แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเทศไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเทศไทย แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระมหากษัตริย์ กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย


วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย หากจะขยายความคำว่าเอกลักษณ์ของชาติคือ ลักษณะของสิ่งทั้งหลาย หรือพฤติกรรมทั้งมวลในชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับฝังลึกอยู่ในกระบวนการชีวิตและจิตใจของคนไทย โดยมีวัฒนธรรมประจำชาติเป็นสิ่งพื้นฐาน เอกลักษณ์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ของชาติมีองค์หลักคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศ กลไกในการปกครอง ตลอดจนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยเหตุผลที่ว่า

1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์ เพราะทรงมีพระราชตระกูลสูง ย่อมทำให้เกิดความไว้วางใจและศรัทธาต่อพระองค์ สมคำกล่าวที่ว่า “พระราชาเป็นสง่าแห่งแว่นแคว้น”

2. เหตุที่ทรงรับตำแหน่ง เพราะสืบราชสันตติวงศ์ ไม่ใช่เพราะคะแนนเสียงจากผู้ใด จึงทำให้ทรงเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง มีผลให้ทรงประสานผลประโยชน์ของชาติลุล่วงได้ด้วยดี

3. เพราะทรงเป็นประมุขของประเทศอย่างถาวร ทำให้ทรงมีโอกาสสะสมประสบการณ์ มีพระปรีชาสามารถ เข้าพระราชหฤทัยถึงปัญหาของการบริหารราชการ

4. ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติและความสามัคคีของคนในชาติ ในขณะที่นักการเมืองอื่นไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อมีการเมืองเข้าเกี่ยวข้องก็อาจเกิดความขัดแย้งกันได้

โดย มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดพระราชอำนาจที่จำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศไทย พระองค์ก็ไม่จำเป็นต้องทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายที่มิได้กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภาระหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

ถึงกระนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับทรงนิยามพระราชกรณียกิจของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ไทยคือ การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรทุกหมู่เหล่าในแผ่นดินไทย พระองค์ทรงเลือกที่จะเป็นพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพสกนิกรของพระองค์ตลอดเวลา

จะเห็นได้ว่า คนไทยกับพระมหากษัตริย์นั้นคู่กันมาตั้งแต่เป็นชาติไทยแล้ว ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้ดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้แต่ให้ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ดังพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 บัญญัติว่า “มาตรา 3 กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามกษัตริย์”

เมื่อรัฐธรรมนูญตกลงในหลักการที่จะให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติแล้ว ก็จำเป็นต้องถวายความเคารพยกย่องพระราชฐานะ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 จึงบัญญัติว่า “มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และกำหนดโดยปริยายว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอยู่เหนือการเมือง กล่าวคือ ต้องทรงวางพระองค์เป็นกลาง ไม่เข้ากับพรรคการเมืองใด การปรึกษาราชการแผ่นดินต้องทรงกระทำกับคณะรัฐมนตรีหรือคณะองคมนตรีเท่านั้น และจะต้องทรงปลีกพระองค์จากปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมือง คือไม่ทรงวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ทางการเมืองในที่สาธารณะ ในทางกลับกัน ย่อมถือเป็นมารยาททางการเมืองว่านักการ เมืองจะไม่อ้างถึงพระมหากษัตริย์ว่าทรงพระกรุณาแก่ตนเป็นพิเศษอย่างใดรวม ทั้งไม่นำพระราชกระแสพระราชดำริทางการเมืองออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยเด็ดขาด

พระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยด้านนิติบัญญัติทางรัฐสภา ดังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 บัญญัติว่า “มาตรา 93 ร่างบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้”

อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจที่จะยับยั้งร่างพระราชบัญญัติใดที่ไม่ทรงเห็นชอบด้วย ด้วยการพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือทรงเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ ในกรณีที่พระราชทานร่างพระราชบัญญัติคืนมา หรือพ้น 90 วันแล้วยังไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง หากไม่ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีต้องนำร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้ บังคับเป็นกฎหมายได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว (มาตรา 98)

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยยังคงมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานพระราชดำริเป็นการเตือนสติแก่รัฐสภา รัฐสภาต้องพิจารณาทบทวนร่างกฎหมายนั้นเป็นกรณีพิเศษ ใช้คะแนนเสียงข้างมาก และอำนาจในการชี้ขาดขั้นสุดท้ายก็เป็นของรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงปฏิบัติพระองค์ตามทศพิธราชธรรม จะเห็นได้จากพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจต่างๆ ทรงปฏิบัติอย่างเที่ยงตรงต่อภาระหน้าที่ เที่ยงตรงต่อเวลา เที่ยงตรงต่อพระราชปณิธานในพระราชหฤทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกรโดยมิได้ละเลย และย่อท้อ

โดยเฉพาะทศพิธราชธรรมข้อที่เก้า คือขันติ อดทนต่อทุกสิ่งที่มากระทบต่อพระวรกาย และพระราชหฤทัย ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในกรอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศว่า พระองค์ทรงเป็น “ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์”

ตลอดระยะเวลา 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ ประชาชนชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม


**บางส่วนจากหนังสือ เย็นศิระเพราะพระบริบาล ของทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

การปกครองโดยพระมหากษัตริย์


กษัตริย์ โบราณ
Absolute Monarchy
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ หรือราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งสืบทอดมาจากระบบการปกครองแบบมีหัวหน้าเผ่า พระมหากษัตริย์บางพระองค์อาจอ้างว่าได้สิทธิอันศักสิทธิ์จากพระเจ้าให้มาปกครองประเทศตามความปรารถนาของพระเจ้า ซึ่งมักอ้างอิงกับหลักความเชื่อทางศาสนา (Divine right of King) พระมหากษัตริย์บางพระองค์ก็อาจมาจากการเลือกตั้ง (อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ) ซึ่งอาจเลือกโดยคณะบุคคลที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เช่น ในรัฐเผ่าเยอรมัน หรือโดยคนกลุ่มเล็กๆ เช่น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในอดีต มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือพระมหากษัตริย์อาจจะมาจากการสืบทอดอำนาจ หรืออาจมาจากการแย่งชิงบัลลังก์ หรืออาจจะเกิดจากหลายๆ วิธีรวมกัน
เอนกนิกรสโมสรสมมติาชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งได้อำนาจปกครองโดยการสืบราชสมบัติ ลักษณะที่ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแตกต่างจากระบอบสาธารณรัฐ คือ พระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ หรือเป็นประมุขอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ และจะส่งต่ออำนาจให้กับองค์รัชทายาทซึ่งอาจเป็นพระราชโอรสของพระองค์ต่อไป ส่วนในบอบสาธารณรัฐ ประมุขของรัฐ (ประธานาธิบดี) โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีที่มาจากการเลือกตั้ง และทำหน้าที่อยู่ในช่วงในเวลาที่แน่นอน เช่น ๔ หรือ ๖ ปี
คำว่าราชาธิปไตยนั้นอาจหมายถึงกลุ่มคน (ราชวงศ์) และองค์กรที่รวมตัวกันเป็นสถาบันกษัตริย์ ทุกวันนี้ อำนาจของกษัตริย์นั้นแตกต่างกันไปตามประเทศ ในระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น อำนาจสูงสุดของประเทศจะถือว่าอยู่ที่กษัตริย์ในฐานะองค์พระประมุข แต่อำนาจที่แท้จริงนั้นจะอยู่ที่ประชาชน พระมหากษัตริย์มักจะทำหน้าที่ในงานพิธีต่างๆ ในบางประเทศพระมหากษัตริย์อาจมีอำนาจอยู่บ้าง แต่ก็ถูกจำกัดไว้ด้วยความเห็นของประชาชน หลักธรรม หรือบรรทัดฐานของพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ในบางประเทศ พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจมาก และอาจใช้อำนาจได้อย่างไร้ขอบเขต อย่างไรก็ตามระบอบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ในทุกวันนี้จะอยู่ภายใต้กฎหมายมากกว่าจะทำตามอำเภอใจได้

ประเภทของสถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองโดยสถาบันพระมหากษัตริย์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท พอสรุปได้ดังนี้
พระมหากษัตริย์
๑. พระมหากษัตริย์ในระบบฟิวดัล (Feudal Monarchy) คือ การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ มีพระราชอำนาจเหนือแผ่นดินและเพื่อตอบแทนเหล่าขุนนาง พระมหากษัตริย์ในระบอบ นี้จึงให้ที่ดินเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานของเหล่าขุนนาง เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองและขุนนางต่างๆ อีกทั้งเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และขุนนางให้การ บริหารรัฐเป็นไปโดยสงบ
๒. พระมหากษัตริย์ในลัทธิเทวสิทธิ์ (Absolute Monarchy) จากลัทธินี้จึงมีความเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดจากอำนาจของพระเจ้า พระมหากษัตริย์จึงเป็นเจ้าชีวิต เป็นเจ้าของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมโดยองค์การของพระเจ้าในการปกครอง ประชาชนต้องยอมรับและปฏิบัติตนตามโองการของพระเจ้า สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสมบูรณ์ เราจึงเรียกการปกครองลักษณะนี้ว่า การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ทั้งนี้การปกครองอยู่บนรากฐานของหลักของศีลธรรมอันดีงามเป็นแนวปฏิบัติ
๓. พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย (Constitutional Monarchy)แนวคิดนี้เริ่มพัฒนาเมื่อมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ามาทำให้การปกครองแนวคิดนี้เชื่อในเรื่องปัจเจกบุคคล และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วนในการปกครอง และยังเชื่อว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองนั้นเป็นของประชาชนทุกคน ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง

ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๐๐ ระบอบราชาธิปไตยส่วนใหญ่ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากการแบ่งแยกหรือการรวมดินแดน หรือการเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ประเทศที่ยังใช้ใช้ราชาธิปไตยอยู่ในปัจจุบันมักจะเป็นประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีประเทศบางประเทศที่ยังใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ เช่น บรูไน โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สวาซิแลนด์ และ นครรัฐวาติกัน ซึ่งปัจจุบันมีราชวงศ์ ๒๘ ราชวงศ์ ปกครองดินแดนทั้งหมด ๔๓ ประเทศทั่วโลก
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ในหลวง
แผนที่ ประเทศ กษัตริย์

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระมหากษัตริย์ไทย


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์ไทย คือ ประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเป็นฉบับปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นประมุขราชวงศ์จักรีมีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เสวยราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก
รัชทายาทของพระมหากษัตริย์ไทยมีตำแหน่งเรียกว่าสยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ การสืบมรดกของพระมหากษัตริย์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 โดยมีลักษณะเป็นการโอนจากบิดาสู่บุตรตามหลักบุตรคนหัวปีเฉพาะที่เป็นชาย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับปัจจุบันเปิดให้เสนอพระนามพระราชธิดาขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งรัชทายาทไว้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙