แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สืบทอดอำนาจ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สืบทอดอำนาจ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

การปกครองโดยพระมหากษัตริย์


กษัตริย์ โบราณ
Absolute Monarchy
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ หรือราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งสืบทอดมาจากระบบการปกครองแบบมีหัวหน้าเผ่า พระมหากษัตริย์บางพระองค์อาจอ้างว่าได้สิทธิอันศักสิทธิ์จากพระเจ้าให้มาปกครองประเทศตามความปรารถนาของพระเจ้า ซึ่งมักอ้างอิงกับหลักความเชื่อทางศาสนา (Divine right of King) พระมหากษัตริย์บางพระองค์ก็อาจมาจากการเลือกตั้ง (อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ) ซึ่งอาจเลือกโดยคณะบุคคลที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เช่น ในรัฐเผ่าเยอรมัน หรือโดยคนกลุ่มเล็กๆ เช่น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในอดีต มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือพระมหากษัตริย์อาจจะมาจากการสืบทอดอำนาจ หรืออาจมาจากการแย่งชิงบัลลังก์ หรืออาจจะเกิดจากหลายๆ วิธีรวมกัน
เอนกนิกรสโมสรสมมติาชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งได้อำนาจปกครองโดยการสืบราชสมบัติ ลักษณะที่ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแตกต่างจากระบอบสาธารณรัฐ คือ พระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ หรือเป็นประมุขอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ และจะส่งต่ออำนาจให้กับองค์รัชทายาทซึ่งอาจเป็นพระราชโอรสของพระองค์ต่อไป ส่วนในบอบสาธารณรัฐ ประมุขของรัฐ (ประธานาธิบดี) โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีที่มาจากการเลือกตั้ง และทำหน้าที่อยู่ในช่วงในเวลาที่แน่นอน เช่น ๔ หรือ ๖ ปี
คำว่าราชาธิปไตยนั้นอาจหมายถึงกลุ่มคน (ราชวงศ์) และองค์กรที่รวมตัวกันเป็นสถาบันกษัตริย์ ทุกวันนี้ อำนาจของกษัตริย์นั้นแตกต่างกันไปตามประเทศ ในระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น อำนาจสูงสุดของประเทศจะถือว่าอยู่ที่กษัตริย์ในฐานะองค์พระประมุข แต่อำนาจที่แท้จริงนั้นจะอยู่ที่ประชาชน พระมหากษัตริย์มักจะทำหน้าที่ในงานพิธีต่างๆ ในบางประเทศพระมหากษัตริย์อาจมีอำนาจอยู่บ้าง แต่ก็ถูกจำกัดไว้ด้วยความเห็นของประชาชน หลักธรรม หรือบรรทัดฐานของพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ในบางประเทศ พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจมาก และอาจใช้อำนาจได้อย่างไร้ขอบเขต อย่างไรก็ตามระบอบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ในทุกวันนี้จะอยู่ภายใต้กฎหมายมากกว่าจะทำตามอำเภอใจได้

ประเภทของสถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองโดยสถาบันพระมหากษัตริย์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท พอสรุปได้ดังนี้
พระมหากษัตริย์
๑. พระมหากษัตริย์ในระบบฟิวดัล (Feudal Monarchy) คือ การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ มีพระราชอำนาจเหนือแผ่นดินและเพื่อตอบแทนเหล่าขุนนาง พระมหากษัตริย์ในระบอบ นี้จึงให้ที่ดินเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานของเหล่าขุนนาง เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองและขุนนางต่างๆ อีกทั้งเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และขุนนางให้การ บริหารรัฐเป็นไปโดยสงบ
๒. พระมหากษัตริย์ในลัทธิเทวสิทธิ์ (Absolute Monarchy) จากลัทธินี้จึงมีความเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดจากอำนาจของพระเจ้า พระมหากษัตริย์จึงเป็นเจ้าชีวิต เป็นเจ้าของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมโดยองค์การของพระเจ้าในการปกครอง ประชาชนต้องยอมรับและปฏิบัติตนตามโองการของพระเจ้า สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสมบูรณ์ เราจึงเรียกการปกครองลักษณะนี้ว่า การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ทั้งนี้การปกครองอยู่บนรากฐานของหลักของศีลธรรมอันดีงามเป็นแนวปฏิบัติ
๓. พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย (Constitutional Monarchy)แนวคิดนี้เริ่มพัฒนาเมื่อมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ามาทำให้การปกครองแนวคิดนี้เชื่อในเรื่องปัจเจกบุคคล และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วนในการปกครอง และยังเชื่อว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองนั้นเป็นของประชาชนทุกคน ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง

ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๐๐ ระบอบราชาธิปไตยส่วนใหญ่ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากการแบ่งแยกหรือการรวมดินแดน หรือการเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ประเทศที่ยังใช้ใช้ราชาธิปไตยอยู่ในปัจจุบันมักจะเป็นประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีประเทศบางประเทศที่ยังใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ เช่น บรูไน โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สวาซิแลนด์ และ นครรัฐวาติกัน ซึ่งปัจจุบันมีราชวงศ์ ๒๘ ราชวงศ์ ปกครองดินแดนทั้งหมด ๔๓ ประเทศทั่วโลก
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ในหลวง
แผนที่ ประเทศ กษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙