แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ภูมิพลอดุลยเดช แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ภูมิพลอดุลยเดช แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช



พระราชกรณียกิจโดยสังเขป
  พระราชกรณียกิจพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา
  แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง
  ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์



ในหลวง ทรงพระเยาว์
พระราชสมภพ
สูติบัตร ในหลวงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ Cambridge Hospital (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 เหตุที่มีพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาอยู่ที่นั่น
King Bhumibol Adulyadej Square
ทั้งนี้ ใกล้สถานที่พระบรมราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ขอพระราชทานพระนามว่า จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช (King Bhumibol Adulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบการอุทิศจัตุรัสแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ ณ ที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
พระราชบิดา สมเด็จย่า ในหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”
ลายพระราชหัถต์ รัชกาลที่ ๗พระนาม “ภูมิพลอดุลเดช” นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า “Bhumibala Aduladeja” ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิพลอดุลเดช” ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว “ย” สะกดตราบปัจจุบัน
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า “Bhumibala” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า “ภูมิบาล” ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น “Bhumibol”
พระราชบิดา ในหลวงเมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
ในหลวง พระเยาว์
การศึกษา
ทรงพระเยาว์เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการดูแลในเบื้องต้นจากสถานเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ (Champ Soleil) ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พอมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นอนุบาลในประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีได้พาพระธิดา และพระโอรสทั้งสองพระองค์เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทรงส่งทั้ง ๓ พระองค์ เข้าสถานเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ อีกครั้ง จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนเมียร์มองต์ (Ecole Miremont) และในช่วงเวลาหยุดฤดูร้อนสมเด็จพระบรมราชชนนีจะส่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมเชษฐาเข้าเรียนที่โรงเรียนฟัวเย่ (Ecole Foyer,Les Pléiades)
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมเชษฐาได้เปลี่ยนเข้าศึกษาที่รงเรียนเอกชน นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์เมืองแซลลี ซูร โลซานน์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande ,Chailly-sur-Lausanne) ที่มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาและมีการสอนวิชาพิเศษ คือวิชาการทำสวน และวิชาช่างไม้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกสายการเรียนทั้งสองพระองค์ทรงเลือกเรียนทางด้านภาษาคือสายศิลป์ภาษาละตินและภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงด้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากโรงเรียนยิมนาส กลาซีค กังโตนาล (diplôme de bachelier ,Gymmase Classique Cantonal) แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ในหลวง การศึกษาในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เสด็จนิวัติกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่๒ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกันหลายประการ แล้วในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันเดียวกันนั้นเอง
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษา จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ในปีนั้น ในการเสด็จกลับไปศึกษาต่อในครั้งนี้ได้ทรงเปลี่ยนแผนการศึกษาจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็น สาขาวิชารัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์แทนด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในพระราชภารกิจที่เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระมหากษัตริย์ไทย


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์ไทย คือ ประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเป็นฉบับปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นประมุขราชวงศ์จักรีมีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เสวยราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก
รัชทายาทของพระมหากษัตริย์ไทยมีตำแหน่งเรียกว่าสยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ การสืบมรดกของพระมหากษัตริย์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 โดยมีลักษณะเป็นการโอนจากบิดาสู่บุตรตามหลักบุตรคนหัวปีเฉพาะที่เป็นชาย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับปัจจุบันเปิดให้เสนอพระนามพระราชธิดาขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งรัชทายาทไว้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙