แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ในหลวง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ในหลวง แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก


นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน และพระราชทานปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๕พ.ค.๒๔๙๓ ล่วงเลยมาตราบถึงวันนี้  แม้จะมีพระชนพรรษาย่าง ๘๔ พรรษาแล้วก็ตาม 

อีกทั้งยังทรงพระประชวรอยู่ต้องประทับรักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลศิริราชมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายเดือนทว่า ในพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านก็ยังมีแต่พสกนิกรชาวไทยอย่างแท้จริงทรงห่วงใยทุกข์สุขของประชาชนทุกคนมิต่างจากทุกข์สุขของพระองค์เองและทรงอุทิศพระองค์อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อทรงคลายร้อนผ่อนลำเค็ญนำพาความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ปวงประชนชาวไทยทั้งประเทศสมกับที่ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกและทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหากษัตริย์ผู้เพียบพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม

“พระเจ้าอยู่หัวยังต้องเหนื่อยต้องลำบากทุกวันนี้เพราะว่าประชาชนยังยากจนอยู่เมื่อประชาชนยากจนแล้วอิสรภาพเขาจึงไม่มีและเมื่อเขาไม่มีอิสรภาพเขาก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้” พระราชดำรัสดังกล่าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสียสละเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงและคงไม่เกินเลยไปหากจะกล่าวว่าในบรรดาสถาบันกษัตริย์ที่มีอยู่ทั่วโลกนั้นไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดจะทรงงานให้กับพระชาชนเท่ากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระองค์ในสถานะผู้ให้บริการรับใช้ประชาชนถึงแม่ว่าจะทรงเป็นประมุขของประเทศ

“มาทำงานกับฉันนั้นไม่มีอะไรจะให้นอกจากความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นฉันนับถือลัทธิเรื่อย ๆ คือทำไปเรื่อย ๆ ใครว่าอย่าไปสนใจฝากไว้ด้วยเพราะเราทำแล้วต้องถูกว่าต้องมีคนถูกด่าธรรมดาของการทำงานเพราะฉะนั้นลัทธิเรื่อยๆ ก็คือทำไปเรื่อยๆ ถูกว่าถ้าเห็นว่าผิดก็กลับไปทำใหม่ย้อนกลับมาที่ตั้งต้นใหม่ทำใหม่อย่าไปสนใจอะไรทั้งสิ้น เพราะถ้าสนใจอะไรไปแล้วจะไม่มีกำลังใจอะไรเลย”

ในฐานะข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพัฒนาผืนแผ่นดินทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยและได้มีโอกาสถวายงานอย่างใกล้ชิดตลอดรระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล”เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้ถ่ายทอดถึงเรื่องราวต่างๆ ขององค์พระประมุขซึ่งทรงทำประโยชน์อเนกอนันต์ให้กับแผ่นดินไทยอันถือเป็นแบบอย่างที่ควรค่าแก่การน้อมนำเป็นแนวทางดำเนินชีวิต

“ผมเคยวาดภาพว่า สถาบันกษัตริย์คงเป็นแบบที่เรานึกคิดเราอ่านนิทานประเภทจักรๆ วงศ์ๆ มาคงจะนึกว่าสุขสบายนึกอยากจะทำอะไรก็ทำ หรือระหว่างอยู่ต่างประเทศก็ได้ข่าวเจ้าชายองค์นั้นซื้อรถสปอร์ตขี่อีกแล้ว เจ้าชายองค์โน้นซื้อเรือยอชต์ใหม่อันนี้คือภาพที่ติดมากับตัวก่อนที่จะทำงานสนองเบื้องพระยุคลบาทแต่พอมีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับพระองค์พูดทีไรผมก็เกิดอาการขนลุกซู่ซ่าขึ้นมาทุกที

ไม่เคยนึกไม่เคยฝันไม่เคยวาดภาพมาก่อนว่าสถาบันกษัตริย์ของเราจะเป็นในลักษณะที่เห็นอยู่ในหลวงทรงอุทิศเวลาส่วนพระองค์ทั้งหมดของพระองค์ท่านเพื่อทุกข์สุขของราษฎรชีวิตทั้งวันของพระองค์นั้นได้ผ่านไปในลักษณะที่ว่า ทรงทุ่มเทอย่างมากที่สุดเมื่อเทียบกับกษัตริย์อื่นในโลกนี้

ทุกวันนี้เมื่อเราท่านดูทีวีดูข่าวหรือว่าอ่านหนังสือพิมพ์ท่านจะเห็นภาพของพระองค์ท่าน แต่ก็ดูเป็นลักษณะที่เห็น  แต่ว่าหากทุกคนลองมองสักนิดหนึ่ง  ท่านจะเห็นว่าพระองค์ทรงงานอย่างไรบ้างประทับนั่งราวกับราษฎรเสมอ  เหมือนในพื้นที่เดียวกัน  มิใยว่าตรงนั้นจะเปียกจะแฉะพระองค์ท่านจะประทับบนดินบนลูกรังหรืออะไร

ตอนแรกผมก็แต่งตัวดีเวลาตามเสด็จฯตอนหลังไม่ไหวแล้วพอกับมามอมแมมทุกทีกางเกงแพงๆ เสียไปหมดเลยก็เลยเปลี่ยนเอากางเกงที่มันไม่สกปรกง่ายทนๆหน่อย ผมใส่โรเล็กซ์แต่โรเล็กซ์นี้ของปลอมแท้คือซื้อจากไต้หวันใครจะถวายปาเต๊ะ ฟิลลิป อะไรต่างๆ พระองค์ไม่เคยทรงทรงแต่ของที่ถูกที่สุดทรงยึดประโยชน์เป็นหลัก”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสนองพระบรมราชโองการ ตามพระปฐมบรมราชโองการที่ได้รับสั่งไว้ทรงทุ่มเทตลอดเวลาหลายทศวรรษเพื่อประโยชน์สุขของปวงประชาราษฎร์อย่างแท้จริง

“ดร.สุเมธ” เล่าถึงชีวิตประจำวันขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกเยี่ยมเยียนประชาชนตามถิ่นทุรกันดารต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงการทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ “การตามเสด็จฯจะเริ่มประมาณบ่ายสามถึงบ่ายสี่โมงส่วนมากจะไม่เสด็จฯออกก่อนบ่ายสามโมง นอกจากจะมีลักษณะการเดินทางต้องกินเวลาก็อาจจะเป็นว่า เริ่มจากตอนเที่ยงหรือตอนเช้าแต่ส่วนมากพระองค์จะเริ่มบ่ายสามโมงจะทรงขับรถด้วยพระองค์เอง

วันหนึ่งมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “เหตุที่ฉันไม่บอกนั้น เพราะว่าไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อนเพราะถ้าบอกทางจังหวัดต้องออกไปเตรียมการ ไปทำอะไรต่ออะไร ข้าราชการทั้งหมดไปรับเสด็จฯยุ่งยากกันไปหมดทั้งจังหวัด” เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงบอกใครอยากไปตามเสด็จฯก็ไป ใครไม่อยากตามเสด็จฯ ก็ไม่ถือโทษโกรธกัน

จะสังเกตเห็นว่า จุดแรกที่พระองค์ทำ คือว่าต้องหนีบแผนที่ เสด็จพระราชดำเนินไปหาประชาชนก่อนเพื่อนเลย ส่วนมากมักจะคุยกับคนแก่ๆ ไม่ใช่ถามเรื่องทุกข์สุขหรืออะไร พระองค์ท่านมีวิธีการทำงานแบบลักษณะสมัยใหม่

ในขณะที่พวกเรานักวิชาการใช้คอมพิวเตอร์ใช้อะไรต่างนั้น  พระองค์ใช้ขีดความสามารถของพระองค์เองเป็นผู้ดำเนินการแต่พระองค์เดียวทั้งสิ้น พวกเราถวายข้อมูลเข้าไปแค่นั้นเอง แล้วในแผนที่ พระองค์ท่านจะทรงเขียนบันทึกมากมาย ก็แสดงว่ามีการเตรียมตัวทำการบ้านมาก่อนแล้วว่า บริเวณที่จะเสด็จฯไปนั้น มีข้อมูลอะไรบ้างมีเขียนเต็มไปหมดเลยด้วยลายพระหัตถ์

สิ่งแรกคือ ทรงตรวจสอบข้อมูลเหมือนอย่างพวกเรานักวางแผน แล้วทรงมีข้อมูลพื้นฐานที่เขียนไว้เช็กข้อมูลกับประชาชนเลย พระองค์ทรงเช็กโดยละเอียด 400 เมตรไปข้างหน้าเลี้ยวซ้ายเจอลำธารหรือเปล่า ฉะนั้น คนที่ตอบได้ถูกต้อง จะต้องเป็นคนแก่ๆ ซึ่งรู้จักภูมิประเทศนั้นดี พระองค์จะทรงซักถาม บางทีเป็นชั่วโมง ประทับราบอยู่ที่นั้น

ทรงเช็กจนแน่ใจแล้วว่าภูมิประเทศ กับแผนที่ถูกต้องเพราะรับสั่งอยู่เสมอว่า การพัฒนาจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ พระพระองค์เช็กข้อมูลกับราษฎรเสร็จ จะเรียกหน่วยงานราชการเข้ามาเช็กข้อมูลซ้ำอีกที แล้วจึงเรียกหน่วยปฎิบัติขึ้นมาส่วนมากจะเป็นเรื่องน้ำ เชื่อไหมว่า พระองค์ทรงอัจริยะในลักษณะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ทรงใช้เวลา 2-3 นาที จะทรงกำหนดและขีดให้ได้ทันทีว่า สร้างเขื่อนตรงนี้ จากเขานี้ไปเขานี้กั้นตรงนี้ แล้วพระองค์จะทรงวาดต่อได้เลยว่า พอสร้างเสร็จแล้วน้ำเต็มแล้ว จะท่วมบริเวณไหนบ้าง ระบายเป็นสีน้ำเงิน ออกมาให้ได้ทันที

ทรงศึกษาก่อนที่จะทรงทำอะไร ไม่ใช่ว่าไปถึงประทับแล้วชี้แต่พระองค์ท่านทรงรู้อยู่ตลอดเวลา คือหยิบเรื่องอะไรขึ้นมาจะทรงศึกษาก่อนไม่ว่าพระองค์จะทรงสนพระทัยเรื่องอะไร ตราบใดที่ยังไม่ทะลุปรุโปร่ง ไม่สุดปลายของปัญหา พระองค์จะไม่ทรงหยุด จะเห็นได้ว่า เวลารับสั่งอะไร ถึงแม้จะเรียบง่ายแต่ว่าลึกซึ้ง แล้วก็อยู่ในลักษณะที่ใช้ธรรมชาติที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของเรานั่นเองมาใช้ประโยชน์ ไม่นิยมของแพง ไม่นิยมโครงการลงทุนสูง ถ้ารู้ว่าวิธีการพัฒนาชาวเขาอย่างไร วิธีการสร้างฝายแม้วอย่างไรจะทึ่งมาก

พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า การพัฒนาประเทศของพระองค์จะใช้หลักสังฆทาน คือไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกใครทั้งสิ้น จะอยู่ในศาสนาไหน อยู่แห่งหนใด จะเป็นชาวเขา หรือจะเป็นอะไรก็แล้วแต่นั้น

นอกจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เกือบ 3000 โครงการ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การคมนาคม การสื่อสาร การส่งเสริมอาชีพ สวัสดิการสังคม สาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเป็นโครงการที่ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยมากที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงคิดทฤษฎีใหม่ๆมากมาย ทรงมิเคยวางพระองค์อยู่ในฐานะพระมหากษัตริย์ ที่ประกอบพระราชกรณียกิจในหน้าที่องค์พระประมุขเท่านั้น แต่ยังทรงงานอย่างหนักทุกอย่าง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย

ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ ทรงถือโอกาสนี้เสด็จฯเยี่ยมเยียนราษฎร ในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างทั่วถึงอีกด้วย เพื่อที่จะได้ทรงทราบถึงปัญหาของราษฎรในพื้นที่เหล่านั้น เมื่อนำมาประกอบกับข้อมูลที่ทรงมีอยู่แล้ว จึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

บ่อยครั้งยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรผู้ยากไร้และประสบความเดือดร้อน เช่นเดียวกับเมื่อครั้งเกิดอุทกภัยใหญ่ทั่วประเทศในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะยังทรงไม่หายจากพระอาการประชวร และต้องประทับรักษาพระวรกายอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช

แต่ก็ไม่วาย ห่วงใยในความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน ได้โปรดเกล้าฯให้นำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้ราษฎรที่ประสบอุทกภัยตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ พร้อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

ดร. สุเมธ บอกเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศเวลาทั้งหมดเพื่อทำการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ที่คนไทยได้รับผลกระทบทั้งจากภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในความสนพระราชหฤทัยของพระองค์ท่าน

ก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จประทับโรงพยาบาลศิริราชทรงสั่งลงมาให้ประชุมหน่วยงานต่างๆ พยายามพระราชทานคำเสนอแนะให้เกิดการประสานงานกับทุกหน่วยราชการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมาหลายปีก่อนมีน้ำทะลักเข้ามาก้อนใหญ่ทุกคนก็เฉย

แต่เมื่อพระองค์ท่านอดทนไม่ไหว เลยรับสั่งเรียกหน่วยงานต่างๆ มาประชุม และทรงถามว่าน้ำเดินทางเท่าไหร่ ระยะเวลาเท่าไหร่แต่ละชั่วโมงมาถึงไหน เพื่อวางระบบการเตือนภัยให้ทันท่วงที ตอนผมไปถวายงานกับพระองค์ท่านหลายสิบปีแล้วพระองค์ท่านเตือนพวกเราว่าระวังนะอย่าไปรังแกธรรมชาติหากไปรังแกมากๆ เขาจะโกรธเอาและเขาก็จะทำร้ายเรา ซึ่งเป็นจริงตลอดเรื่องพวกนี้เราถูกเตือนหมดแล้วพระราชกรณียกิจ ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมา ล้วนเกี่ยวกับดินน้ำลมไฟพระองค์ท่านทรงเตือนให้รักษาแผ่นดินเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตอย่างผาสุก

 ขณะนี้พระองค์ท่านประทับอยู่ที่ศิริราชจะให้ทรงงานอีกหรือ  อะไรก็จะให้พระเจ้าอยู่หัวทำที่ผ่านมาพระองค์ท่านทรงทำทุกวัน  ถ้าเสด็จฯ ออกมาได้  เชื่อว่าพระองค์ท่านคงเสด็จฯ ออกมาแล้ว ทรงไม่ประทับอยู่อย่างนั้นหรอก ทรงติดตามดูอยู่ทุกวัน  แทนที่จะมองไปที่พระองค์ท่าน  อย่าเอาภาระไปใส่พระองค์  เราจะต้องเลี้ยวกับมาดูว่า  เราแต่ละคนควรทำอย่างไร การรักษาแผ่นดินเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ใช่พระองค์อย่างเดียว”

“การปลูกฝังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสอนตลอดเวลาว่า ถ้าไม่มีประชาชนก็ไม่มีพวกเรา เราเกิดมาได้เป็นเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินคนเขาเคารพนับถือท่านสอนอย่างนี้เสมอ ข้าพเจ้าก็ทุ่มสุดตัวที่จะทำ สำหรับประเทศไทยอะไรที่ดีกับไทยก็ทำ อยากให้ทุกท่านคิดเหมือนกันว่าอะไรดีที่สุดสำหรับแผ่นดินแม่เราก็ควรทำถ้าไม่มีแผ่นดินไทยไทยล่มสลายจะไม่มีใครมีความสุขได้เลย”

พระดำรัสดังกล่าวของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี คงพอจะเตือนสติคนไทยได้บ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงเหนื่อยหนักมาตลอดพระชนม์ชีพแล้วถึงเวลาที่ยังที่ประชาชนอย่างพวกเราจะช่วยแบ่งเบาพระราชภาระอันหนักอึ้งด้วยการรู้รักสามัคคีกันเพื่อแผ่นดินไทย
 
ขอขอบคุณ ไทยรัฐ

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ในหลวง-ราชินี” ทรงมีพระราชสาส์นเสียพระหฤทัยไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์


เมื่อ 12 พ.ย.2556 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชสาส์นเสียพระหฤทัยไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยัง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรณีเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่น ไห่เยี่ยน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้เชิญผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ดังนี้

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรุงมะนิลา ข้าพเจ้าและพระราชินี เศร้าสลดใจอย่างยิ่ง ที่ได้ทราบข่าวเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ทั้งยังก่อความเสียหายอย่างหนักในประเทศของท่าน ข้าพเจ้าและพระราชินีขอแสดงความเสียใจด้วยใจจริงมายังท่าน และผู้ประสบความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ครองใจคน” หลากหลายเหตุผลที่คนไทยรัก “ในหลวง”


“…. ผมเคยอยู่มาแล้วหลายแผ่นดิน แต่ก็ไม่เคยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินใดที่คนทั้งเมืองเขาเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ให้ความเคารพบูชาอย่างสนิทสนมอย่างทุกวันนี้… พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน ๆ ทรงครองแผ่นดิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ทรง “ครองใจคน..”

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ในหลวง พัฒนา พระราชดำริ 

“เดิมพันของเรานั้นสูง”
ครั้งหนึ่ง เมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่”  ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบว่า “ความ จริงมันน่าท้อถอยหรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้าน คือเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ฉบัย 5 ธ.ค.32


“ราษฎรยังอยู่ได้”
ปีพุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไป เยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้ เวลานั้น ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็น อยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ “ราษฎรเขาเสี่ยง ภัยยิ่งกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ…  คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้าง ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้!”
ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง “พระบิดาประชาชน”

“ดอกไม้จากหัวใจ”
ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร บายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ  ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ

ในหลวง ยายแก่วันนั้น หลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น ดังเช่นครอบครัว จันท์นิตย์ ที่ลูกหลายช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด

เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดี อย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอยางอ่อนโยน

เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม

เช่น เดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า “หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก”  พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปี เต็ม ๆ แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี
ข้อมูลจาก “แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์” ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย

“เขาเดินมาเป็นวัน ๆ”
… มีอยู่ครั้งนึง ข้าพเจ้าอายุ 18 ปี ได้ตามเสด็จ…ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ๆ ก็เสด็จฯ ประมาณ 9 โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรมาเรื่อยๆ ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหมนานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึกแดดเปรี้ยง หนังเท้านี้รู้สึกไหม้เชียว ก็เดินเข้าไปกระซิบท่านว่า พอหรือยัง ก็โดนกริ้ว

นี่เห็นไหมราษฎรเขาเดินมาเป็นวัน ๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว..
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534

“ต่อไปจะมีน้ำ”
บทความ “น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา” เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528 ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ “ในหลวง” กับ “น้ำ” ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528

ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า “ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้” แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอด ห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตามๆ กัน

“เก็บร่ม”
ในหลวง งานพัฒนาการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย้อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน

ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ “พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง” ตีพิมพ์ในหนังสือ “72 พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์” ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จได้เข้าไปกางร่มถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่าง ก็เปียกฝนโดยทั่วกัน  “จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชอครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น”

“สิ่งที่ทรงหวัง”
ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์ และได้กราบบังคมทูลถามว่า การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรบสั่งตอบว่า มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่ แต่ทรงสนพระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยลงหรือไม่


“รักถึงเพียงนี้” และ “จุดเทียนส่งเสด็จ”
บทความชื่อ “แผ่นดินร่มเย็นที่นราธิวาส” ตีพิมพ์ในนิตยสาร “สู่อนาคต” ฉบับพิเศษเนื่องในวันเฉลิมฯ ได้เล่าย้อนให้เราได้เห็นภาพความยากลำบากในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทางภาใต้เมื่อหลายปีก่อน โดยเฉพาะช่วงก่อนสร้างพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนราธิวาสชุกชุมไปด้วยโจรร้าย โจรปล้นสะดมและพวกโจรเรียกค่าไถ่ ถึงขนาดที่ในหลายๆ หมู่บ้านนั้น แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่กล้าย่างกรายเข้าไป

ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในทุกข์อันลึกล้ำของชาวบ้านที่ทั้งทุกข์เพราะยากจน และทุกข์เพราะภัยคุกคาม จึงได้เสด็จฯ ลงไปเยี่ยมเยียนเป็นขวัญกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์โดยไม่ทรงหวาดหวั่น บางวันถึงกับเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยปราศจากกำลังอารักขา และบางหมู่บ้านตำรวจเพิ่งถูกคนร้ายแย่งปืนแล้วยิ่งตายก่อเสด็จไปถึงเพียงไม่ กี่ชั่วโมง

ทรงรักราษฎรถึงเพียงนี้ จึงไม่แปลกที่หญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอรือเสาะจะเข้ามาเกาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร้องไห้แล้วบอกว่า “ไม่นึกเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไทยชาวพุทธ จะมารักมุสลิมได้ถึงขนาดนี้…”

บทความเดียวกันได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า ที่อีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเดียวกันนั้น โต๊ะครูได้พาพรรคพวกมายืนรอรับเสด็จแล้วพูดขึ้นว่า “..รายอกลับไปเถอะ ประไหมสุหรีกลับไปเถิด ประเดี๋ยวพวกโจรจะลงจากเขา…”  และเมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับที่มืดสนิทอย่างน่ากลัว โต๊ะครูกับชาวบ้านก็พากันมาจุดเทียนส่งเสด็จตลอดเส้นทางอันตราย ด้วยความห่วงใยใน “รายอ” และ “ประไหมสุหรี” หรือ พระราชาพระราชินีของพวกเขาอย่างสุดซึ้ง


“รถติดหล่มกับถนนสายนั้น”
หากย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว ชื่อของ “ลุงรวย” และ “บ้านห้วยมงคล” คือสองชื่อที่ลืมไม่ได้ เรื่องราวของ “ลุงรวย” เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2495 หรือมากกว่าห้าสิบปีล่วงมาแล้ว ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บ้านห้วย มงคลนี้อยู่ทั้ง “ใกล้และไกล” ตลาดหัวหิน ใกล้เพราะระยะทางที่ห่างกันนั้นไม่กี่กิโลเมตร แต่ไกลเพราะไม่มีถนน หากชาวบ้านจะขนพืชผักไปขายที่ตลาดต้องใช้เวลาเป็นวันๆ

ห่างไกลความเจริญถึงเพียงนี้ แต่วันหนึ่งกลับมีรถยนต์คันหนึ่งมาตกหล่มอยู่ที่หน้าบ้านลุงรวย เมื่อเห็นทหารตำรวจกว่าสิบนายระดมกำลังกันช่วยรถคันนั้นขึ้นจากหล่ม ลุงรวยผู้รวยน้ำใจสมชื่อก็กุลีกุจอออกไปช่วยทั้งงัด ทั้งดัน ทั้งฉุด จนที่สุดล้อรถก็หลุดจากหล่ม  เมื่อรถขึ้นจากหล่มแล้ว ลุงรวยจึงได้รู้ว่ารถคันที่ตัวทั้งฉุดทั้งดึงนั้นเป็นรถยนต์พระที่นั่งและคน ในรถนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ

แม้จะตื่นเต้นตกใจที่ได้เฝ้าฯ ในหลวงอย่างไม่คาดฝัน แต่ลุงรวยก็ยังจำได้ว่าวันนั้น “ในหลวง” มีรับสั่งถามลุงว่า “หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง..” ลุงได้กราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน จึงนอกจากจะโชคดีได้รับพระราชทาน “เงินก้นถุง” จำนวน 36 บาท ซึ่งลุงนำไปเก็บใส่หีบบูชาไว้เป็นสิริมงคลจนถึงทุกวันนี้แล้ว

อีกไม่นานหลังจากนั้น ลุงรวยก็ได้เห็นตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งเข้ามาช่วยกันไถดินที่บ้านห้วยมงคล และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ถนนห้วยมงคลที่ทำให้ชาวไร้ห้วยมงคลสามารถขนพืชผักออกมาขายที่ตลาดหัวหินได้ ภายในเวลาเพียง 20 นาที

 ในหลวง พัฒนา ความเป็นธรรม

“สามร้อยตุ่ม”
มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย รอบพระศอ พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงตางๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่อยู่ภายใต้แสงไฟฉายที่มีผ้ส่องถวายอยางไม่สะ ดุ้นสะเทือน อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบาๆ เท่านั้น

ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง “ยุง” ด้วยพระอารมณ์ขันว่า  “.. ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่ เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแตง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี..”


“น้ำท่วมครั้งนั้น”
ในหลวงกับงานพัฒนา 007วันที่ 7 พ.ย. 26 ขณะที่ชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งกำลังทนทุกข์หนักกับสภาพน้ำท่วมขัง น้อยคนที่จะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพยายามหาหนทางบรรเทาทุกข์ให้พวกเขาอยู่อย่างเงียบ ๆ

วันนั้นรถพระที่นั่งแวนแวคคอนเนียร์ แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ราวบ่ายสองโมงเศษ สู่ถนนศรีอยุธยาเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรี มุ่งสู่ถนนบางนาตราด ไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีการปิดถนน แม้แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่ทราบล่วงหน้า

รถยนต์พระที่นั่งชะลอเป็นระยะๆ เพื่อทรงตรวจดูระดับน้ำ จนเมื่อถึงคอสะพานสร้างใหม่ที่คลองลาดกระบัง จึงเสด็จลงจากรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทรงหารือกับเจ้าหน้าที่ที่ตามเสด็จ

ทรงฉายภาพด้วยพระองค์เอง ทรงกางแผนที่ทอดพระเนตรจุดต่างๆ จนถึงเวลาบ่ายคล้อย รถยนต์พระที่นั่งจึงแล่นกลับ เมื่อถึงสะพานคลองหนองบอน รถพระที่นั่งหยุดเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพบริเวณน้ำท่วม และทรงศึกษาแผนที่ร่องน้ำอีกครั้ง

ปรากฎว่าชาวบ้านทราบข่าวว่า “ในหลวงมาดูน้ำท่วม” ต่างก็พากันมาชมพระบารมีนับร้อยๆ คน จนทำให้การจราจรบนสะพานเกิดการติดขัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงโบกพระหัตถ์ให้รถขบวนเสด็จผ่านไปจนเป็น ที่เรียบร้อยด้วยพระองค์เอง!


“เชื่อมั่น”
เย็นย่ำแล้วแต่ขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังไม่หมดภารกิจ เมื่อรถวิ่งกลับมาทางถนนพัฒนาการ ทรงแวะฉายภาพบริเวณคลองตัน ทอดพรเนตรระดับน้ำแล้วทรงวกกลับมาที่คลองจิก

เวลานั้นฟ้ามืดแล้วเพราะเป็นเวลาจวนค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงนำไฟฉายส่วนพระองค์ออกมาส่องแผนที่ป้องกัน น้ำท่วมและแนวพนังกั้นน้ำอยู่เป็นเวลานาน กลายเป็นอีกภาพหนึ่งที่สร้างความตื้นตันใจแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ อย่างยิ่ง

ประชาชนคนหนึ่งในละแวกเคหะนคร 1 แขวงบางบอน เขตประเวศ บอกว่า “รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงห่วงใยทุกข์ของราษฎร เสด็จฯ มาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยพระองค์เอง พวกเราถึงจะทนทุกข์เพราะน้ำท่วมขังเน่ามาเป็นเวลานานก็เชื่อมั่นว่าพระองค์ ทรงช่วยพวกเราได้อย่างแน่นอน”


“ฉันทนได้”
ในหลวงกับงานพัฒนา 006ในเดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหักเฉียดโพรงประสาทฟัน พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกัน
เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า “จะใช้เวลานานเท่าใด” ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1-2 ชม.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน”

“คำสอนประโยคเดียว”
เมื่อนิตยสาร “สไตล์” ฉบับปี 2530 ได้ตั้งคำถามกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ถึง “คำสอน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ ดร.สุเมธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. ตอบว่า คำสอน ประโยคเดียวก็เกินพอนั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า “มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น”

“ดีใจที่สุด”
สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์มืดมน พระบรมฉายาลักษณ์ไม่เพียงเป็นรูปเคารพบูชา แต่ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความศรัทธาที่ช่วยให้มีแรงต่อสู้กับความทุกข์ต่อไปได้ ดังคุณยายละเมียด แสงเนียมวัย 72 ปี ชาวจังหวัดชุมพร ผู้ที่เผชิญกับอุทกภัยภาคใต้ในปี 2540 น้ำท่วมบ้านสูงมากจนอยู่อาศัยไม่ได้

“อยู่ๆ น้ำก็ท่วมมาเร็วมาก ยายต้องไปขออาศัยบ้านคนอื่นเขาอยู่ ต่อมาก็ขึ้นไปอยู่ชั้นบน ออกไปไหนไม่ได้เลย”  … พอดีที่บ้านนี้เขาปลูกมะละกอ ต้นมันสูงมาถึงหน้าต่างเราก็เอื้อมถึงพอดี เลยได้กินข้าวกับมะละกอ ก็กินมาสามวัน มาเมื่อวานผู้ใหญ่บ้านมาบอก มูลนิธิในหลวงจะเอาของมาแจกยายคิดเลยว่า ไม่อดตายแล้ว ทุกครั้งที่คนไทยเดือดร้อน ในหลวงจะให้ความช่วยเหลือทุกครั้ง

ของที่ยายได้มา ที่ดีใจที่สุดคือมีรูปของท่านมาด้วย ที่บ้านเสียหายหมดแล้ว ยายจะเอารูปท่านไว้บูชา ยายพูดแล้วก็ก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจงรักสุดหัวใจ

“ทุกข์บรรเทา”
“การประทับอยู่ในบ้านเมือง” ดังพระราชดำรัสนั้น ในเวลาต่อมาก็เป็นที่รู้กันว่ามิได้หมายถึงการประทับอยู่ในเมืองหลวงเท่า นั้น แต่ยังเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์จนแทบจะทั่วทุกตารางนิ้วที่พระบาทจะย่างไปถึงได้  ทรงวิทย์ แก้วศรี ผู้เรียบเรียงบทความ “บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ” บันทึกไว้ว่า

วันที่ 13 ก.ย 2497 ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 26 พรรษา และทรงครองราชย์เป็นปีที่ 8 ปรากฎว่าเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยครั้ง ร้ายแรงขึ้นที่อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรชาวบ้านโป่งผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทรงทอดพระเนตรบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และพระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์

ทุกข์ในยามยากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยเพลิงนั้นมากล้น แต่เมื่อได้รู้ว่ายังมีใครสักคนคอยเป็นกำลังใจ ทุกข์สาหัสแค่ไหนก็ยังพอมีแรงกายลุกขึ้นสู้ต่อได้ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบภัยในครั้งนั้น นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในรัชกาล


“141 ตัน”
เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ

ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของ ล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของหนุ่ม สาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา

จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร นั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อย หนังสือพมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3 ชม. เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน

ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น “ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ” ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า “ไม่ได้พระราชทานเฉยๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา โบหลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อย บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก”
“สุขเป็นปี ๆ”
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้นการพระราชทานปริญญาบัตรในระดับป.ตรี คงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่า พระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย ที่สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จป.ตรี นั้นสำคัญ เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนั้น “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง..”


“พระมหากษัตริย์”
เมื่อมีผู้สื่อข่าว bbc ขอพระราชทานสัมภาษณ์เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Soul of Nation ในปี 2522 โดยได้กราบบังคมทูลถามถึงพระราชทัศนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์ได้พระราชทานคำตอบว่า

การที่จะอธิบายว่าพระมหากษัตริย์ คืออะไรนั้น ดูเป็นปัญหาที่ยากพอสมควร โดยเฉพาะในกรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์ แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้ว ดูจะห่างไกลจากหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์ ถ้าถามว่า ข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต คำตอบก็คือ ไม่มี เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

77 เรื่อง ที่เรา (อาจ) ไม่เคยรู้ เกี่ยวกับ ในหลวง


บทความ เกร็ดความรู้ เรื่องของ ในหลวง ประวัติในหลวง รูปในหลวง ที่เรา(อาจ)ไม่เคยรู้ เป็น บทความ เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ ในหลวง ตั้งแต่เมื่อทรง พระเยาว์ พระอัจฉริยภาพ ในหลวง งานของในหลวง ของทรงโปรด ในหลวง และเรื่องส่วนพระองค์ …  อ่าน บทความ เกร็ดความรู้ เรื่องของ ในหลวง ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ที่นี่ค่ะ


เมื่อทรงพระเยาว์
 1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
 2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
 3.พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
 4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
 5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
 6. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol"หมายเลขประจำตัว 449
 7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า "แม่"
 8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
 9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม    
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า"บ๊อบบี้"
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจด อะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุก ขึ้นบ่อยๆ
13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" เอาไว้ 
หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุม เพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำ อะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"
17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง 


พระอัจฉริยภาพ
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก "การเล่น" สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บ สตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทยโดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทย
เป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ ***บเพลง (แอกคอร์เดียน)
22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสม ส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24. ทรงพระราชนิพนธ์พลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ "แสงเทียน" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์ เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซอง จดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง "เราสู้"
26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่ 5
27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้ มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์" และ "ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ "พระมหาชนก" ทรงพิมพ์ลง ในเครื่องคอมพิวเตอร์
29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบ ประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬาซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536
33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็น พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 
เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง 


เรื่องส่วนพระองค์
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า "น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท หลังอภิเษกสมรส ทรง"ฮันนีมูน"ที่หัวหิน
38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจาก น้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดี ีแก่ประเทศชาติ
43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ เมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง


งานของในหลวง
45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอ ที่มียางลบ
47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนักข้าราชการ และราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ ที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า "ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก 
บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ
53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้
ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน 


ของทรงโปรด
54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง 
แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที ่ จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่าน
นิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย 
นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ 
โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว


รู้หรือไม่ ?
65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "นายหลวง" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า "ทำราชการ"
68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง 
ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน
ชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้ 
บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า"อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก"
70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิง
ติดต่อกันหลายปี
72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค 
มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน
74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง 
ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระเกษมสำราญ มีพระพลานมัยแข็งแรงสมบูรณ์ ทรงหายจากอาการพระประชวร มีพระชนม์ยิ่งยืนนาน 

เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ.

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ 
ข้าพระพุทธเจ้าคณะข้าราชการและลูกจ้างพร้อมครอบครัวเรือนจำจังหวัดหนองบัวลำภู

อ้างอิงจาก http://www.correct.go.th/popnogb/About/m111.html

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

“ในหลวง” โปรดเกล้าฯ ไว้ทุกข์ “สมเด็จพระสังฆราช” 30 วัน


เมื่อ 25 ต.ค.2556 “ในหลวง” โปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ “สมเด็จพระสังฆราช” 30 วัน เริ่ม 25 ต.ค.-23 พ.ย.นี้ พร้อมถวายเกียรติยศตามพระราชประเพณีทุกประการ ด้าน “ยิ่งลักษณ์” สนองพระบรมราชโองการ ออกประกาศสำนักนายกฯให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน



เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬากรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 19 นาฬิกา 30 นาที

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 15 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2556 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และถวายพระเกียรติยศ ตามราชประเพณีทุกประการ

สำนักนายกรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์” ว่า

ตามที่ได้มีประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2556 นั้น รัฐบาลได้รับทราบด้วยความโทมนัสอย่างยิ่ง และได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้บำเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่บวรพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา จึงเห็นสมควรประกาศดังนี้

1.ให้สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงลงครึ่งเสา มีกำหนด 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 25-27 ตุลาคม 2556
2.ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ไว้ทุกข์มีกำหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือองค์กรอิสระทุกแห่งได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นโดยพร้อมเพรียงกัน

ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2556
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

ล่าสุด


เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺณโน) สิ้นพระชนม์ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 19 นาฬิกา 30 นาที

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก จาก 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2556 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ซุ้มสำหรับในหลวง


ระยะแรกราวปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลนั้น จะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท้องที่ห่างไกลทุรกันดารย่านหัวหิน หนองพลับ แก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง ทำนองเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ห้า โดยที่ราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่าเสด็จฯมาถึงแล้ว

วันหนึ่งทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านไปถึงยังบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่ง  ย่านหมู่บ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหิน ซึ่งราษฎรกำลังช่วยกันตบแต่งประดับซุ้มรับเสด็จกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง และไม่คาดคิดว่าเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ จึงไม่ยอมให้รถผ่าน

“…ต้องให้ในหลวงเสด็จฯก่อนแล้วพรุ่งนี้ถึงจะลอดผ่านซุ้มได้… วันนี้ห้ามลอดผ่านซุ้มนี้ เพราะขอให้ในหลวงผ่านก่อน”  พระองค์จึงทรงขับรถพระที่นั่งเบี่ยงออกข้างทางไม่ลอดซุ้มดังกล่าว….

วันรุ่งขึ้นเมื่อทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านนี้อย่างเป็นทางการ  พร้อมคณะข้าราชบริพารผู้ติดตาม และมีรับสั่งทักทายกับชายผู้นั้นที่เฝ้าอยู่หน้าซุ้มเมื่อวันวานว่า “วันนี้ฉันเป็นในหลวง..คงผ่านซุ้มนี้ได้แล้วนะ..”

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

TIME ยกย่อง “ในหลวง” A MONARCHY FIGHTS FOR FREEDOM


แคน ไทเมือง

โซเชียลมีเดียทุกวันนี้ ประชาชนแสดงความจงรักภักดีด้วยการนำเสนอพระราชกรณียกิจมากมายหลากหลาย รวมทั้งเสียงชื่นชมจากทั่วโลก สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้รับการยอมรับมากที่สุด  มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ใดๆ ในโลกนี้

ถึงขนาดพาดหัวหน้าปกว่า… “ A MONARCHY FIGHTS FOR FREEDOM ” ย่อมไม่ธรรมดา

วีรบุรุษแห่งเอเชีย …

นิตยสาร “ไทม์” นิตยสารที่ทรงอิทธิพลของโลก ฉบับพิเศษในโอกาสครบรอบการก่อตั้งนิตยสารครบ 60 ปี ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2549 ได้รวบรวมจัดอันดับวีรบุรุษแห่งเอเชีย ในหัวข้อ “60 Years of Asian Heroes” โดยยกย่องบุคคลสำคัญของเอเชีย 64 คน ใน 5 บทบาท คือ ผู้สร้างชาติ ศิลปินและนักคิด ผู้นำด้านธุรกิจ นักกีฬาและนักผจญภัย และผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ ..(บางท่านอาจยังไม่ทราบ จึงนำมาลงให้ได้อ่านกันอีกครั้ง)

สำหรับกลุ่มบุคคลที่ได้รับยกย่องให้มีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) นั้นมีทั้งสิ้น 14 คน อาทิ ดาไลลามะแห่งทิเบต  และแม่ชีเทเรซา ส่วนอองซาน ซูจี นักสู้เพื่อประชาธิปไตยของเมียนมาร์ ได้รับการเชิดชูในบทบาทผู้สร้างชาติ  ขณะที่บรูซ ลี ได้รับยกย่องในฐานะนักกีฬาและนักผจญภัย

เป็นที่น่ายินดีสูงสุดสำหรับคนไทยทั้งประเทศ ที่หนึ่งในบุคคลที่ได้รับการยกย่องในครั้งนี้ นิตยสาร “ไทม์” ได้สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ในบทบาทของผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) โดยไทม์ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ทรงใช้พระบารมีแห่งราชธรรมชี้นำประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตหลายต่อหลายครั้ง

ตลอดระยะเวลาในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมานับแต่ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ  พระองค์ทรงแสดงให้เป็นที่ประจักษ์จากโครงการพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ ที่ล้วนแต่เป็นโครงการที่ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทรงช่วยเหลือประชาชนในเขตชนบทอันห่างไกล  แม้ว่าเขตนั้นจะเป็นเขตของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็ตาม

กาลเวลาได้เป็นบทพิสูจน์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลายครั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ตุลาคม ปี ค.ศ.1973 (พ.ศ. 2516) และพฤษภาทมิฬ ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)  พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้วิกฤติการคลี่คลายลง  แม้กระทั่งการรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ชาวไทยยังเชื่อมั่นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะทรงเป็นที่ยึดมั่นให้คณะปฏิรูปคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนตามที่ได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดเป็นการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยโดยอาศัยพระบารมีของพระองค์ทั้งสิ้น

หลายครั้งพระองค์ยังทรงแนะนำอย่างเงียบๆ และบางครั้งทรงชี้แนะอย่างเปิดเผย เพื่อเน้นให้รัฐบาลคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและประพฤติปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประชาชนเป็นอันดับแรก บทความของไทม์ยังระบุด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสถานะอันสูงส่งเป็นที่เคารพรักได้ตลอด 60 ปีที่ทรงครองราชย์ ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างล้มเลิกระบอบกษัตริย์  บางประเทศกษัตริย์และเจ้าชายถูกลดทอนพระราชอำนาจลง  หรือบางราชวงศ์ถูกขับให้ลี้ภัยหรือถูกประหาร ตรงกันข้ามกับพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงและต่อเนื่องตลอดมา

นิตยสาร “ไทม์” ยังสดุดีพระองค์ท่านด้วยว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นยุวกษัตริย์ของไทย ที่มีพระชนมายุเพียง 18 ชันษา ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลฯ ที่สวรรคตอย่างกระทันหัน สื่อหลายสำนักรวมทั้งไทม์ นิตยสารที่เพิ่งเปิดตัวในเอเชียขณะนั้น ก็ได้ตั้งคำถามว่า พระองค์จะสามารถปกครองบ้านเมืองท่ามกลางมรสุมทางการเมือง และความลี้ลับในเหตุการณ์ที่เกิดได้หรือไม่

 ข้อคำถามของนิตยสารไทม์ได้รับการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะเสมอเหมือนได้ พระองค์ทรงดำรงความเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ได้ เพราะทรงเป็นศูนย์กลางแห่งความรักและศรัทธาของประชาชนอย่างแท้จริง ทรงปกครองประเทศโดยอาศัยหลักคุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำ

 พระราชกรณียกิจต่างๆ จำนวนมากได้กลายเป็นแบบอย่างของปวงพสกนิกรให้ดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน เพราะทุกคนต่างเชื่อมั่นว่าการประพฤติปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำรัส จะเป็นหนทางที่นำไปสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิตได้อย่างยั่งยืน  จึงมิผิดเลยที่นิตยสารไทม์จะเชิดชูให้พะองค์ทรงเป็นบุคคลที่สมควรได้รับยกย่องให้มีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจ (Inspirations) ของเอเชียในครั้งนี้

…………………………………………………………

Hero of Asia …

Magazine “Time” magazine, the richness of the world. Special Issue Celebrating the 60th year after the magazine was released in November 2006 (2549) to compile rankings of Asian heroes in the “60 Years of Asian Heroes” in honor of Asian people is 64 people in five roles. The author, artist and thinker. Business leaders. Athletes and adventurers. And an inspiration.

For people who have been regarded as an inspiration. (Inspirations) that there were 14 people including the Tibetan Dalai Lama and Mother Teresa and Aung San Suu Kyi’s fight for the democratization of Myanmar. Be true in a national role as Bruce Lee was hailed as a sportsman and adventurer.

It is desirable for the Thai people. The one person who has been honored in this magazine, “Time,” a tribute to the King. The role of the inspiration. (Inspirations) by the Times said. He was the king’s reign, the longest in the world. He used the prestige of Rachtrrm guide Thailand through many crisis.

During the past 60 years or more after the Throne. He seemed to be the works of more than 3,000 projects are all projects that help poor people to have better lives. He helps people in remote rural areas. Even if it is a communist or a terrorist.

Time is a testament to that. King is the soul of the Thai people truly Especially when the political crisis in Thailand The only event in October 1973 (2516) and May 1992, Tamil (2535) He has a critical role in resolving the crisis down. Even the most recent coup on September 19, 2006 (2549) Thais believe that the King is committed to the reform, restoring sovereignty to the people that have pledged to the King. All the problems of the country through the glory of Him.

He also suggested several times in silence. And sometimes, he should openly. To highlight the government to take into account the public interest and responsible behavior with regard to the first. The Time article also noted. King held the lofty status as beloved throughout his 60 year reign. While many countries. In Southeast Asia, and the monarchy abolished. Some of the kings and princes is to reduce his power. Some were driven to house refugees. Or were executed. In contrast to the royal status of the King of Thailand and has been highly praised ever since.

Magazine, “Time,” a tribute to him, he said. When His Majesty the King ascended the throne as a young king of Thailand. At age 18 is the age of King Ananda Mahidol. Who died suddenly. Many media agencies, including the Time. Magazine launched in Asia at that time. He asked. He will be ruling the country in the midst of political turmoil. The mystery of the incident or not.

Question of the Time magazine has been proved to be proven that His Majesty the King is not any monarch in the world will be like that. He has served as a king. It is a center of love and faith of the people truly The country is governed by moral principles as a guide. Various royal duties. Many of the entire population to become a model followed by him. We are all confident that the good deeds of the King. The way to true happiness of life is sustainable. The New Time magazine is wrong to glorify God Joe was the person who should be regarded as an inspiration. (Inspirations) of Asia at this time.

…………………………………………………………

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

22 ตุลาคม 2499 วันในหลวงทรงผนวช


“วันนี้ในอดีต”
เมื่อ 22 ตุลาคม 2499 เป็นวันพระราชพิธีทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “ภูมิพโล”
พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระผนวชขณะทรงดำรงสิริราชสมบัติมี 4 พระองค์ คือ พญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช …
ข้อมูลจาก สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
เรื่อง “พระราชพิธีทรงพระผนวช พุทธศักราช ๒๔๙๙”
โดย นายทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
ขอบคุณ
สำนักราชเลขาธิการ

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรื่องในหลวง ที่เราไม่เคยรู้


เรารักในหลวง
จดหมายฉบับนี้ยาวมากหากรัก ‘พระองค์ท่าน ‘ กรุณาอ่านให้จบด้วย

เรื่องของในหลวงที่เรา (อาจ) ไม่เคยรู้

1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3.พระนาม ‘ภูมิพล‘ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษาทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า ‘H.H Bhummibol Mahidol’หมายเลขประจำตัว 449
7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า ‘แม่‘
8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทยทรงตั้งชื่อให้ว่า‘บ๊อบบี้ ‘
12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15.ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก ‘การให้ ‘ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า ‘กระป๋องคนจน ‘ เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก ‘เก็บภาษี ‘ หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16.ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า ‘ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน‘
17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก ‘การเล่น ‘ สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20.สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21.ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
22.ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ ‘แสงเทียน ‘ จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง ‘เราสู้‘
26. รู้ไหม…? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5
27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯรพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘นายอินทร์ ‘ และ ‘ติโต ‘ ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ ‘พระมหาชนก‘ ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘กีฬาซีเกมส์‘) ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ ‘กังหันชัยพัฒนา ‘ เมื่อปี 2536
32. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ! ปีแล้ว
33. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
34. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
35. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า ‘น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
36. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
37. หลังอภิเษกสมรส ทรง ‘ฮันนีมูน ‘ที่หัวหิน
38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้าพอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับเมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นานค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง
45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า ‘ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก! บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ’
53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า ‘นายหลวง ‘ ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า ‘ทำราชการ ‘
68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า ‘อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก ‘
70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6 ล้านคน
74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด

ความสุขของในหลวง



หนึ่งปีที่ผ่านมา……
 
เราใส่เสื้อเหลือง เราใส่สายรัดข้อมือสีเหลือง
 
คนนับแสนไปนั่งรอเป็นชั่วโมงๆ หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อจะได้เห็นพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงไม่กี่นาที
 
วันนั้น ในขณะที่ทั้งโลกเริ่มเสื่อมศรัทธาในระบบการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราได้แสดงให้โลกได้เห็นว่ามีประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งที่คนทั้งชาติยังซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี และพระมหากษัตริย์อันทรงเป็นที่รักยิ่งของคนไทย
 
…..สิบสองปีที่ผ่านมา……
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนักด้วยโรคหัวใจเพราะทรงงานหนักเกินไป
 
ในขณะเดียวกัน สมเด็จพระราชชนนีก็ทรงพระประชวรหนักอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราชเช่นกัน
 
เรายังจำรูปในหนังสือพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระราชชนนีไม่กี่วันหลังจากการผ่าตัดใหญ่ถวาย พระหัตถ์ข้างหนึ่งกุมอยู่ที่พระอุระ และในพระหัตถ์อีกข้างหนึ่งทรงถือม้วนแผนที่กรุงเทพฯ เพราะน้ำกำลังท่วมกรุงอยู่
 
ยังจำกันได้ไหม ? ….. 34 ปีที่ผ่านมา…..
 
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นครั้งแรกในรัชกาลที่เกิดวิกฤติด้านการเมืองรุนแรงที่สุด
 
วันนั้น นิสิตนักศึกษาและประชาชนนับหมื่นนับแสนเดินขบวนประท้วงรัฐบาล เหตุการณ์ร้ายแรงยิ่งขึ้น ตำรวจทหารยิงประชาชน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาก็เผาสถานที่ราชการ เกิดกลียุคทุกหย่อมหญ้า คนไทยฆ่าคนไทยด้วยกันเอง
 
คืนนั้น สถานีโทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสดจากพระราชวังสวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสกันคนไทยทุกคนว่า “คนไทยจะฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ได้ ทุกอย่างต้องสงบโดยฉับพลัน”
 
และทุกอย่างก็สงบโดยฉับพลัน
 
หลังจากนั้นไม่นาน มีฝรั่งคนหนึ่งมาถามผมว่า “ เป็นไปได้อย่างไร ที่คนๆ เดียวจะมีอำนาจเหนือคนทั้งประเทศได้อย่างนั้น ?”
 
ผมไม่ได้ตอบ แต่ตอนนั้นใจผมคิดถึงประโยคที่ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมชฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ BBC ว่า พระองค์ทรงเป็น “SOUL OF THE NATION” หรือ “จิตวิญญาณของคนไทยทั้งชาติ”
 
ยังจำกันได้ ไหม ?
 
เราสร้างค่านิยมผิดๆ ว่าคนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่มีเงินมากที่สุด
 
เราโกงทุกครั้งที่มีโอกาส
 
เรากำลังฆ่ากันเองทุกวันในภาคใต้ เราสร้าง “ กฎหมู่” ให้เหนือ “ กฎหมาย”
 
และทั้งโลกกำลังจับตามองเราอยู่
เราเคยหยุดคิดกันบ้างไหมว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา
จะทรงเสียพระทัยเพียงใด ?
 
80 ชันษาของพระองค์ท่าน หากเปรียบกับคนธรรมดาก็สมควรที่จะได้พักเต็มที่ ได้รับการดูแลและระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่สมควรที่จะตรากตรำทำงานหนัก หรือกระทบกระเทือนใจแต่อย่างใด
 
แต่กลับเป็นว่า ในปีที่ครบ 80 ชันษาของพระองค์ท่านยังต้องทรงงานอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ทรงต้องอยู่ภายใต้การถวายการดูแลของคณะแพทย์
 
พระองค์ต้องรับทุกข์ของคนไทยทั้งชาติ
 
ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ไม่ใช่จะประทับอยู่ในพระราชวังใหญ่โตสวยงาม แห่ล้อมด้วยข้าราชบริพาร
 
หากแต่ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้คือ เมื่อประชาชนของพระองค์ท่านรักสามัคคีกัน รู้จักความพอเพียง และมีสติ- เพียงเท่านี้เอง
 

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระมหากษัตริย์ กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย


วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย หากจะขยายความคำว่าเอกลักษณ์ของชาติคือ ลักษณะของสิ่งทั้งหลาย หรือพฤติกรรมทั้งมวลในชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับฝังลึกอยู่ในกระบวนการชีวิตและจิตใจของคนไทย โดยมีวัฒนธรรมประจำชาติเป็นสิ่งพื้นฐาน เอกลักษณ์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ของชาติมีองค์หลักคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศ กลไกในการปกครอง ตลอดจนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยเหตุผลที่ว่า

1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์ เพราะทรงมีพระราชตระกูลสูง ย่อมทำให้เกิดความไว้วางใจและศรัทธาต่อพระองค์ สมคำกล่าวที่ว่า “พระราชาเป็นสง่าแห่งแว่นแคว้น”

2. เหตุที่ทรงรับตำแหน่ง เพราะสืบราชสันตติวงศ์ ไม่ใช่เพราะคะแนนเสียงจากผู้ใด จึงทำให้ทรงเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง มีผลให้ทรงประสานผลประโยชน์ของชาติลุล่วงได้ด้วยดี

3. เพราะทรงเป็นประมุขของประเทศอย่างถาวร ทำให้ทรงมีโอกาสสะสมประสบการณ์ มีพระปรีชาสามารถ เข้าพระราชหฤทัยถึงปัญหาของการบริหารราชการ

4. ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติและความสามัคคีของคนในชาติ ในขณะที่นักการเมืองอื่นไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อมีการเมืองเข้าเกี่ยวข้องก็อาจเกิดความขัดแย้งกันได้

โดย มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดพระราชอำนาจที่จำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศไทย พระองค์ก็ไม่จำเป็นต้องทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายที่มิได้กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภาระหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

ถึงกระนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับทรงนิยามพระราชกรณียกิจของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ไทยคือ การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรทุกหมู่เหล่าในแผ่นดินไทย พระองค์ทรงเลือกที่จะเป็นพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพสกนิกรของพระองค์ตลอดเวลา

จะเห็นได้ว่า คนไทยกับพระมหากษัตริย์นั้นคู่กันมาตั้งแต่เป็นชาติไทยแล้ว ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้ดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้แต่ให้ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ดังพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 บัญญัติว่า “มาตรา 3 กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามกษัตริย์”

เมื่อรัฐธรรมนูญตกลงในหลักการที่จะให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติแล้ว ก็จำเป็นต้องถวายความเคารพยกย่องพระราชฐานะ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 จึงบัญญัติว่า “มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และกำหนดโดยปริยายว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงอยู่เหนือการเมือง กล่าวคือ ต้องทรงวางพระองค์เป็นกลาง ไม่เข้ากับพรรคการเมืองใด การปรึกษาราชการแผ่นดินต้องทรงกระทำกับคณะรัฐมนตรีหรือคณะองคมนตรีเท่านั้น และจะต้องทรงปลีกพระองค์จากปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมือง คือไม่ทรงวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ทางการเมืองในที่สาธารณะ ในทางกลับกัน ย่อมถือเป็นมารยาททางการเมืองว่านักการ เมืองจะไม่อ้างถึงพระมหากษัตริย์ว่าทรงพระกรุณาแก่ตนเป็นพิเศษอย่างใดรวม ทั้งไม่นำพระราชกระแสพระราชดำริทางการเมืองออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยเด็ดขาด

พระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยด้านนิติบัญญัติทางรัฐสภา ดังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 บัญญัติว่า “มาตรา 93 ร่างบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้”

อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจที่จะยับยั้งร่างพระราชบัญญัติใดที่ไม่ทรงเห็นชอบด้วย ด้วยการพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือทรงเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ ในกรณีที่พระราชทานร่างพระราชบัญญัติคืนมา หรือพ้น 90 วันแล้วยังไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง หากไม่ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีต้องนำร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้ บังคับเป็นกฎหมายได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว (มาตรา 98)

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยยังคงมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานพระราชดำริเป็นการเตือนสติแก่รัฐสภา รัฐสภาต้องพิจารณาทบทวนร่างกฎหมายนั้นเป็นกรณีพิเศษ ใช้คะแนนเสียงข้างมาก และอำนาจในการชี้ขาดขั้นสุดท้ายก็เป็นของรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงปฏิบัติพระองค์ตามทศพิธราชธรรม จะเห็นได้จากพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจต่างๆ ทรงปฏิบัติอย่างเที่ยงตรงต่อภาระหน้าที่ เที่ยงตรงต่อเวลา เที่ยงตรงต่อพระราชปณิธานในพระราชหฤทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกรโดยมิได้ละเลย และย่อท้อ

โดยเฉพาะทศพิธราชธรรมข้อที่เก้า คือขันติ อดทนต่อทุกสิ่งที่มากระทบต่อพระวรกาย และพระราชหฤทัย ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในกรอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศว่า พระองค์ทรงเป็น “ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์”

ตลอดระยะเวลา 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ ประชาชนชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม


**บางส่วนจากหนังสือ เย็นศิระเพราะพระบริบาล ของทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คนไทย..รักในหลวงอย่างไร..?? โครงการเขื่อนแม่วงก์ กับ สถาบันฯ


  รัฐบาลกำลังจงใจทำให้ประชาชนวิวาทกัน  และพาลเข้าใจสถาบันพระมหากษัตริย์ผิด  ซ้ำซากอย่างจงใจ
  เพราะอะไร…
  1. ตอนนี้มีคนต่อต้าน EHIA ของโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ของกรมชลประทาน และเขาได้อธิบายถึงความไม่ชอบมาพากลของ EHIA ฉบับนี้  พร้อมด้วยข้อมูลสนับสนุนอย่างเหนียวแน่น
 แต่แล้วรัฐบาลก็ไม่อธิบายว่า EHIA ที่เขาสงสัยกันว่าจะฉ้อฉลนี้ เป็นมีความจริงเบื้องหลังอย่างไร แทนที่จะนำข้อมูลมาเผยให้ประชาชนรู้ กลับบอกว่าเขื่อนแม่วงก์นี้มีประโยชน์ ป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร
  ผมถึงบอกว่า ผู้จัดการที่ฉ้อฉลกับนักการเมืองที่ชั่วร้ายเจ้าเล่ห์ มันจะทำเละเทะ เหลวแหลก
  2. มันจึงเกิดการจงใจเปิดประเด็นถกเถียงเบี่ยงเป้าใหม่ ไปเป็นว่า คนรักป่าไม่เอาเขื่อน ขัดแย้งกับคนเอาเขื่อนไม่รักป่า และกำลังสร้างเงื่อนไขให้ ม๊อบชนม๊อบ และยังบิดพลิ้วจงใจลากให้กลายเป็นประเด็นขัดแย้ง ระหว่างคนไม่ถูกน้ำท่วมกับคนถูกน้ำท่วม ซึ่งจะเลยเถิดไปมากจนน่ากลัวจะเกิดสงครามกลางเมือง
…ทั้งที่ประเด็นแท้จริง คือ เขาต่อต้าน EHIA ที่ฉ้อฉลนั้น และเขาต้องการเปิดโปงไอ้โม่งที่ทำ EHIA ฉ้อฉลนี้ พี่น้องไทยทั้งหลาย…อย่าหลงกล เบี่ยงประเด็น
ผมถึงบอกไงว่า ผู้จัดการที่ฉ้อฉล กับนักการเมืองที่ชั่วร้าย มันจะทำชาติฉิบหายโดยไม่ไยดี
  3. ตอนนี้ รัฐบาลกำลังสู้มติและข้อมูลอันหนักแน่นของฝ่ายคัดค้านไม่ได้ เพราะอธิบายเรื่องฉ้อฉลของ EHIA ไม่ได้ ก็พาลออกมาแสดงอำนาจข่มแล้ว “คนที่ต้านมันจะเอาอะไรหนักหนา” …. “ สัตว์ป่าสร้างได้ …” ทั้งที่ตัวเองนั้นแหละ พลิกลิ้น ตีสองหน้า มานานกว่า ๑๐ ปีจนคนจับได้คาหนังคาเขา ทั้งที่การเปิดเผยข้อมูล มันง่ายเสียยิ่งกว่าอะไร
ผมถึงบอกไงว่า ผู้จัดการที่ฉ้อฉล กับนักการเมืองที่ชั่วราย มันจะฮุบมรดก และป่าไม้ของชาติเป็นของตัวเอง ครอบครัวและพรรคพวกมันร่ำรวยกันถ้วนหน้า แต่ชาวประชายากจน เป็นหนี้เป็นสินและ น้ำท่วมซ้ำซากซ้ำเติม โอ่ มันช่างเป็นเวรกรรมของประชาชนชาวไทย จริงๆ
  4.. หนักเข้า เมื่อจะถูกจับเค้นความจริงอีกครั้ง กลุ่มคนฉ้อฉลก็เริ่มจนแต้ม เหมือนเรื่องฮุบผลประโยชน์จาก ปิโตรเลียม ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง โดยไม่อินังขังขอบกับข้อเท็จจริง คนเหล่านี้ก็เริ่มเบี่ยงประเด็น ปัดสวะ ด้วยเล่ห์เลวร้ายแบบเดิม ๆ
คือใส่ร้ายป้ายสีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกครั้ง
  ด้วยการเอ่ยว่า…บอกความไม่จริงอีกครึ่งไม่ได้ (แต่ไม่ได้บอกว่าส่วนอีกครึ่งที่บอกไปแล้วนั้นเป็นคำโกหก) เขื่อนนี้เป็นเขื่อนโนโครงการพระราชดำริ เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนมีการเชื่อมโยง Link กันให้วุ่นวาย
 ถึงแม้จะเป็นโครงการในพระราชดำริจริง ประชาชนส่วนใหญ่ประท้วง ต่อสู้และปกป้องการทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า เพื่อเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ขนาด อจ.ศศิน เฉลิมลาภ ยอมทุกข์ทรมาน เดินประท้วงเป็นระยะทางนับร้อยกิโล
 ผมสามารถพูดได้เต็มปาก ว่า ถึงแม้โครงการนี้ดีเช่นไร (ตามโฆษณา จากคนที่อยากจะสร้าง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ให้สร้างแน่นอน เพราะทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
เมื่อมีเหตุการณ์วุ่นวายเช่นนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ของกรมชลประทาน จะดีเด่นขนาดไหนที่รัฐฯ ออกมาโกหกประชาชนเช่นไร
ถ้าประชาชนเดือดร้อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีทศพิธราชธรรม จะทรงฟังเสียงของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ และเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ของแผ่นดินเป็นหลัก
มิใช่ทรงฟังส่วนน้อย เพราะทรงได้มีพระปฐมบรมราชโองการในวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไว้แล้ว และพระองค์มิได้มองถึงผลประโยชน์ในการสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือในโครงการพระราชดำริทุกๆโครงการ
ไม่ว่า โครงการของกรมชลประทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงแต่ทรงวางแนวทางให้เท่านั้น
 และทุกๆโครงการ พระองค์จะทำเพื่อ ความผาสุกของประชาชนของพระองค์ มิได้ทรงหวังเศษๆเงิน (หรือก้อนใหญ่ๆ) ของงบประมาณของโครงการ เพราะฉะนั้นคนที่ออกมาพูดไม่ว่าจากฟากรัฐบาล หรือ บรรดานักวิชาการทั้งหลาย
 ขอความกรุณาโปรดกรุณาอย่าโยง โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ว่านี่เป็นโครงการในพระราชดำริ
 ถ้าจะพูดก็ขอให้พูดความจริงให้หมด อย่าครึ่งๆกลาง แฝงด้วยยาพิษ ใส่ร้ายองค์พระประมุขของพวกเรา ให้ประชาชนเข้าใจผิดๆได้
  และขอให้ย้อนกลับไปดู พระปฐมบรมราชโองการ ซะ ผมขอร้องทุกๆฝ่ายด้วยมิตรไมตรีนะครับ
 อย่าเอาการเมืองและผลประโยชน์มาโยงกับสถาบันฯ
 คนไทยที่รัก พวกเราหลงกลนักการเมืองชั่วร้ายและผู้จัดการฉ้อฉลอีกแล้ว….
 มันกำลังเสี้ยม ให้เกิดขัดแย้งระหว่างคนจับทุจริตฉ้อฉล EHIA ให้เข้าใจผิดในสถาบันฯ
 ผมจงใจและปรามาสเลยว่า นี่คือเล่ห์เลว ของคนที่กล่าวเช่นนั้น
 เรากำลังตรวจสอบ EHIA ที่ฉ้อฉล เราต้องการจับคนโกง EHIA เหล่านี้ อย่างไร้ยางอาย
 ขอบคุณ อ.ศศิน เฉลิมลาภและคณะที่กล่าวชัดเจนว่า เราต่อต้าน EHIA ที่ฉ้อฉล ไม่ใช่เขื่อนหรือไม่ใช่น้ำท่วมหรือไม่ท่วม
 ผมอยากบอกให้คนไทยรู้ทัน นักการเมืองเจ้าเล่ห์พวกนี้ว่า ถ้าเป็นโครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่านจริง ยกเลิกง่ายมากครับ
  The King Can do No Wrong มิใช่แปลว่า กษัตริย์ทำอะไรก็ไม่ผิด แต่หมายถึง กษัตริย์จะระมัดระวัง และทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง ต่างหาก
  ดังนั้น ถ้ารัฐบาลยืนยันว่า โครงการเหล่านี้ เป็นของในหลวงจริง รัฐบาลไม่มีอำนาจละก็ เข้าล็อค
 ผมพูดในฐานะพวกเราที่จงรักภักดีต่อสถาบันและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเปรียบ เหมือนเป็นลูกๆของพระองค์ท่านว่า ถ้าโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นของพ่อจริง เผลอๆ พวกเราจะได้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท คืนให้คนไทยทุกคน ครบทุกบาท ทุกสตางค์โดยพวกเราประชาชนทั้งหลายไม่ต้องเป็นหนี้เลยด้วยซ้ำไป
  เกรงแต่ว่า ผู้จัดการฉ้อฉล ที่ชอบแอบอ้างและผ่องถ่ายให้ลูกเมีย ครอบครัวของมันนั้น มันจะแบ่งหัวคิวกันไปเรียบร้อยแล้ว หัวเด็ดตีนขาด มันจะตีกันทุกวิธี และฮุบไว้ทำเองในฐานะผู้ได้รับคัดเลือกน่ะสิ
ไอ้ที่มาเยิ้ว เยิ้ว กันนั้น ล้วนแต่เป็นพวกตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ เพื่อมาหลอกให้พวกเรา ไม่ว่าเสื้อแดง เสื้อเหลือง นักอนุรักษ์ นักวิชาการที่ดีและชั่วทั้งสองฝ่าย ตลอดจนประชาชนที่หาเช้า กินค่ำแบบพวกเรา มาฆ่ากันเอง เพื่อผลประโยชน์ของพรรคพวกเค้า.
……………………………………………………………..
ที่มา : บางส่วนจากบทความในเฟซบุ๊ค พลตรี ม.จ.จุลเจิม ยุคล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙