วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ยูเนสโกยกย่อง “ร.7-สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ-หม่อมงามจิตต์” บุคคลสำคัญของโลก ปี56


เมื่อ 21พ.ย.2556 ยูเนสโกยกย่อง “ร.7-สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ-หม่อมงามจิตต์” บุคคลสำคัญของโลก ปี56

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมสมัยสามัญขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 37 ณ สำนักงานใหญ่ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน ตามเวลาในประเทศไทย ได้ประกาศยกย่องบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองประจำปี 2556 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้รับการยกย่องบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองตามที่มีหน่วยงานเสนอพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และเสนอชื่อผู้ที่มีผลงานดีเด่นให้ยูเนสโก ดังนี้ 1.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสนอโดยสถาบันพระปกเกล้า เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ในการประกอบพระราชกรณียกิจในประเทศไทย หลังจากเสด็จกลับจากการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2457 และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพครบรอบ 10 ปีนักษัตร วันที่ 8 พฤศจิกายน ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน

นางสุทธศรีกล่าวต่อว่า 2.สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสนอโดยราชินีมูลนิธิ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพครบ 150 ปี วันที่ 1 มกราคม 2556 ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาสำหรับเด็กหญิงและสตรี การศึกษาด้านสาธารณสุขศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสังคมและมนุษยศาสตร์ และ 3.หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร เสนอโดยมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร เพื่อฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในปี พ.ศ.2558 เนื่องจากเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาชุมชน และการศึกษาด้านวัฒนธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ในหลวง” โปรดเกล้าฯ ผู้พิพากษา-ตุลาการเฝ้าฯถวายสัตย์


เมื่อ 21 พ.ย.2556 เวลา 17.10 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ศาลาเริง พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำตุลาการศาลทหารสูงสุด ตุลาการศาลทหารกลาง และตุลาการพระธรรมนูญศาลทหารชั้นต้น เฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

'ในหลวง' เสด็จออกท้องพระโรง 5ธันวา


'ในหลวง'เสด็จออกท้องพระโรงวังไกลกังวล 5 ธันวาคม รัฐ-เอกชนร่วมจัดงานเฉลิมพระเกียรติตลอดเดือน ส่วนราชการจัดนิทรรศการ'พระทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์'

เมื่อ 19 พ.ย.56 เวลา 13.50 น. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเตรียมการจัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2556

นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้รับทราบความคืบหน้าการเตรียมการพระราชพิธี และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในศุภวาระเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2556 โดยสำนักพระราชวังแจ้งว่าบัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีหมายกำหนดการที่จะเสด็จออก ณ ท้องพระโรงศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม เวลา 10.30 น.

ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่เสด็จออก ณ ท้องพระโรงศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล โอกาสเดียวกันนี้ ทหารรักษาพระองค์จะได้เฝ้าฯ ถวายคำสัตย์ปฏิญาณด้วย

"รัฐบาลได้รับทราบข่าวที่เป็นมงคลนี้ด้วยความปีติยินดี และจะได้มอบหมายให้สื่อมวลชนของรัฐ และขอความร่วมมือสื่อภาคเอกชน ถ่ายทอดพระราชพิธีสำคัญทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีโดยทั่วถึงกัน" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

นายธงทอง กล่าวว่า รัฐบาลประสานกับทุกส่วนราชการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “พระทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์” ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม นี้ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณที่ทรงได้รับยกย่องจากสถาบันและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น พระราชสมัญญาต่างๆ รางวัล ปริญญากิตติมศักดิ์ และสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย

เรื่องราวเหล่านี้ทำให้เห็นตระหนักชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรามิได้ทรงเป็นเพียงพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระราชภาระหลักเท่านั้น หากยังทรงมีความรู้เชี่ยวชาญและทรงพระปรีชาสามารถในสรรพวิทยาการหลากแขนง ได้ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประชาชนคนไทยมาตลอดเวลากว่าหกสิบปี จึงขอเชิญชวนประชาชน ร่วมกิจกรรมในงานนิทรรศการดังกล่าว" ปลัดสำนักนายกฯ กล่าว

นายธงทอง กล่าวอีกว่า นอกจากนั้น ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนยังได้ร่วมมือร่วมใจจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอีกมากมายหลายรายการ เช่น การจุดเทียนชัยถวายพระพรในค่ำวันที่ 5 ธันวาคม เวลา 19.29 น. ณ ท้องสนามหลวงและสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ กระทรวงกลาโหมจัดการแสดงวงโยธวาทิต “1 คีตมหาราชาในดวงใจ โยธวาทิตไทยสู่สากล” และการแสดงพลุเฉลิมพระเกียรติ “ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน ครั้งที่ 6”

กระทรวงพลังงานจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ สำนักงาน ก.พ.จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เป็นต้น

ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาล นอกจากการจัดนิทรรศการ “พระทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในวันที่ 7 ธันวาคม เวลา 18.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล รัฐบาลจะได้จัดงานสโมสรสันนิบาตเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายชัยมงคลในศุภวาระวันเฉลิมพระชนมพรรษา เช่นเดียวกันกับทุกปีที่ผ่านมาด้วย

ด้าน พล.ต.วราห์ บุญญะสิทธิ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) กล่าวว่า กองทัพภาคที่ 1 จัดเตรียมทหารรักษาพระองค์ 12 กองพัน และกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ 1 กองพัน เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติอาจมีการปรับลดกำลังทหารที่ร่วมพิธีเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ ส่วนรายละเอียด และพิธีการจะมีความชัดเจนหลังจากสำนักนายกรัฐมนตรีประชุมร่วมกับกองทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 25 พฤศจิกายน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทหารรักษาพระองค์ทั้ง 13 กองพันได้ทำการซ้อมในพระราชพิธีฯ อยู่ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์(ร.11 รอ.) และในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ทหารรักษาพระองค์ทั้งหมดจะทำการซ้อมในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ในสถานที่จริง ณ วังไกลกังวล และในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ จะมีการซ้อมใหญ่ในพระราชพิธีทุกขั้นตอนอย่างละเอียดทั้งหมด
             
ขณะนี้ทางกองทัพภาคที่ 1 ได้จัดเตรียมทหารรักษาพระองค์จำนวน 12 กองพัน และกองพันทหารม้ารักษาพระองค์จำนวน 1 กองพัน เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติอาจมีการปรับลดกำลังทหารที่ร่วมพิธีเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานที่ ส่วนในรายละเอียด และพิธีการที่ชัดเจนนั้น จะต้องรอรับทราบในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ ภายหลังสำนักนายกรัฐมนตรีประชุมร่วมกับกองทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ทำเนียบรัฐบาล อย่างไรก็ตามขณะนี้ทหารรักษาพระองค์ทั้ง 13 กองพันได้ทำการซ้อมในพระราชพิธีฯอยู่ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์(ร.11 รอ.) และในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ทหารรักษาพระองค์ทั้งหมดจะทำการซ้อมในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ในสถานที่จริง ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และในวันที่ 3 ธันวาคมนี้จะมีการซ้อมใหญ่ในพระราชพิธีทุกขั้นตอนอย่างละเอียดทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ในหลวงเสด็จลอยพระประทีป


เมื่อวันที่ 17 พ.ย. เวลา 16.39 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลง ณ ท่าลัดดา วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงประกอบพิธีลอยพระประทีป เนื่องในวันลอยกระทง

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม


ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสนองพระราชดำริ ในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหิน ซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคม เข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าว เป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง

กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร

พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์

พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน 

นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 หยุดทุกวันจันทร์

พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล

ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน 

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ

ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ

ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ

นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน

นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

14 พฤศจิกายน (วันพระบิดาแห่งฝนหลวง)


ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ด้วยวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันบิดาแห่งฝนหลวง วันนี้ ผมขอนำเรียนทุกท่านเกี่ยวกับโครงการฝนหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้ครับ  ความเป็นมาของโครงการฝนหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงห่วงใยพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและใช้เพื่อการเกษตรกรรม เนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง อันมีสาเหตุมาจากความผันแปรของฤดูและอากาศตามธรรมชาติ เช่น ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน

โครงการฝนหลวงฯ เกิดขึ้นจากพระราชดำริที่ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินฯ ทางภาคพื้นดินและทางอากาศยานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ยังไม่สามารถก่อตัวรวมกันเป็นฝนได้ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะๆ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน

พระองค์จึงได้ทรงตระหนักว่า ด้วยประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนและอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงน่าจะใช้มาตรการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นฝนได้


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรในพื้นที่แห้งแล้งเหล่านี้ จึงได้ ทรงศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางเอกสารทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระทัย แล้วจึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น ก่อนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติการทดลองบนท้องฟ้า ตั้งแต่ปี ๒๔๙๘ เป็นต้นมา


จวบจนกระทั่งในปี 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืช กรมการข้าว เพื่อสนองแนวพระราชดำริและดำเนินตามพระราชประสงค์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 มี ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการฯ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก โดยเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก

วิธีการทำฝนหลวง เป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ซึ่งต้องใช้เครื่องบินที่มีอัตราการบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ สภาพของทิศทางลม และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝน เช่น ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม นั่นคือ เมื่อมวลอากาศ ร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอจะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จนเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำขึ้นบนแกนกลั่นตัวจนกลายเป็นฝน ตกลงมา


        ขั้นตอนการดำเนินการ เป็นการผลิตสารเคมีที่เป็นสูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้น กลไกการหมุนเวียนของ บรรยากาศสูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อกระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้

        ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อกวน เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง เป็นขั้นของการใช้สารเคมีไปกระตุ้นให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรดำเนินการเกินช่วงเช้าของแต่ละวัน (หรือก่อน 10.00 น.) โดยใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิดมีการก่อตัวและเจริญเติบโตในแนวตั้ง จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อน โปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วมในบริเวณปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝน

        ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโต ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะเป็นการไปเพิ่มพลังงานให้กับการลอยตัวของก้อนเมฆให้ยาวนานออกไป จึงต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ หรือศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม

        ขั้นตอนที่สาม : โจมตี ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง โดยใช้เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝน ที่ต้องมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ โดยภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน ซึ่งในจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงในการลอยตัวของก้อนเมฆ หรือทำให้อายุการลอยตัวนั้นหมดไป


ทั้งนี้ การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ มีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้ตกลงมา และเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดการกระจายการตกของฝน ด้วยผลการใช้ฝนหลวงได้ทวีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๑๘ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป กระทั่งมีการปรับปรุง และพัฒนาปฏิบัติการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน

ผลจากการดำเนินโครงการฝนหลวง โครงการฝนหลวงได้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต หลายด้าน ได้แก่

การเกษตร : ได้ใช้ฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนาน

การอุปโภคบริโภค :  ได้ช่วยตอบสนองภาวะความต้องการ น้ำกิน น้ำใช้ ที่ทวีความรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุณสมบัติของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทรายไม่สามารถอุ้มซับน้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ดีเท่าที่ควร

การแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ : ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม อันเนื่องมาจากพื้นดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง

ด้านการเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ : เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง จนไม่สามารถสัญจร ไปมาทางเรือได้ จึงได้ทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าว เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางน้ำยังเป็นอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบก ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมาก

ด้านการป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม : หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่องเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อย และสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการทำฝนหลวง จึงช่วยบรรเทาภาวะดังกล่าว อีกทั้งการทำฝนหลวงยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษให้ออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง

ด้านการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า : เนื่องจากบ้านเมืองเราเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ โดยระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำฝนหลวงจึงมีความสำคัญ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจโดยทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรชาวไทยเสมอมา

เนื่องในโอกาสวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ผมขอเชิญชวนท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่านร่วมเรียนรู้พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ครับ.

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ในหลวง-ราชินี” พระราชทานแจกันดอกไม้แก่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ


เมื่อ 12 พ.ย.2556 แถลงการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแจกันดอกไม้แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งทรงเข้ารับการถวายการรักษานิ่วในท่อพระวักกะ

สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 เรื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ว่าวันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา ได้รายงานว่า ผลการตรวจทางรังสีวิทยา ยังพบนิ่วอยู่ที่ท่อพระวักกะ หรือไตขวา คณะแพทย์ฯ จึงได้ถวายการรักษาด้วยการส่องกล้องเพื่อนำนิ่วออก เมื่อเช้าวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2556 คณะแพทย์ฯ สามารถนำนิ่วที่พบอยู่นั้นออกได้หมด หลังถวายการรักษาด้วยการส่องกล้อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระอาการดีขึ้น คณะแพทย์ฯยังคงถวายพระโอสถปฏิชีวนะต่อไป  และกราบบังคมทูลให้ประทับพักในโรงพยาบาลต่ออีกสักระยะหนึ่ง

และที่ตึกว่องวานิช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นผู้เชิญแจกันดอกไม้พระราชทานไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พร้อมกันนี้ องคมนตรี และคู่สมรส ได้ลงนามถวายพระพร ณ โถงชั้นล่าง ตึกอานันทมหิดล  ซึ่งตลอดทั้งวัน มีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้ถวายงานโครงการตามพระราชดำริ และประชาชน ไปลงนามถวายพระพร อาทิ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมัธยมพระราชทานนายาว จังหวัดฉะเชิงเทรา, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, กรมประมง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ รวมถึงนายปริวัฒน์ เศรษฐบุตร ผู้จัดการฝ่าย พร้อมผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ที่ร่วมกันวาดภาพ ถวายพระพรให้มีพระพลานามัยแข็งแรง นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย, ประธานพระครูพราหมณ์ในฐานะผู้แทนองค์กรศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในประเทศไทย, กองทัพภาคที่ 4 และกองทัพภาคที่ 1

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก


นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน และพระราชทานปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๕พ.ค.๒๔๙๓ ล่วงเลยมาตราบถึงวันนี้  แม้จะมีพระชนพรรษาย่าง ๘๔ พรรษาแล้วก็ตาม 

อีกทั้งยังทรงพระประชวรอยู่ต้องประทับรักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลศิริราชมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายเดือนทว่า ในพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านก็ยังมีแต่พสกนิกรชาวไทยอย่างแท้จริงทรงห่วงใยทุกข์สุขของประชาชนทุกคนมิต่างจากทุกข์สุขของพระองค์เองและทรงอุทิศพระองค์อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อทรงคลายร้อนผ่อนลำเค็ญนำพาความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ปวงประชนชาวไทยทั้งประเทศสมกับที่ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกและทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหากษัตริย์ผู้เพียบพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม

“พระเจ้าอยู่หัวยังต้องเหนื่อยต้องลำบากทุกวันนี้เพราะว่าประชาชนยังยากจนอยู่เมื่อประชาชนยากจนแล้วอิสรภาพเขาจึงไม่มีและเมื่อเขาไม่มีอิสรภาพเขาก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้” พระราชดำรัสดังกล่าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสียสละเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงและคงไม่เกินเลยไปหากจะกล่าวว่าในบรรดาสถาบันกษัตริย์ที่มีอยู่ทั่วโลกนั้นไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดจะทรงงานให้กับพระชาชนเท่ากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระองค์ในสถานะผู้ให้บริการรับใช้ประชาชนถึงแม่ว่าจะทรงเป็นประมุขของประเทศ

“มาทำงานกับฉันนั้นไม่มีอะไรจะให้นอกจากความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นฉันนับถือลัทธิเรื่อย ๆ คือทำไปเรื่อย ๆ ใครว่าอย่าไปสนใจฝากไว้ด้วยเพราะเราทำแล้วต้องถูกว่าต้องมีคนถูกด่าธรรมดาของการทำงานเพราะฉะนั้นลัทธิเรื่อยๆ ก็คือทำไปเรื่อยๆ ถูกว่าถ้าเห็นว่าผิดก็กลับไปทำใหม่ย้อนกลับมาที่ตั้งต้นใหม่ทำใหม่อย่าไปสนใจอะไรทั้งสิ้น เพราะถ้าสนใจอะไรไปแล้วจะไม่มีกำลังใจอะไรเลย”

ในฐานะข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพัฒนาผืนแผ่นดินทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยและได้มีโอกาสถวายงานอย่างใกล้ชิดตลอดรระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล”เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้ถ่ายทอดถึงเรื่องราวต่างๆ ขององค์พระประมุขซึ่งทรงทำประโยชน์อเนกอนันต์ให้กับแผ่นดินไทยอันถือเป็นแบบอย่างที่ควรค่าแก่การน้อมนำเป็นแนวทางดำเนินชีวิต

“ผมเคยวาดภาพว่า สถาบันกษัตริย์คงเป็นแบบที่เรานึกคิดเราอ่านนิทานประเภทจักรๆ วงศ์ๆ มาคงจะนึกว่าสุขสบายนึกอยากจะทำอะไรก็ทำ หรือระหว่างอยู่ต่างประเทศก็ได้ข่าวเจ้าชายองค์นั้นซื้อรถสปอร์ตขี่อีกแล้ว เจ้าชายองค์โน้นซื้อเรือยอชต์ใหม่อันนี้คือภาพที่ติดมากับตัวก่อนที่จะทำงานสนองเบื้องพระยุคลบาทแต่พอมีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับพระองค์พูดทีไรผมก็เกิดอาการขนลุกซู่ซ่าขึ้นมาทุกที

ไม่เคยนึกไม่เคยฝันไม่เคยวาดภาพมาก่อนว่าสถาบันกษัตริย์ของเราจะเป็นในลักษณะที่เห็นอยู่ในหลวงทรงอุทิศเวลาส่วนพระองค์ทั้งหมดของพระองค์ท่านเพื่อทุกข์สุขของราษฎรชีวิตทั้งวันของพระองค์นั้นได้ผ่านไปในลักษณะที่ว่า ทรงทุ่มเทอย่างมากที่สุดเมื่อเทียบกับกษัตริย์อื่นในโลกนี้

ทุกวันนี้เมื่อเราท่านดูทีวีดูข่าวหรือว่าอ่านหนังสือพิมพ์ท่านจะเห็นภาพของพระองค์ท่าน แต่ก็ดูเป็นลักษณะที่เห็น  แต่ว่าหากทุกคนลองมองสักนิดหนึ่ง  ท่านจะเห็นว่าพระองค์ทรงงานอย่างไรบ้างประทับนั่งราวกับราษฎรเสมอ  เหมือนในพื้นที่เดียวกัน  มิใยว่าตรงนั้นจะเปียกจะแฉะพระองค์ท่านจะประทับบนดินบนลูกรังหรืออะไร

ตอนแรกผมก็แต่งตัวดีเวลาตามเสด็จฯตอนหลังไม่ไหวแล้วพอกับมามอมแมมทุกทีกางเกงแพงๆ เสียไปหมดเลยก็เลยเปลี่ยนเอากางเกงที่มันไม่สกปรกง่ายทนๆหน่อย ผมใส่โรเล็กซ์แต่โรเล็กซ์นี้ของปลอมแท้คือซื้อจากไต้หวันใครจะถวายปาเต๊ะ ฟิลลิป อะไรต่างๆ พระองค์ไม่เคยทรงทรงแต่ของที่ถูกที่สุดทรงยึดประโยชน์เป็นหลัก”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสนองพระบรมราชโองการ ตามพระปฐมบรมราชโองการที่ได้รับสั่งไว้ทรงทุ่มเทตลอดเวลาหลายทศวรรษเพื่อประโยชน์สุขของปวงประชาราษฎร์อย่างแท้จริง

“ดร.สุเมธ” เล่าถึงชีวิตประจำวันขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกเยี่ยมเยียนประชาชนตามถิ่นทุรกันดารต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงการทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ “การตามเสด็จฯจะเริ่มประมาณบ่ายสามถึงบ่ายสี่โมงส่วนมากจะไม่เสด็จฯออกก่อนบ่ายสามโมง นอกจากจะมีลักษณะการเดินทางต้องกินเวลาก็อาจจะเป็นว่า เริ่มจากตอนเที่ยงหรือตอนเช้าแต่ส่วนมากพระองค์จะเริ่มบ่ายสามโมงจะทรงขับรถด้วยพระองค์เอง

วันหนึ่งมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “เหตุที่ฉันไม่บอกนั้น เพราะว่าไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อนเพราะถ้าบอกทางจังหวัดต้องออกไปเตรียมการ ไปทำอะไรต่ออะไร ข้าราชการทั้งหมดไปรับเสด็จฯยุ่งยากกันไปหมดทั้งจังหวัด” เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงบอกใครอยากไปตามเสด็จฯก็ไป ใครไม่อยากตามเสด็จฯ ก็ไม่ถือโทษโกรธกัน

จะสังเกตเห็นว่า จุดแรกที่พระองค์ทำ คือว่าต้องหนีบแผนที่ เสด็จพระราชดำเนินไปหาประชาชนก่อนเพื่อนเลย ส่วนมากมักจะคุยกับคนแก่ๆ ไม่ใช่ถามเรื่องทุกข์สุขหรืออะไร พระองค์ท่านมีวิธีการทำงานแบบลักษณะสมัยใหม่

ในขณะที่พวกเรานักวิชาการใช้คอมพิวเตอร์ใช้อะไรต่างนั้น  พระองค์ใช้ขีดความสามารถของพระองค์เองเป็นผู้ดำเนินการแต่พระองค์เดียวทั้งสิ้น พวกเราถวายข้อมูลเข้าไปแค่นั้นเอง แล้วในแผนที่ พระองค์ท่านจะทรงเขียนบันทึกมากมาย ก็แสดงว่ามีการเตรียมตัวทำการบ้านมาก่อนแล้วว่า บริเวณที่จะเสด็จฯไปนั้น มีข้อมูลอะไรบ้างมีเขียนเต็มไปหมดเลยด้วยลายพระหัตถ์

สิ่งแรกคือ ทรงตรวจสอบข้อมูลเหมือนอย่างพวกเรานักวางแผน แล้วทรงมีข้อมูลพื้นฐานที่เขียนไว้เช็กข้อมูลกับประชาชนเลย พระองค์ทรงเช็กโดยละเอียด 400 เมตรไปข้างหน้าเลี้ยวซ้ายเจอลำธารหรือเปล่า ฉะนั้น คนที่ตอบได้ถูกต้อง จะต้องเป็นคนแก่ๆ ซึ่งรู้จักภูมิประเทศนั้นดี พระองค์จะทรงซักถาม บางทีเป็นชั่วโมง ประทับราบอยู่ที่นั้น

ทรงเช็กจนแน่ใจแล้วว่าภูมิประเทศ กับแผนที่ถูกต้องเพราะรับสั่งอยู่เสมอว่า การพัฒนาจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ พระพระองค์เช็กข้อมูลกับราษฎรเสร็จ จะเรียกหน่วยงานราชการเข้ามาเช็กข้อมูลซ้ำอีกที แล้วจึงเรียกหน่วยปฎิบัติขึ้นมาส่วนมากจะเป็นเรื่องน้ำ เชื่อไหมว่า พระองค์ทรงอัจริยะในลักษณะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ทรงใช้เวลา 2-3 นาที จะทรงกำหนดและขีดให้ได้ทันทีว่า สร้างเขื่อนตรงนี้ จากเขานี้ไปเขานี้กั้นตรงนี้ แล้วพระองค์จะทรงวาดต่อได้เลยว่า พอสร้างเสร็จแล้วน้ำเต็มแล้ว จะท่วมบริเวณไหนบ้าง ระบายเป็นสีน้ำเงิน ออกมาให้ได้ทันที

ทรงศึกษาก่อนที่จะทรงทำอะไร ไม่ใช่ว่าไปถึงประทับแล้วชี้แต่พระองค์ท่านทรงรู้อยู่ตลอดเวลา คือหยิบเรื่องอะไรขึ้นมาจะทรงศึกษาก่อนไม่ว่าพระองค์จะทรงสนพระทัยเรื่องอะไร ตราบใดที่ยังไม่ทะลุปรุโปร่ง ไม่สุดปลายของปัญหา พระองค์จะไม่ทรงหยุด จะเห็นได้ว่า เวลารับสั่งอะไร ถึงแม้จะเรียบง่ายแต่ว่าลึกซึ้ง แล้วก็อยู่ในลักษณะที่ใช้ธรรมชาติที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของเรานั่นเองมาใช้ประโยชน์ ไม่นิยมของแพง ไม่นิยมโครงการลงทุนสูง ถ้ารู้ว่าวิธีการพัฒนาชาวเขาอย่างไร วิธีการสร้างฝายแม้วอย่างไรจะทึ่งมาก

พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า การพัฒนาประเทศของพระองค์จะใช้หลักสังฆทาน คือไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกใครทั้งสิ้น จะอยู่ในศาสนาไหน อยู่แห่งหนใด จะเป็นชาวเขา หรือจะเป็นอะไรก็แล้วแต่นั้น

นอกจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เกือบ 3000 โครงการ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การคมนาคม การสื่อสาร การส่งเสริมอาชีพ สวัสดิการสังคม สาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเป็นโครงการที่ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยมากที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงคิดทฤษฎีใหม่ๆมากมาย ทรงมิเคยวางพระองค์อยู่ในฐานะพระมหากษัตริย์ ที่ประกอบพระราชกรณียกิจในหน้าที่องค์พระประมุขเท่านั้น แต่ยังทรงงานอย่างหนักทุกอย่าง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย

ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ ทรงถือโอกาสนี้เสด็จฯเยี่ยมเยียนราษฎร ในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างทั่วถึงอีกด้วย เพื่อที่จะได้ทรงทราบถึงปัญหาของราษฎรในพื้นที่เหล่านั้น เมื่อนำมาประกอบกับข้อมูลที่ทรงมีอยู่แล้ว จึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

บ่อยครั้งยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรผู้ยากไร้และประสบความเดือดร้อน เช่นเดียวกับเมื่อครั้งเกิดอุทกภัยใหญ่ทั่วประเทศในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะยังทรงไม่หายจากพระอาการประชวร และต้องประทับรักษาพระวรกายอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช

แต่ก็ไม่วาย ห่วงใยในความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน ได้โปรดเกล้าฯให้นำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้ราษฎรที่ประสบอุทกภัยตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ พร้อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

ดร. สุเมธ บอกเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศเวลาทั้งหมดเพื่อทำการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ที่คนไทยได้รับผลกระทบทั้งจากภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในความสนพระราชหฤทัยของพระองค์ท่าน

ก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จประทับโรงพยาบาลศิริราชทรงสั่งลงมาให้ประชุมหน่วยงานต่างๆ พยายามพระราชทานคำเสนอแนะให้เกิดการประสานงานกับทุกหน่วยราชการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมาหลายปีก่อนมีน้ำทะลักเข้ามาก้อนใหญ่ทุกคนก็เฉย

แต่เมื่อพระองค์ท่านอดทนไม่ไหว เลยรับสั่งเรียกหน่วยงานต่างๆ มาประชุม และทรงถามว่าน้ำเดินทางเท่าไหร่ ระยะเวลาเท่าไหร่แต่ละชั่วโมงมาถึงไหน เพื่อวางระบบการเตือนภัยให้ทันท่วงที ตอนผมไปถวายงานกับพระองค์ท่านหลายสิบปีแล้วพระองค์ท่านเตือนพวกเราว่าระวังนะอย่าไปรังแกธรรมชาติหากไปรังแกมากๆ เขาจะโกรธเอาและเขาก็จะทำร้ายเรา ซึ่งเป็นจริงตลอดเรื่องพวกนี้เราถูกเตือนหมดแล้วพระราชกรณียกิจ ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมา ล้วนเกี่ยวกับดินน้ำลมไฟพระองค์ท่านทรงเตือนให้รักษาแผ่นดินเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตอย่างผาสุก

 ขณะนี้พระองค์ท่านประทับอยู่ที่ศิริราชจะให้ทรงงานอีกหรือ  อะไรก็จะให้พระเจ้าอยู่หัวทำที่ผ่านมาพระองค์ท่านทรงทำทุกวัน  ถ้าเสด็จฯ ออกมาได้  เชื่อว่าพระองค์ท่านคงเสด็จฯ ออกมาแล้ว ทรงไม่ประทับอยู่อย่างนั้นหรอก ทรงติดตามดูอยู่ทุกวัน  แทนที่จะมองไปที่พระองค์ท่าน  อย่าเอาภาระไปใส่พระองค์  เราจะต้องเลี้ยวกับมาดูว่า  เราแต่ละคนควรทำอย่างไร การรักษาแผ่นดินเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ใช่พระองค์อย่างเดียว”

“การปลูกฝังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสอนตลอดเวลาว่า ถ้าไม่มีประชาชนก็ไม่มีพวกเรา เราเกิดมาได้เป็นเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินคนเขาเคารพนับถือท่านสอนอย่างนี้เสมอ ข้าพเจ้าก็ทุ่มสุดตัวที่จะทำ สำหรับประเทศไทยอะไรที่ดีกับไทยก็ทำ อยากให้ทุกท่านคิดเหมือนกันว่าอะไรดีที่สุดสำหรับแผ่นดินแม่เราก็ควรทำถ้าไม่มีแผ่นดินไทยไทยล่มสลายจะไม่มีใครมีความสุขได้เลย”

พระดำรัสดังกล่าวของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี คงพอจะเตือนสติคนไทยได้บ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงเหนื่อยหนักมาตลอดพระชนม์ชีพแล้วถึงเวลาที่ยังที่ประชาชนอย่างพวกเราจะช่วยแบ่งเบาพระราชภาระอันหนักอึ้งด้วยการรู้รักสามัคคีกันเพื่อแผ่นดินไทย
 
ขอขอบคุณ ไทยรัฐ

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ในหลวง-ราชินี” ทรงมีพระราชสาส์นเสียพระหฤทัยไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์


เมื่อ 12 พ.ย.2556 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชสาส์นเสียพระหฤทัยไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยัง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรณีเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่น ไห่เยี่ยน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้เชิญผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ดังนี้

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรุงมะนิลา ข้าพเจ้าและพระราชินี เศร้าสลดใจอย่างยิ่ง ที่ได้ทราบข่าวเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ทั้งยังก่อความเสียหายอย่างหนักในประเทศของท่าน ข้าพเจ้าและพระราชินีขอแสดงความเสียใจด้วยใจจริงมายังท่าน และผู้ประสบความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ครองใจคน” หลากหลายเหตุผลที่คนไทยรัก “ในหลวง”


“…. ผมเคยอยู่มาแล้วหลายแผ่นดิน แต่ก็ไม่เคยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินใดที่คนทั้งเมืองเขาเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ให้ความเคารพบูชาอย่างสนิทสนมอย่างทุกวันนี้… พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน ๆ ทรงครองแผ่นดิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ทรง “ครองใจคน..”

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ในหลวง พัฒนา พระราชดำริ 

“เดิมพันของเรานั้นสูง”
ครั้งหนึ่ง เมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่”  ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบว่า “ความ จริงมันน่าท้อถอยหรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้าน คือเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ฉบัย 5 ธ.ค.32


“ราษฎรยังอยู่ได้”
ปีพุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไป เยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้ เวลานั้น ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็น อยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ “ราษฎรเขาเสี่ยง ภัยยิ่งกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ…  คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้าง ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้!”
ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง “พระบิดาประชาชน”

“ดอกไม้จากหัวใจ”
ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร บายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ  ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ

ในหลวง ยายแก่วันนั้น หลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น ดังเช่นครอบครัว จันท์นิตย์ ที่ลูกหลายช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดี อย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอยางอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม

เช่น เดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า “หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก”  พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปี เต็ม ๆ แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี
ข้อมูลจาก “แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์” ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย

“เขาเดินมาเป็นวัน ๆ”
… มีอยู่ครั้งนึง ข้าพเจ้าอายุ 18 ปี ได้ตามเสด็จ…ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ๆ ก็เสด็จฯ ประมาณ 9 โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรมาเรื่อยๆ ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหมนานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึกแดดเปรี้ยง หนังเท้านี้รู้สึกไหม้เชียว ก็เดินเข้าไปกระซิบท่านว่า พอหรือยัง ก็โดนกริ้ว

นี่เห็นไหมราษฎรเขาเดินมาเป็นวัน ๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว..
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534

“ต่อไปจะมีน้ำ”
บทความ “น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา” เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528 ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ “ในหลวง” กับ “น้ำ” ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528

ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า “ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้” แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอด ห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตามๆ กัน

“เก็บร่ม”
ในหลวง งานพัฒนาการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย้อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน

ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ “พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง” ตีพิมพ์ในหนังสือ “72 พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์” ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จได้เข้าไปกางร่มถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่าง ก็เปียกฝนโดยทั่วกัน  “จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชอครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น”

“สิ่งที่ทรงหวัง”
ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์ และได้กราบบังคมทูลถามว่า การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรบสั่งตอบว่า มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่ แต่ทรงสนพระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยลงหรือไม่


“รักถึงเพียงนี้” และ “จุดเทียนส่งเสด็จ”
บทความชื่อ “แผ่นดินร่มเย็นที่นราธิวาส” ตีพิมพ์ในนิตยสาร “สู่อนาคต” ฉบับพิเศษเนื่องในวันเฉลิมฯ ได้เล่าย้อนให้เราได้เห็นภาพความยากลำบากในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทางภาใต้เมื่อหลายปีก่อน โดยเฉพาะช่วงก่อนสร้างพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนราธิวาสชุกชุมไปด้วยโจรร้าย โจรปล้นสะดมและพวกโจรเรียกค่าไถ่ ถึงขนาดที่ในหลายๆ หมู่บ้านนั้น แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่กล้าย่างกรายเข้าไป

ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในทุกข์อันลึกล้ำของชาวบ้านที่ทั้งทุกข์เพราะยากจน และทุกข์เพราะภัยคุกคาม จึงได้เสด็จฯ ลงไปเยี่ยมเยียนเป็นขวัญกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์โดยไม่ทรงหวาดหวั่น บางวันถึงกับเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยปราศจากกำลังอารักขา และบางหมู่บ้านตำรวจเพิ่งถูกคนร้ายแย่งปืนแล้วยิ่งตายก่อเสด็จไปถึงเพียงไม่ กี่ชั่วโมง

ทรงรักราษฎรถึงเพียงนี้ จึงไม่แปลกที่หญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอรือเสาะจะเข้ามาเกาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร้องไห้แล้วบอกว่า “ไม่นึกเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไทยชาวพุทธ จะมารักมุสลิมได้ถึงขนาดนี้…”

บทความเดียวกันได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า ที่อีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเดียวกันนั้น โต๊ะครูได้พาพรรคพวกมายืนรอรับเสด็จแล้วพูดขึ้นว่า “..รายอกลับไปเถอะ ประไหมสุหรีกลับไปเถิด ประเดี๋ยวพวกโจรจะลงจากเขา…”  และเมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับที่มืดสนิทอย่างน่ากลัว โต๊ะครูกับชาวบ้านก็พากันมาจุดเทียนส่งเสด็จตลอดเส้นทางอันตราย ด้วยความห่วงใยใน “รายอ” และ “ประไหมสุหรี” หรือ พระราชาพระราชินีของพวกเขาอย่างสุดซึ้ง


“รถติดหล่มกับถนนสายนั้น”
หากย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว ชื่อของ “ลุงรวย” และ “บ้านห้วยมงคล” คือสองชื่อที่ลืมไม่ได้ เรื่องราวของ “ลุงรวย” เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2495 หรือมากกว่าห้าสิบปีล่วงมาแล้ว ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บ้านห้วย มงคลนี้อยู่ทั้ง “ใกล้และไกล” ตลาดหัวหิน ใกล้เพราะระยะทางที่ห่างกันนั้นไม่กี่กิโลเมตร แต่ไกลเพราะไม่มีถนน หากชาวบ้านจะขนพืชผักไปขายที่ตลาดต้องใช้เวลาเป็นวันๆ

ห่างไกลความเจริญถึงเพียงนี้ แต่วันหนึ่งกลับมีรถยนต์คันหนึ่งมาตกหล่มอยู่ที่หน้าบ้านลุงรวย เมื่อเห็นทหารตำรวจกว่าสิบนายระดมกำลังกันช่วยรถคันนั้นขึ้นจากหล่ม ลุงรวยผู้รวยน้ำใจสมชื่อก็กุลีกุจอออกไปช่วยทั้งงัด ทั้งดัน ทั้งฉุด จนที่สุดล้อรถก็หลุดจากหล่ม  เมื่อรถขึ้นจากหล่มแล้ว ลุงรวยจึงได้รู้ว่ารถคันที่ตัวทั้งฉุดทั้งดึงนั้นเป็นรถยนต์พระที่นั่งและคน ในรถนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ

แม้จะตื่นเต้นตกใจที่ได้เฝ้าฯ ในหลวงอย่างไม่คาดฝัน แต่ลุงรวยก็ยังจำได้ว่าวันนั้น “ในหลวง” มีรับสั่งถามลุงว่า “หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง..” ลุงได้กราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน จึงนอกจากจะโชคดีได้รับพระราชทาน “เงินก้นถุง” จำนวน 36 บาท ซึ่งลุงนำไปเก็บใส่หีบบูชาไว้เป็นสิริมงคลจนถึงทุกวันนี้แล้ว

อีกไม่นานหลังจากนั้น ลุงรวยก็ได้เห็นตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งเข้ามาช่วยกันไถดินที่บ้านห้วยมงคล และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ถนนห้วยมงคลที่ทำให้ชาวไร้ห้วยมงคลสามารถขนพืชผักออกมาขายที่ตลาดหัวหินได้ ภายในเวลาเพียง 20 นาที

 ในหลวง พัฒนา ความเป็นธรรม

“สามร้อยตุ่ม”
มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย รอบพระศอ พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงตางๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่อยู่ภายใต้แสงไฟฉายที่มีผ้ส่องถวายอยางไม่สะ ดุ้นสะเทือน อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบาๆ เท่านั้น

ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง “ยุง” ด้วยพระอารมณ์ขันว่า  “.. ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่ เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแตง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี..”


“น้ำท่วมครั้งนั้น”
ในหลวงกับงานพัฒนา 007วันที่ 7 พ.ย. 26 ขณะที่ชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งกำลังทนทุกข์หนักกับสภาพน้ำท่วมขัง น้อยคนที่จะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพยายามหาหนทางบรรเทาทุกข์ให้พวกเขาอยู่อย่างเงียบ ๆ

วันนั้นรถพระที่นั่งแวนแวคคอนเนียร์ แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ราวบ่ายสองโมงเศษ สู่ถนนศรีอยุธยาเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรี มุ่งสู่ถนนบางนาตราด ไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีการปิดถนน แม้แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่ทราบล่วงหน้า

รถยนต์พระที่นั่งชะลอเป็นระยะๆ เพื่อทรงตรวจดูระดับน้ำ จนเมื่อถึงคอสะพานสร้างใหม่ที่คลองลาดกระบัง จึงเสด็จลงจากรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทรงหารือกับเจ้าหน้าที่ที่ตามเสด็จ

ทรงฉายภาพด้วยพระองค์เอง ทรงกางแผนที่ทอดพระเนตรจุดต่างๆ จนถึงเวลาบ่ายคล้อย รถยนต์พระที่นั่งจึงแล่นกลับ เมื่อถึงสะพานคลองหนองบอน รถพระที่นั่งหยุดเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพบริเวณน้ำท่วม และทรงศึกษาแผนที่ร่องน้ำอีกครั้ง

ปรากฎว่าชาวบ้านทราบข่าวว่า “ในหลวงมาดูน้ำท่วม” ต่างก็พากันมาชมพระบารมีนับร้อยๆ คน จนทำให้การจราจรบนสะพานเกิดการติดขัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงโบกพระหัตถ์ให้รถขบวนเสด็จผ่านไปจนเป็น ที่เรียบร้อยด้วยพระองค์เอง!


“เชื่อมั่น”
เย็นย่ำแล้วแต่ขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังไม่หมดภารกิจ เมื่อรถวิ่งกลับมาทางถนนพัฒนาการ ทรงแวะฉายภาพบริเวณคลองตัน ทอดพรเนตรระดับน้ำแล้วทรงวกกลับมาที่คลองจิก

เวลานั้นฟ้ามืดแล้วเพราะเป็นเวลาจวนค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงนำไฟฉายส่วนพระองค์ออกมาส่องแผนที่ป้องกัน น้ำท่วมและแนวพนังกั้นน้ำอยู่เป็นเวลานาน กลายเป็นอีกภาพหนึ่งที่สร้างความตื้นตันใจแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ อย่างยิ่ง

ประชาชนคนหนึ่งในละแวกเคหะนคร 1 แขวงบางบอน เขตประเวศ บอกว่า “รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงห่วงใยทุกข์ของราษฎร เสด็จฯ มาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยพระองค์เอง พวกเราถึงจะทนทุกข์เพราะน้ำท่วมขังเน่ามาเป็นเวลานานก็เชื่อมั่นว่าพระองค์ ทรงช่วยพวกเราได้อย่างแน่นอน”


“ฉันทนได้”
ในหลวงกับงานพัฒนา 006ในเดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหักเฉียดโพรงประสาทฟัน พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกัน
เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า “จะใช้เวลานานเท่าใด” ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1-2 ชม.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน”

“คำสอนประโยคเดียว”
เมื่อนิตยสาร “สไตล์” ฉบับปี 2530 ได้ตั้งคำถามกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ถึง “คำสอน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ ดร.สุเมธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. ตอบว่า คำสอน ประโยคเดียวก็เกินพอนั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า “มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น”

“ดีใจที่สุด”
สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์มืดมน พระบรมฉายาลักษณ์ไม่เพียงเป็นรูปเคารพบูชา แต่ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความศรัทธาที่ช่วยให้มีแรงต่อสู้กับความทุกข์ต่อไปได้ ดังคุณยายละเมียด แสงเนียมวัย 72 ปี ชาวจังหวัดชุมพร ผู้ที่เผชิญกับอุทกภัยภาคใต้ในปี 2540 น้ำท่วมบ้านสูงมากจนอยู่อาศัยไม่ได้

“อยู่ๆ น้ำก็ท่วมมาเร็วมาก ยายต้องไปขออาศัยบ้านคนอื่นเขาอยู่ ต่อมาก็ขึ้นไปอยู่ชั้นบน ออกไปไหนไม่ได้เลย”  … พอดีที่บ้านนี้เขาปลูกมะละกอ ต้นมันสูงมาถึงหน้าต่างเราก็เอื้อมถึงพอดี เลยได้กินข้าวกับมะละกอ ก็กินมาสามวัน มาเมื่อวานผู้ใหญ่บ้านมาบอก มูลนิธิในหลวงจะเอาของมาแจกยายคิดเลยว่า ไม่อดตายแล้ว ทุกครั้งที่คนไทยเดือดร้อน ในหลวงจะให้ความช่วยเหลือทุกครั้ง

ของที่ยายได้มา ที่ดีใจที่สุดคือมีรูปของท่านมาด้วย ที่บ้านเสียหายหมดแล้ว ยายจะเอารูปท่านไว้บูชา ยายพูดแล้วก็ก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจงรักสุดหัวใจ

“ทุกข์บรรเทา”
“การประทับอยู่ในบ้านเมือง” ดังพระราชดำรัสนั้น ในเวลาต่อมาก็เป็นที่รู้กันว่ามิได้หมายถึงการประทับอยู่ในเมืองหลวงเท่า นั้น แต่ยังเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์จนแทบจะทั่วทุกตารางนิ้วที่พระบาทจะย่างไปถึงได้  ทรงวิทย์ แก้วศรี ผู้เรียบเรียงบทความ “บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ” บันทึกไว้ว่า

วันที่ 13 ก.ย 2497 ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 26 พรรษา และทรงครองราชย์เป็นปีที่ 8 ปรากฎว่าเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยครั้ง ร้ายแรงขึ้นที่อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรชาวบ้านโป่งผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทรงทอดพระเนตรบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และพระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์

ทุกข์ในยามยากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยเพลิงนั้นมากล้น แต่เมื่อได้รู้ว่ายังมีใครสักคนคอยเป็นกำลังใจ ทุกข์สาหัสแค่ไหนก็ยังพอมีแรงกายลุกขึ้นสู้ต่อได้ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบภัยในครั้งนั้น นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในรัชกาล


“141 ตัน”
เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ

ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของ ล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของหนุ่ม สาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา

จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร นั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อย หนังสือพมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3 ชม. เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน

ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น “ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ” ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า “ไม่ได้พระราชทานเฉยๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา โบหลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อย บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก”
“สุขเป็นปี ๆ”
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้นการพระราชทานปริญญาบัตรในระดับป.ตรี คงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่า พระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย ที่สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จป.ตรี นั้นสำคัญ เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนั้น “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง..”


“พระมหากษัตริย์”
เมื่อมีผู้สื่อข่าว bbc ขอพระราชทานสัมภาษณ์เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Soul of Nation ในปี 2522 โดยได้กราบบังคมทูลถามถึงพระราชทัศนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์ได้พระราชทานคำตอบว่า

การที่จะอธิบายว่าพระมหากษัตริย์ คืออะไรนั้น ดูเป็นปัญหาที่ยากพอสมควร โดยเฉพาะในกรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์ แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้ว ดูจะห่างไกลจากหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์ ถ้าถามว่า ข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต คำตอบก็คือ ไม่มี เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา

พ่อมองเห็นเราเสมอ


เมื่อปี 2547 เด็กหญิงกตัญญูผู้หนึ่ง ได้เขียนจดหมายถวายฎีกาถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หลังจากที่เธอคิดว่าตนเองคงหมดที่พึ่งแล้ว เนื้อหาในจดหมายได้ขอให้พระองค์ท่านช่วยเหลือมารดาของเธอที่ป่วยเป็นอัมพาตมานาน ต้องเผชิญชะตากรรมหลังจากพ่อเสียชีวิตเมื่อหลายปีก่อน

ขณะที่ฐานะครอบครัวยากจน ไม่มีบ้านอยู่อาศัยต้องใช้ยุ้งข้าวของเพื่อนบ้านเป็นที่พักพิง เด็กหญิงผู้นี้เธอมีชื่อว่ามาลัยรัตน์ มั่นสัมฤทธิ์ หรือน้องต้น ราษฎรผู้จงรักภักดีแห่งตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร

ด้วยวัยที่ 12 ปี ในขณะนั้น มาลัยรัตน์ได้เขียนจดหมายถวายฎีกาด้วยกระดาษแผ่นหนึ่ง กระดาษที่ไม่มีตราครุฑ ไม่มีตราประทับใดๆ ไม่มีแม้กระทั่งซองบรรจุ หรือแสตมป์สักดวง จะมีก็แต่ความหวังริบหรี่กลางความมืดอันห่างไกล

“เขียนที่ บ้านเลขที่ 130 หมู่ 6 ต.หัวดง อ.เมือง จ.พิจิตร ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2547 เรื่อง ขอพระราชทานความเมตตาธรรม ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ขอบรมวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ หม่อมฉัน เด็กหญิงมาลัยรัตน์ มั่นสัมฤทธิ์ อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 130 หมู่ 6 ต.หัวดง อ.เมือง จ.พิจิตร

แม่ชื่อนางละเมียด มั่นสัมฤทธิ์ เป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ส่วนพ่อตายตั้งแต่หนูอายุได้ 1 ขวบ ขณะนี้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดธงไทยยาราม อยู่ชั้น ม.1 ต.ห้วยเกตุ อ.เมือง จ.พิจิตร ยากจนมาก ต้องอาศัยเพื่อนบ้านให้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม หนูหมดที่พึ่งขอพึ่งพระบารมีพระองค์ท่านเป็นที่สุดท้ายของชีวิต ทั้งเรื่องการศึกษา อาหาร

หนูอยากเรียนสูงๆ แต่ก็ไม่มีที่พึ่ง จึงขอบารมีพระองค์ท่านเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของหนูและแม่ ทุกวันนี้อาศัยยุ้งข้าวเพื่อนบ้านอยู่ ขอกราบเบื้องยุคลบาทคุณพ่อหลวงมา ณ โอกาสนี้”

เธอได้ฝากจดหมายฉบับนั้นไปกับชายคนหนึ่งที่กำลังจะเข้ากรุงเทพฯ ด้วยความหวังว่าจะให้เขาช่วยนำความฝันครั้งนี้ให้ถึงพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่แล้วก็เหมือนปาฏิหาริย์ เมื่อในวันหนึ่งทางสำนักพระราชวังได้มีจดหมายตอบกลับมาถึงมาลัยรัตน์ว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรู้ถึงความทุกข์ยากของเธอแล้ว และทรงยินดีที่จะรับเธอและแม่ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมทั้งจะส่งเสียให้เธอได้เล่าเรียน เพื่อให้สมกับความดีและความกตัญญู ยังความปลาบปลื้มให้แก่เด็กหญิงมาลัยรัตน์และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

ณ วันนี้ น้องต้นหรือเด็กหญิงมาลัยรัตน์ และ แม่ของเธอได้มีบ้าน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนั้น แต่ถึงกระนั้นมาลัยรัตน์ก็ยังคงเขียนจดหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนา วันเฉลิมพระชนมพรรษา

และวันที่พระองค์ทรงพระประชวร เธอได้เขียนจดหมายทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงหายพระประชวรโดยเร็ว เพื่อกลับมาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับคนไทยทั้งประเทศอีกครั้ง

ที่มา:จากหนังสือแผ่นดินของพ่อ

มูลนิธิสายใจไทยเพื่อคนพิการ


ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ด้วยวันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 เป็นวันคนพิการแห่งชาติ ผมขอนำเรียนทุกท่านเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงมีต่อคนพิการในสังคม

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ โดยได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลจากมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ดังนี้

ขอเริ่มต้นจากการอัญเชิญพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า

“…งานช่วยเหลือคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็นผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเองถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถที่ปฏิบัติงานอะไร เพื่อชีวิตและเศรษฐกิจของครอบครัวจะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัวหนักแก่ส่วนรวมฉะนั้นนโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อจะทำให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม…”


เพื่อสนองแนวพระราชดำริและเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทจากพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดูแลคนพิการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดให้วันเสาร์สัปดาห์ที่สองในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันคนพิการ เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้พบปะกัน และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนแสดงความสามารถในด้านต่างๆ และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการบำบัด รักษา การป้องกันและฟื้นฟู สมรรถภาพให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงศักยภาพ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของคนพิการว่าสามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

ทั้งนี้ จากการศึกษาพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพบว่าทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคคลกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก โดยคนพิการนั้น มีความหมายครอบคลุมถึง กลุ่มบุคคลที่มีร่างกายผิดปกติ ได้แก่ คนตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ ขาด้วน แขนขาด เป็นต้น  และกลุ่มบุคคลที่พิการเนื่องมาจากการสู้รบเพื่อป้องกันประเทศชาติ ได้แก่ ทหาร และราษฎรอาสาสมัคร เป็นต้น

ในการดูแลบุคคลกลุ่มหลังที่พิการเนื่องมาจากการสู้รับเพื่อป้องกันประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหารที่บาดเจ็บในสนามรบที่โรงพยาบาล และเมื่อทหารและตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ ก็ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ข้าราชบริพารฝ่ายในผลัดเปลี่ยนกันไปเยี่ยมเยียนดูแล ผู้ที่หายป่วยแล้วแต่พิการ ก็ทรงติดตามดูแลช่วยเหลือให้มีอาชีพ


ดังจะเห็นได้จากพระราชดำริให้ตั้ง มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นวันก่อตั้งมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์นี้ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้ทรงมีพระราชดำรัสในวันคล้ายวันพระราชสมภพและวันก่อตั้งมูลนิธิสายใจไทยฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2518 ความตอนหนึ่งว่า

“…ในวันที่ 2 เมษายน 2518 อันเป็นวันเกิดของข้าพเจ้า แทนที่จะทำบุญเลี้ยงพระเช่นเคย ข้าพเจ้าได้รวบรวมเงินเพื่อที่จะช่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่บาดเจ็บพิการ และเสียชีวิตจากการต่อสู้ป้องกัน ประเทศชาติ… 2 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันสายใจไทย ข้าพเจ้าจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันบริจาคสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย ฯ นี้ โดยส่งเป็นเงินได้ที่มูลนิธิสายใจไทย ฯ…”

มูลนิธิสายใจไทยฯ มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อสงเคราะห์คนพิการอันเนื่องมาจากการสู้รบและดูแลครอบครัวคนพิการเหล่านั้น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินทุนแรกเริ่มจำนวน 50,000 บาท รวมกับเงินส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกจำนวน 50,000  บาท และทรงมอบให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธานของมูลนิธิสายใจไทยฯ

นอกจากจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทหาร ตำรวจ ราษฎรอาสาสมัครที่เสียชีวิต บาดเจ็บและพิการแล้ว มูลนิธิสายใจไทยฯ ยังฝึกสอนวิชาชีพ ให้แก่ทหารตำรวจและอาสาสมัครที่พิการ และนำผลงานออกจำหน่ายเป็นรายได้ให้แก่ผู้พิการเหล่านี้ด้วย โดยมูลนิธิสายใจไทยฯ ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ ที่ทำการของมูลนิธิฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์ประธานของมูลนิธิสายใจไทยฯ ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับคุณภาพการผลิตสินค้าของมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551  ความตอนหนึ่งว่า

“…ขอให้ทุกคนได้รักษาฝีมืออย่างนี้เอาไว้ เพื่อที่จะให้คนที่ซื้อของเรา เขาซื้อด้วยคุณภาพและฝีมือ ไม่ใช่ซื้อเพราะเป็นของมูลนิธิสายใจไทยฯ หรือเพราะความสงสาร สำหรับคนที่มาใหม่ ขอให้ดูรุ่นเก่าๆ ที่ดี เอาไว้เป็นตัวอย่าง…”


สินค้าของมูลนิธิสายใจไทยฯ ที่จัดจำหน่าย ประกอบด้วย สินค้าประเภทต่างๆ ที่หลากหลาย ดังนี้

 ประเภทแรก คือ งานเครื่องหนัง ได้แก่ เครื่องหนังแท้ เครื่องหนังเทียม เครื่องหนังประกอบผ้าทอมือ ขีต ผ้าไหม เครื่องสาน เย็บด้วยฝีมือประณีตสวยงาม

 ประเภทที่สอง คือ งานทำลวดลายบนแก้ว โดยมีแก้วรูปทรงต่างๆ ที่สลักลวดลายอย่างสวยงาม แพรวพราววิจิตร ตามลักษณะรูปทรง เช่น แจกัน โถ เหยือกจาน ของที่ระลึกต่างๆ

 ประเภทที่สาม คือ งานพู่กันระบายสี ได้แก่ งานระบายสีบนกระเบื้องเคลือบที่ต้องใช้เตาเผา และระบายสีบนวัสดุอื่นๆ เช่น ไม้ หนัง แก้ว โลหะ ดินเผาเป็นงานที่มีลวดลายสีสันสวยงาม

 ประเภทที่สี่ คือ งานไม้ ได้แก่ งานที่นำวัตถุดิบจากไม้ มาทำเป็นส่วนประกอบในชิ้นงานอื่นๆ เช่น ถาด โครงกระเป๋า และหูกระเป๋า เป็นต้น

ประเภทที่ห้า คือ งานตัดเย็บ โดยมีการประดิษฐ์ผ้าห่ม รับทำงานตัดเย็บต่างๆ สินค้าพิเศษที่มูลนิธิฯ จัดทำ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานฝึกอาชีพ เช่น หมอนอิงภาพทอพิเศษ

ประเภทที่หก คือ งานผลิตภัณฑ์การเกษตร เช่น ผักไร้ดิน ดอกไม้ เป็นต้นนอกจากนี้ มูลนิธิสายใจไทยฯ ยังได้จัดทำสินค้าอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานฝึกอาชีพ เช่น บัตร ส.ค.ส. บัตรเอนกประสงค์ การจัดสินค้าตามเทศกาลต่างๆ อีกด้วย

ท่านผู้สนใจสามารถบริจาค เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของมูลนิธิสายใจไทยฯ ได้ที่ทำการของมูลนิธิฯ สาขาต่างๆ ได้แก่ ที่เขตพญาไท ติดต่อได้ที่  306/1 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400

หรือติดต่อที่หมายเลข 0 2354 5996-7 และที่เขตบางนา ติดต่อได้ที่ มูลนิธิสายใจไทยฯ เลขที่ 265 ถนนสรรพาวุธ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

หรือติดต่อที่หมายเลข 0 2183 5115 และที่ศูนย์ราชการ ติดต่อได้ที่ อาคาร B ชั้น 1 ฝั่ง กกต. ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ หรือติดต่อได้ที่หมายเลข 0 2143 9543

พระเกียรติยศแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีผู้งามที่สุดในโลก
ครั้งหนึ่งในปี 2503 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนประเทศโปรตุเกส หนังสือพิมพ์ที่นั่นพาดหัวตัวใหญ่ว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีผู้งามที่สุดในโลก” ความข้อนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสายตาพสกนิกรทั่วโลก แต่ความงามนี้เป็นเพียงความงดงามภายนอก


และความงามภายนอกไม่อาจเทียบเท่าความงามภายในที่ทรงสั่งสมมาตั้งแต่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจเคียงข้างพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นความงามที่โลกร่ำลือ และกราบคารวะน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ เป็นความงามที่เพียบพร้อม และยังไม่อาจมีผู้ใดเสมอเหมือน ดังจะดูได้จากรางวัลต่างๆที่ทรงได้รับจากสถาบันอันทรงเกียรติทั้งในและนอกประเทศ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประเทศชาติ ศาสนา และปวงชน เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมาโดยตลอด เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระสวามีในการอุปถัมภ์บำรุงพสกนิกร ให้มีความอยู่ดีกินดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีการศึกษา มีความมั่นใจในการประกอบอาชีพการงาน มีความรักชาติบ้านเมือง และนิยมในศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ


ทั้งยังทรงดูแลไปถึงสภาพแวดล้อม และอนุรักษ์สรรพสิ่ง พระมหากรุณาธิคุณนี้ไม่เลือกเพศ ผิวพรรณ และชาติชั้นวรรณะใดๆ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และด้วยน้ำพระทัยอันเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านเป็นที่ประจักษ์ต่อคนไทยทั้งชาติ ทั้งยังเลื่องลือไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย

พระเกียรติคุณแห่งพระราชกรณียกิจอเนกประการนี้ เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและนอกประเทศทั่วโลก จึงมีผู้ขอทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาและรางวัลเกียรติยศเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณเป็นอันมาก


เหรียญเซเรส (Ceres Medal) เป็นรางวัลที่ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มอบแด่สุภาพสตรีที่มีส่วนช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของสตรีทั้งปวง

ดังคำจารึกที่ด้านหลังเหรียญเซเรสมีว่า “TO GIVE WITHOUT DISCRIMINATION” หรือในภาษาไทยว่า “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง” อันเป็นคติประจำพระทัยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

โดยทางผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเซเรส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2522 แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อันเนื่องมาจากการที่ทรงเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล และทรงพยายามที่จะยกระดับเศรษฐกิจกับสวัสดิการทางสังคม

ดังความตอนหนึ่งในคำประกาศสดุดีว่า “โดยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย มีพระราชหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม พระราชทานพระมหากรุณาอนุเคราะห์เกื้อกูลพสกนิกรชาวไทยทั้งมวลอยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขัดสนจนยากในท้องถิ่นชนบท ดังเห็นได้จากการที่ทรงทุ่มเทอุทิศทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกำลังพระวรกาย หรือกำลังทรัพย์ โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระองค์เองเลยแม้แต่น้อย พระราชทานความร่วมมือแก่องค์การสังคมสงเคราะห์กับองค์การกุศลต่างๆ อันมุ่งที่จะหาทางบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนที่ยากจนทั้งหลาย โดยจัดหาอาหารเลี้ยงดูผู้อดอยากขาดแคลน ตลอดจนแสวงหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่มีอันต้องตกระกำลำบาก รวมทั้งบรรดาเด็กกำพร้าที่ไร้ญาติขาดมิตรทั้งหลายทั้งปวง”


นักอนุรักษ์ดีเด่นด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้นทรงงานร่วมกับ WWF ประเทศไทยมายาวนาน MR. Russel Train ประธานกรรมการบริหารของกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งโลก จึงทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเทิดพระเกียรติ ในวโรกาสที่ทรงได้รับเลือกเป็นนักอนุรักษ์ดีเด่นด้านอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2529 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน


ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้กับองค์กรดังกล่าว ทั้งยังทรงริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อหาทุนช่วย WWF นอกจากนี้ทาง WWF ยังได้มีส่วนช่วยสนับสนุนโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่ม นั่นคือโครงการอนุรักษ์ช้าง และโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลบนเกาะมันใน โดยมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเป็นผู้นำที่ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และทรงพยายามที่จะทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น ทั้งสำหรับมนุษย์และธรรมชาติ


สมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอน

“เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศในพระมหากรุณาธิคุณ พระวิริยะอุตสาหะ และพระเกียรติคุณด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและสังคมที่พระราชทานแก่พสกนิกร เพื่อช่วยลดปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วย และส่งเสริมสุขภาพอนามัยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในขบวนเสด็จ ที่ให้บริการแก่ประชาชนที่ยากจนเป็นประโยชน์แก่ประชาชนเอง และสร้างความจรรโลงใจให้อายุรแพทย์และแพทย์ทั้งหลายสนใจที่จะปฏิบัติงานในชนบทมากขึ้นกว่าเดิม”


นี่คือส่วนหนึ่งของข้อความในประกาศพระเกียรติคุณที่ทางราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอน (The Royal College of Physician of London) ทูลเกล้าฯ ถวายพร้อมกับสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ (The Honorary Fellowship of the Royal College of Physician of London) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

เหรียญบุโรพุทโธทองคำ
เหรียญบุโรพุทโธทองคำ (Unesco Borobudur Gold Medal) นั้น เป็นเหรียญที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Unesco) สร้างขึ้นเมื่อปี 2519 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการผดุงรักษาไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของประชาคมโลก


วันที่ 30 มกราคม 2535 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิสเตอร์เฟเดอริโก้ มายอร์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Unesco) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญบุโรพุทโธทองคำ ในงานมรดกสิ่งทอของเอเชีย ดังความในคำประกาศสดุดีตอนหนึ่งว่า

“พระราชกรณียกิจของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่ทรงมีต่องานศิลปหัตถกรรมนั้น นอกจากจะเป็นการฟื้นชีวิตแก่ผู้ยากไร้แล้ว ยังช่วยให้ช่างทั้งหลายมีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งหากปราศจากพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว งานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ก็คงจะสูญสิ้นไป จึงนับได้ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พัฒนางานศิลปาชีพอย่างสมบูรณ์ ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติที่ได้ดำเนินมาทั่วโลกคือ การส่งเสริมพัฒนาการของประเทศตามแนววัฒนธรรม เป้าหมายที่มีร่วมกันคือ การจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณประโยชน์แก่มวลชน”


UNICEF Special Recognition Award

เหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขององค์การกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ตั้งอยู่บนฐานไม้ซึ่งสลักคำสดุดีไว้ว่า

“To Her Majesty Queen Sirikit In Recognition of Her Dedication and Profound Commitments to Improving the Lives of Mothers and Children in Thailand”

องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2535 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ระสานงานและดำเนินการจัดถวาย

ความในคำสดุดีพระเกียรติ ซึ่งมิสซิสคาริน ชัมพู รองผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าวตอนหนึ่งว่า “ในช่วงเวลา 42 ปี นับแต่ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรไทย เด็กและแม่นับล้านๆคน ได้รับประโยชน์จากบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ อาทิเช่น บริการสาธารณสุข การศึกษาและการส่งเสริมอาชีพ โดยผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิหรือโครงการทั้งหลายภายใต้พระบรมราชินูปถัมภ์ และรวมทั้งที่เป็นผลจากกระแสพระราชเสาวนีย์และพระราชดำริต่างๆด้วย”

รางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ
ในวันเดียวกันนั้นเองคือ วันที่ 2 สิงหาคม 2535 กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) ก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร อันเป็นรางวัลสากลที่ยูนิเฟมมอบแด่ผู้นำที่แสดงให้ประจักษ์ชัดถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะส่งเสริมบทบาทของสตรีละประกอบกิจกรรมด้านนี้อย่างเป็นเลิศ


มิสซิส Sharon Capling – Alakya ผู้อำนวยการกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล โดยมีข้อความในคำประกาศพระเกียรติคุณตอนหนึ่งว่า

“ความห่วงใยของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททั้งในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและในด้านสิ่งแวดล้อม ได้ช่วยให้สตรีไทยได้ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น สตรีเป็นผู้พิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ การที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเข้าพระราชหฤทัย และทรงตระหนักดีถึงความสำคัญของบทบาทสตรีในด้านนี้ ได้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้ชนในชาติได้รับรู้ถึงบทบาทของสตรีไทยที่มีส่วนส่งเสริมพัฒนาการของประเทศ”

บทความจาก นิตยสาร Hello

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความเป็นอยู่ของราษฎร คือ อุดมการณ์ในพระราชหฤทัย..ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 100 – 200 มาตรา


80ปี ก่อนตอนคนปล้นชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ยังไม่มีสำนึกว่า…ทำผิดมหันต์แก่ราษฎรและชาติบ้านเมือง..(วันนั้น)

คำเตือนวันนั้นว่ายังไมถึงเวลาถูกประณามว่าเป็นคำเรียกร้องของผู้สูญเสียอำนาจจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช…

กลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเรียนรู้จากเมืองนอกเมืองนาจนเจนจบศาสตร์แห่งการปกครองแล้ว..จนมองข้ามความปรารถนาดีของคนที่อยู่กับการปกครองมา 200 ปี

มันน่าสลดใจ…เสียใจจริงๆ….ผมอยากร้องตะโกนอีกครั้งว่า….

…พระมหากษัตริย์ของไทยเราทุกพระองค์ทรงรู้จักหน้าที่ของพระองค์เองดีว่าไม่เคยทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดและทรงเข้าพระทัย (ใจ) ในหน้าที่ของพระองค์ว่าคือดูแลและรักษาสมดุลของผู้มีอำนาจในสมัยก่อนอาทิเจ้าพระยาพระยา………ให้ทุกคนปฏิบัติต่อราษฎรของพระองค์อย่างดีให้ราษฎรมีความผาสุก

พระมหากษัตริย์อยู่กับพระราชอำนาจทรงเรียนรู้มาอย่างยาวนานว่าปัญหาของอำนาจคืออะไรคุณค่าของอำนาจคืออะไรและสิ่งควบคุมอำนาจได้คืออะไร…สายพระเนตรของพระมหากษัตริย์เล็งเห็นไกลไปเกือบร้อยปี

…ไม่ใช่เป็นกฤษดาภินิหารแต่คือประสบการณ์ของจริงที่พระองค์ทรงแลกมาด้วยเลือดเนื้อของบรรพบุรุษไทยในอดีตตลอด 700 ปีที่ผ่านมา…

ถึงวันนี้ผู้คนบางคนได้เสวยอำนาจใช้อำนาจและเริ่มหลงกับอำนาจถึงขั้นจะเหลิงอำนาจแล้ว..ผมอยากบอกดังๆถือเป็นการเตือนสติก่อนบ้านเมืองจะล่มจมไปมากกว่านี้ในความเหิมเกริมของนักการเมืองถึงขนาด“ขาดสติทำเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งอาจเป็นการเสี่ยงต่อความเสื่อมของพระมหากษัตริย์!”เรื่องอะไรพวกเราก็รู้ๆอยู่อย่าคิดว่าขอแค่ชนะในเกมชิงอำนาจการเมืองของท่านทั้งหลายเท่านั้นก็พอ

..ผมอยากบอกดังๆถือเป็นการเตือนสติก่อนบ้างเมืองจะล่มจม…
หยุดทะเลาะกัน..นับแต่…เดี๋ยวนี้เสียเถิด…

ความเป็นอยู่ของราษฎรคืออุดมการณ์การปกครองในพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 100 - 200 มาตรา

ความอยู่ดีมีสุขของราษฎรคือความมั่นคงของชาติยิ่งกว่าที่มาส.ส.ส.ว.องค์กรอิสระหรือกติกาการเลือกตั้งที่เล่นเป็นลิเกให้นายโรงสนุกสนานให้คนบ้าใบเต้นแร้งเต้นกาเต้นกันอยู่ขณะนี้

น้ำท่วมกว่า 30 จังหวัดครอบครัวไทยนับหมื่นๆครอบครัวตกทุกข์ได้ยากจากน้ำท่วมและกำลังจะมีพายุใหญ่อีกระลอกมา…นี่คือปัญหาสำคัญของชาติของประเทศไทย

สหกรณ์ครูที่ล่มไปนานหลายปี(ก่อนจะล่มอีก๖๐กว่าสหกรณ์)ก่อความเดือดร้อนแก่ครอบครัวครูนับหมื่น(อีกนับแสนในไม่ช้า)คือปัญหาสำคัญของชาติและของประเทศไทย

ราษฎรยากจนขาดหมอขาดยาขาดอาหารขาดความมั่นคงในอาชีพที่อยู่และเครื่องนุ่งห่มนี่คือปัญหาของชาติของประเทศไทย

ขุนเขาป่าไม้น้ำมันแม่น้ำลำธารทะเลทุกตารางนิ้วและทรัพยากรทั้งหลายที่อยู่บนดินใต้ดินและบนฟ้าคือสมบัติของลูกหลานทุกคนแต่ถูกโกงกินเป็นของส่วนตัวและพวกพ้องคือปัญหาของชาติของประเทศไทย
กฎหมายตามอำเภอใจศีลธรรมถูกมองข้ามความถูก-ผิดถูกละเลยคือต้นเหตุชาติฉิบหาย

ผมเชื่อมั่นเอาศีรษะเป็นประกันได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงแม้ตอนนี้ทรงพระประชวรทรงพระชนมายุมากแต่ในพระราชหฤทัยทรงเป็นห่วงประชาชนอยู่ตลอดเวลาว่าประชาชนของพระองค์ท่านตอนนี้ตกทุกข์ได้ยากจากน้ำท่วมบ้านเรือนของเขาและความแร้นแค้นในชีวิตอย่างไรจะทรงหาวิธีการแก้ไขได้อย่างไร

พระองค์เคยมีพระราชดำริที่ทรงเคยให้ไว้เกี่ยวกับวาตภัยอุทกภัยน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็มีแต่รับทราบพะยะคะ,พะยะครับหาได้ตอบสนองตามพระราชดำริที่พระองค์ทรงแนะถึงจะทำกันบ้างก็น้อยนิด
แต่ถ้ามีผลประโยชน์ก้อนโตเข้ามาเกี่ยวข้องก็รีบจะทำกันไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่เมื่อประชาชนรู้ทันลุกขึ้นมาคัดค้านหนักๆเข้าก็มาโบ้ย(โยน)เข้าใส่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นโครงของพระองค์ท่านเพื่อเอาพระบารมีมาปกป้องตัวเอง

รัฐธรรมนูญที่อ้างกันว่าเป็นกฎหมายสูงสุดนั้นพวกเราฉีกทิ้งกันจนนับไม่ถ้วนแล้ว

ถึงวันนี้ผู้คนได้เสวยอำนาจใช้อำนาจและเริ่มหลงกับอำนาจถึงขั้นจะเหลิงอำนาจแล้วท่านเหล่านั้นควรจะรู้ตัวเองว่าควรทำหรือควรเลิกทำอะไรได้แล้ว…ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ข้อความที่เขียนไว้หรือไม่เขียนไว้..หรือมีมติรับรองหรือไม่รับรองหรอก…มันอยู่ที่“สันดาน”คนต่างหาก

พวกเรายอมรับความจริงเถิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกปล้นพระราชอำนาจไปนานหนักหนาแล้วทุกวันนี้เราหยิบยืมมาเพื่อสร้างภาพให้การเมืองดูว่าถูกต้องเท่านั้นทั้งที่นักการเมืองไม่เคยรับผิดชอบต่อปัญหาของชาติที่กล่าวมาข้างต้นเลยสักครั้ง

ไม่เคยยอมให้ราษฎรเป็นเจ้าของประเทศจริงๆไม่ยอมรับสิทธิเสรีภาพไม่เคยกระจายการปกครองอย่างแท้จริง(ไม่ต้องพูดถึงที่เป็นหน้าที่อันควรทำของผู้ปกครองอีกนับไม่ถ้วน)

80ปี ไม่เคยแก้ไขทุกข์ยากราษฎรอย่างจริงจังกันเลย..

บัดนี้สถาบันกษัตริย์เหลือเพียงสิ่งเดียวคือพระราชสิทธิสิทธิส่วนตัวที่จะทำอะไรของตนเองบ้างที่ทำแล้วคนอื่นยอมรับด้วยความเคารพต่อกันเยี่ยงมนุษย์

แต่ถ้าจะบังคับให้พระองค์ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องแล้วเกิดไม่ถูกใจรัฐบาลและนักวิชาการและประชาชนที่ชั่วๆบางคนก็ไม่ต้องก่นด่าและอย่าขู่จะล้างโคตรกัน

ในลัทธิการปกครองแบบรัฐธรรมนูญที่เทิดทูนบูชากันราวเทพเจ้านั้นเหลือพื้นที่ไว้ให้พระองค์สักนิดจะได้ไหม????หลายคนอาจไม่เคารพพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ(เพราะมีบางคนพูดว่านายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งรัฐบ้างแล้ว…)ก็ขอให้เคารพต่อพระองค์ในพระราชสิทธิ์เถิด

เชื่อผมเถอะ…ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชสิทธิ์แล้วมีคำตอบแก่รัฐสภาว่า…

“ท่านทั้งหลายเลิกทะเลาะกันได้ไหมพวกท่าน(เธอ)เห็นว่าปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญของพวกท่าน(เธอ)มันยิ่งใหญ่กว่าความเดือดร้อนของราษฎรหรือ…รัฐธรรมนูญของพวกท่านท่าน(เธอ)จะแก้หรือไม่ยังรอได้ราษฎรยังไม่ตายแต่น้ำท่วมและอุทกภัยราษฎรตายตายจริงขอให้เอาจริงกับปัญหาของราษฎรก่อนได้ไหม

ผมอยากรู้จริงๆว่าพวกคุณจะอายไหม…………
……………………………………..
ที่มา:เฟซบุ๊คพลตรีม.จ.จุลเจิมยุคลhttps://www.facebook.com/chulcherm.yugala

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙