สุเมธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. ตอบว่า คำสอน ประโยคเดียวก็เกินพอนั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า “มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น”

“ดีใจที่สุด”
สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์มืดมน พระบรมฉายาลักษณ์ไม่เพียงเป็นรูปเคารพบูชา แต่ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความศรัทธาที่ช่วยให้มีแรงต่อสู้กับความทุกข์ต่อไปได้ ดังคุณยายละเมียด แสงเนียมวัย 72 ปี ชาวจังหวัดชุมพร ผู้ที่เผชิญกับอุทกภัยภาคใต้ในปี 2540 น้ำท่วมบ้านสูงมากจนอยู่อาศัยไม่ได้

“อยู่ๆ น้ำก็ท่วมมาเร็วมาก ยายต้องไปขออาศัยบ้านคนอื่นเขาอยู่ ต่อมาก็ขึ้นไปอยู่ชั้นบน ออกไปไหนไม่ได้เลย”  … พอดีที่บ้านนี้เขาปลูกมะละกอ ต้นมันสูงมาถึงหน้าต่างเราก็เอื้อมถึงพอดี เลยได้กินข้าวกับมะละกอ ก็กินมาสามวัน มาเมื่อวานผู้ใหญ่บ้านมาบอก มูลนิธิในหลวงจะเอาของมาแจกยายคิดเลยว่า ไม่อดตายแล้ว ทุกครั้งที่คนไทยเดือดร้อน ในหลวงจะให้ความช่วยเหลือทุกครั้ง

ของที่ยายได้มา ที่ดีใจที่สุดคือมีรูปของท่านมาด้วย ที่บ้านเสียหายหมดแล้ว ยายจะเอารูปท่านไว้บูชา ยายพูดแล้วก็ก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจงรักสุดหัวใจ

“ทุกข์บรรเทา”
“การประทับอยู่ในบ้านเมือง” ดังพระราชดำรัสนั้น ในเวลาต่อมาก็เป็นที่รู้กันว่ามิได้หมายถึงการประทับอยู่ในเมืองหลวงเท่า นั้น แต่ยังเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์จนแทบจะทั่วทุกตารางนิ้วที่พระบาทจะย่างไปถึงได้  ทรงวิทย์ แก้วศรี ผู้เรียบเรียงบทความ “บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ” บันทึกไว้ว่า

วันที่ 13 ก.ย 2497 ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 26 พรรษา และทรงครองราชย์เป็นปีที่ 8 ปรากฎว่าเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยครั้ง ร้ายแรงขึ้นที่อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรชาวบ้านโป่งผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทรงทอดพระเนตรบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และพระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์

ทุกข์ในยามยากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยเพลิงนั้นมากล้น แต่เมื่อได้รู้ว่ายังมีใครสักคนคอยเป็นกำลังใจ ทุกข์สาหัสแค่ไหนก็ยังพอมีแรงกายลุกขึ้นสู้ต่อได้ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบภัยในครั้งนั้น นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในรัชกาล


“141 ตัน”
เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ

ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของ ล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของหนุ่ม สาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา

จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร นั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อย หนังสือพมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3 ชม. เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน

ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น “ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ” ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า “ไม่ได้พระราชทานเฉยๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา โบหลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อย บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก”
“สุขเป็นปี ๆ”
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้นการพระราชทานปริญญาบัตรในระดับป.ตรี คงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่า พระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย ที่สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จป.ตรี นั้นสำคัญ เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนั้น “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง..”


“พระมหากษัตริย์”
เมื่อมีผู้สื่อข่าว bbc ขอพระราชทานสัมภาษณ์เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Soul of Nation ในปี 2522 โดยได้กราบบังคมทูลถามถึงพระราชทัศนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์ได้พระราชทานคำตอบว่า

การที่จะอธิบายว่าพระมหากษัตริย์ คืออะไรนั้น ดูเป็นปัญหาที่ยากพอสมควร โดยเฉพาะในกรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์ แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้ว ดูจะห่างไกลจากหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์ ถ้าถามว่า ข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต คำตอบก็คือ ไม่มี เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ..สนองพระราชดำริมอบเอกสารสิทธิ “สทก.” ให้ราษฎร


  นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เดินทางไปเป็นประธานในพิธีมอบเอกสารสิทธิที่ทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ (สทก.) และร่วมโครงการปลูกต้นไม้
  เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 81 พรรษา 12 สิงหาคม 2556 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
  โดยมีนายกาศพล แก้วประพาฬ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงศ์ อธิบดีกรมป่าไม้ นายโกวิทย์ เพ่งวาณิชย์ รองเลขาธิการ กปร. นายวุฒิกร สุขีนัย นายอำเภอหนองปรือ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนผู้มารับ สทก.ให้การต้อนรับ
  โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ
  โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานร่วมกันเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรควบคู่ไปกับ  การพัฒนา และฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกบุกรุกทำลายจนมีสภาพเสื่อมโทรม
  โดยกรมป่าไม้ได้อนุญาต ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขาฤาษี-เขาบ่อแร่ แปลงที่ 2 จำนวน 20,625 ไร่ ตั้งแต่ปี 2534 – 2554  ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการฟื้นฟูพื้นที่ป่า พัฒนาแหล่งน้ำ สาธารณูปโภคพื้นฐาน พัฒนาคุณภาพชีวิต
  และจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรครอบครัวละ 1 ไร่ จำนวน 780 แปลงและแปลงที่ดินทำกิน ครอบครัวละ 8 ไร่และครอบครัวใหญ่ 16 ไร่ รวม 907 แปลง
  เพื่อสร้างความมั่นคงในที่ทำกินให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการห้วยองคตฯ สำนักงาน กปร. กรมป่าไม้ และจังหวัดกาญจนบุรี ได้ร่วมกันดำเนินการออกเอกสารสิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ (สทก.) ให้แก่ราษฎรดังกล่าว
  โดยครั้งแรก ดำเนินการมอบ สทก.แล้วจำนวน 627 แปลง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555
  และครั้งที่ 2 ได้ดำเนินการมอบ สทก. ให้ราษฎรอีก จำนวน 578 แปลง เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556  ภายหลังการมอบ สทก. ให้กับประชาชนเป็นผู้มีสิทธิ์แล้ว องคมนตรีได้ร่วมปลูกป่ากับส่วนราชการและประชาชนอีกด้วย.

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

พระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

 

รายละเอียด
... ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้ ดูจะเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมู่นี้ก็พูดกันอย่างขวัญเสียว่า อีกหน่อยจะต้องปันส่วนน้ำ หรือแม้แต่จะต้องตัดน้ำประปา อันนี้สำหรับกรุงเทพฯ ฉะนั้น ต้องหาทางแก้ไขเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ได้วางแผนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติ ตามแผนนั้นๆ แล้ว วันนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำ โครงการโดยเฉพาะนั้นก็มี แล้ว โครงการนั้นได้ยืนยันมาเมื่อเดือนที่แล้ว เมื่ออยู่ที่นราธิวาสได้วางโครงการ ที่แม้จะยังไม่แก้ ปัญหาปีนี้หรือปีหน้า แต่ถ้าทำอย่างดี ในประมาณ ๕ หรือ ๖ ปี ปัญหาน้ำขาดแคลนใน กรุงเทพฯ จะหมดไปโดยสิ้นเชิง..." พระราชดำรัสถึงโครงการกักเก็บน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี โครงการเขื่อนเก็บน้ำแม่น้ำนครนายก จ.นครนายก โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ "... เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตุถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้อง มีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป ฉะนั้น น้ำนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่กล่าวถึงข้อนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนา ขั้นแรกหรือสิ่งแรก ที่นึกถึงก็คือโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการ สิ่งแวดล้อมทำให้น้ำดี สองอย่างนี้อื่นๆ ก็จะเป็นไปได้ถ้าหากว่า ปัญหา ของน้ำนี้ เราได้สามารถที่จะแก้ไข หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้ อย่างเพียงพอ ฉะนั้นการพัฒนานั้นสิ่งสำคัญก็อยู่ตรงนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เช่นวิชาการในด้านการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึง การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการค้า หรือการคลัง อะไร พวกนี้ก็ต่อเนื่องต่อไป... " พระราชดำรัส วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน “... การทำฝนเทียมนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีเครื่องอุปกรณ์ วัสดุ และเจ้าหน้าที่ งานที่ทำนี้ก็ต้องสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย แต้ถ้าผลที่ได้ คือจะเป็นผลที่น่าพอใจ การทำฝนนี้ เป็นสิ่งที่ลำบากหลายๆ ประการ ทางด้านเทคนิค และในด้านจังหวะที่จะทำ เพราะถ้าพูดถึงด้านเทคนิค ฝนที่ทำนี้ จะพลิกฤดูการไม่ได้ ไม่ใช่ว่าฝนแล้งจะบันดาลได้อย่าง ปาฎิหาริย์ทำให้มีฝนเพียงพอกับการเพาะปลูกมิได้ หรือจะแทนการ ชลประทานที่ขุดเรียบร้อยกว้างขวางก็ไม่ได้ แต่เป็นทางหนึ่งที่มีหวัง สำหรับฤดูกาลที่ควรจะมีฝน และฝนเทียมจะช่วยให้ประคองพืชผล ไม่ให้สิ้นไปพอได้ การทำฝนเทียมนี้เป็นสิ่งที่ใหม่ จึงต้องทำโครงการ อย่างระมัดระวัง เพราะว่าสิ้นเปลือง ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลจะสิ้น เปลืองโดยใช่เหตุ...” พระราชดำริ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน “ ... ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุ ราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ช่วยปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้ จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถ ปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น พันธ์ุไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อ ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...” พระราชดำรัส วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ อ.บาเจาพ จ.นคราธิวาส “...ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูง ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝาย ดังกล่าวจำเป็นต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ ไว้ได้ปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่ แข็งแรง และโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้ง อย่างสม่ำเสมอ โดยการจ่ายน้ำไปรอบๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้..." พระราชดำรัส วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน “... อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมจึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ที่โรงเรียนมีครู ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล่้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดิน แล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่าไม้อย่างนั้น เมื่อเม็ดฝนตกลงมาแล้ว จะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ทำความเสียหายดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ และเป็นหลักของชลประทาน ที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้ เดือดร้อนตลอดทั้งดินบนภูเขาจะหมดไป กระทั่งมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี้นะ เรียนมา ตั้งแต่ อายุ ๑๐ ขวบ ..." พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๒ “...สำหรับต้นน้ำ ไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษา ไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับ ก็ควรสร้างฝายขนาดเล็ก กั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับแหล่งน้ำ ที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำ ลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก...” “... ควรสร้างฝายต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำ เพื่อช่่วยชะลอกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำ สำหรับสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ...” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ณ ดอยอ่างขาง เชียงใหม่ ข้อมูลจาก :http://202.129.59.73/5dec/kingandwater4.htm

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙