วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พ่อมองเห็นเราเสมอ


เมื่อปี 2547 เด็กหญิงกตัญญูผู้หนึ่ง ได้เขียนจดหมายถวายฎีกาถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หลังจากที่เธอคิดว่าตนเองคงหมดที่พึ่งแล้ว เนื้อหาในจดหมายได้ขอให้พระองค์ท่านช่วยเหลือมารดาของเธอที่ป่วยเป็นอัมพาตมานาน ต้องเผชิญชะตากรรมหลังจากพ่อเสียชีวิตเมื่อหลายปีก่อน

ขณะที่ฐานะครอบครัวยากจน ไม่มีบ้านอยู่อาศัยต้องใช้ยุ้งข้าวของเพื่อนบ้านเป็นที่พักพิง เด็กหญิงผู้นี้เธอมีชื่อว่ามาลัยรัตน์ มั่นสัมฤทธิ์ หรือน้องต้น ราษฎรผู้จงรักภักดีแห่งตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร

ด้วยวัยที่ 12 ปี ในขณะนั้น มาลัยรัตน์ได้เขียนจดหมายถวายฎีกาด้วยกระดาษแผ่นหนึ่ง กระดาษที่ไม่มีตราครุฑ ไม่มีตราประทับใดๆ ไม่มีแม้กระทั่งซองบรรจุ หรือแสตมป์สักดวง จะมีก็แต่ความหวังริบหรี่กลางความมืดอันห่างไกล

“เขียนที่ บ้านเลขที่ 130 หมู่ 6 ต.หัวดง อ.เมือง จ.พิจิตร ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2547 เรื่อง ขอพระราชทานความเมตตาธรรม ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ขอบรมวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ หม่อมฉัน เด็กหญิงมาลัยรัตน์ มั่นสัมฤทธิ์ อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 130 หมู่ 6 ต.หัวดง อ.เมือง จ.พิจิตร

แม่ชื่อนางละเมียด มั่นสัมฤทธิ์ เป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ส่วนพ่อตายตั้งแต่หนูอายุได้ 1 ขวบ ขณะนี้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดธงไทยยาราม อยู่ชั้น ม.1 ต.ห้วยเกตุ อ.เมือง จ.พิจิตร ยากจนมาก ต้องอาศัยเพื่อนบ้านให้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม หนูหมดที่พึ่งขอพึ่งพระบารมีพระองค์ท่านเป็นที่สุดท้ายของชีวิต ทั้งเรื่องการศึกษา อาหาร

หนูอยากเรียนสูงๆ แต่ก็ไม่มีที่พึ่ง จึงขอบารมีพระองค์ท่านเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของหนูและแม่ ทุกวันนี้อาศัยยุ้งข้าวเพื่อนบ้านอยู่ ขอกราบเบื้องยุคลบาทคุณพ่อหลวงมา ณ โอกาสนี้”

เธอได้ฝากจดหมายฉบับนั้นไปกับชายคนหนึ่งที่กำลังจะเข้ากรุงเทพฯ ด้วยความหวังว่าจะให้เขาช่วยนำความฝันครั้งนี้ให้ถึงพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่แล้วก็เหมือนปาฏิหาริย์ เมื่อในวันหนึ่งทางสำนักพระราชวังได้มีจดหมายตอบกลับมาถึงมาลัยรัตน์ว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรู้ถึงความทุกข์ยากของเธอแล้ว และทรงยินดีที่จะรับเธอและแม่ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมทั้งจะส่งเสียให้เธอได้เล่าเรียน เพื่อให้สมกับความดีและความกตัญญู ยังความปลาบปลื้มให้แก่เด็กหญิงมาลัยรัตน์และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

ณ วันนี้ น้องต้นหรือเด็กหญิงมาลัยรัตน์ และ แม่ของเธอได้มีบ้าน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนั้น แต่ถึงกระนั้นมาลัยรัตน์ก็ยังคงเขียนจดหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนา วันเฉลิมพระชนมพรรษา

และวันที่พระองค์ทรงพระประชวร เธอได้เขียนจดหมายทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงหายพระประชวรโดยเร็ว เพื่อกลับมาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับคนไทยทั้งประเทศอีกครั้ง

ที่มา:จากหนังสือแผ่นดินของพ่อ

มูลนิธิสายใจไทยเพื่อคนพิการ


ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ด้วยวันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 เป็นวันคนพิการแห่งชาติ ผมขอนำเรียนทุกท่านเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงมีต่อคนพิการในสังคม

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ โดยได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลจากมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ดังนี้

ขอเริ่มต้นจากการอัญเชิญพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า

“…งานช่วยเหลือคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็นผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเองถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถที่ปฏิบัติงานอะไร เพื่อชีวิตและเศรษฐกิจของครอบครัวจะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัวหนักแก่ส่วนรวมฉะนั้นนโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อจะทำให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม…”


เพื่อสนองแนวพระราชดำริและเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทจากพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดูแลคนพิการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดให้วันเสาร์สัปดาห์ที่สองในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันคนพิการ เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้พบปะกัน และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนแสดงความสามารถในด้านต่างๆ และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการบำบัด รักษา การป้องกันและฟื้นฟู สมรรถภาพให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงศักยภาพ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของคนพิการว่าสามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

ทั้งนี้ จากการศึกษาพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพบว่าทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคคลกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก โดยคนพิการนั้น มีความหมายครอบคลุมถึง กลุ่มบุคคลที่มีร่างกายผิดปกติ ได้แก่ คนตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ ขาด้วน แขนขาด เป็นต้น  และกลุ่มบุคคลที่พิการเนื่องมาจากการสู้รบเพื่อป้องกันประเทศชาติ ได้แก่ ทหาร และราษฎรอาสาสมัคร เป็นต้น

ในการดูแลบุคคลกลุ่มหลังที่พิการเนื่องมาจากการสู้รับเพื่อป้องกันประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหารที่บาดเจ็บในสนามรบที่โรงพยาบาล และเมื่อทหารและตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ ก็ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ข้าราชบริพารฝ่ายในผลัดเปลี่ยนกันไปเยี่ยมเยียนดูแล ผู้ที่หายป่วยแล้วแต่พิการ ก็ทรงติดตามดูแลช่วยเหลือให้มีอาชีพ


ดังจะเห็นได้จากพระราชดำริให้ตั้ง มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นวันก่อตั้งมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์นี้ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้ทรงมีพระราชดำรัสในวันคล้ายวันพระราชสมภพและวันก่อตั้งมูลนิธิสายใจไทยฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2518 ความตอนหนึ่งว่า

“…ในวันที่ 2 เมษายน 2518 อันเป็นวันเกิดของข้าพเจ้า แทนที่จะทำบุญเลี้ยงพระเช่นเคย ข้าพเจ้าได้รวบรวมเงินเพื่อที่จะช่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่บาดเจ็บพิการ และเสียชีวิตจากการต่อสู้ป้องกัน ประเทศชาติ… 2 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันสายใจไทย ข้าพเจ้าจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันบริจาคสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย ฯ นี้ โดยส่งเป็นเงินได้ที่มูลนิธิสายใจไทย ฯ…”

มูลนิธิสายใจไทยฯ มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อสงเคราะห์คนพิการอันเนื่องมาจากการสู้รบและดูแลครอบครัวคนพิการเหล่านั้น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินทุนแรกเริ่มจำนวน 50,000 บาท รวมกับเงินส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกจำนวน 50,000  บาท และทรงมอบให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธานของมูลนิธิสายใจไทยฯ

นอกจากจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทหาร ตำรวจ ราษฎรอาสาสมัครที่เสียชีวิต บาดเจ็บและพิการแล้ว มูลนิธิสายใจไทยฯ ยังฝึกสอนวิชาชีพ ให้แก่ทหารตำรวจและอาสาสมัครที่พิการ และนำผลงานออกจำหน่ายเป็นรายได้ให้แก่ผู้พิการเหล่านี้ด้วย โดยมูลนิธิสายใจไทยฯ ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ ที่ทำการของมูลนิธิฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์ประธานของมูลนิธิสายใจไทยฯ ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับคุณภาพการผลิตสินค้าของมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551  ความตอนหนึ่งว่า

“…ขอให้ทุกคนได้รักษาฝีมืออย่างนี้เอาไว้ เพื่อที่จะให้คนที่ซื้อของเรา เขาซื้อด้วยคุณภาพและฝีมือ ไม่ใช่ซื้อเพราะเป็นของมูลนิธิสายใจไทยฯ หรือเพราะความสงสาร สำหรับคนที่มาใหม่ ขอให้ดูรุ่นเก่าๆ ที่ดี เอาไว้เป็นตัวอย่าง…”


สินค้าของมูลนิธิสายใจไทยฯ ที่จัดจำหน่าย ประกอบด้วย สินค้าประเภทต่างๆ ที่หลากหลาย ดังนี้

 ประเภทแรก คือ งานเครื่องหนัง ได้แก่ เครื่องหนังแท้ เครื่องหนังเทียม เครื่องหนังประกอบผ้าทอมือ ขีต ผ้าไหม เครื่องสาน เย็บด้วยฝีมือประณีตสวยงาม

 ประเภทที่สอง คือ งานทำลวดลายบนแก้ว โดยมีแก้วรูปทรงต่างๆ ที่สลักลวดลายอย่างสวยงาม แพรวพราววิจิตร ตามลักษณะรูปทรง เช่น แจกัน โถ เหยือกจาน ของที่ระลึกต่างๆ

 ประเภทที่สาม คือ งานพู่กันระบายสี ได้แก่ งานระบายสีบนกระเบื้องเคลือบที่ต้องใช้เตาเผา และระบายสีบนวัสดุอื่นๆ เช่น ไม้ หนัง แก้ว โลหะ ดินเผาเป็นงานที่มีลวดลายสีสันสวยงาม

 ประเภทที่สี่ คือ งานไม้ ได้แก่ งานที่นำวัตถุดิบจากไม้ มาทำเป็นส่วนประกอบในชิ้นงานอื่นๆ เช่น ถาด โครงกระเป๋า และหูกระเป๋า เป็นต้น

ประเภทที่ห้า คือ งานตัดเย็บ โดยมีการประดิษฐ์ผ้าห่ม รับทำงานตัดเย็บต่างๆ สินค้าพิเศษที่มูลนิธิฯ จัดทำ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานฝึกอาชีพ เช่น หมอนอิงภาพทอพิเศษ

ประเภทที่หก คือ งานผลิตภัณฑ์การเกษตร เช่น ผักไร้ดิน ดอกไม้ เป็นต้นนอกจากนี้ มูลนิธิสายใจไทยฯ ยังได้จัดทำสินค้าอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานฝึกอาชีพ เช่น บัตร ส.ค.ส. บัตรเอนกประสงค์ การจัดสินค้าตามเทศกาลต่างๆ อีกด้วย

ท่านผู้สนใจสามารถบริจาค เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของมูลนิธิสายใจไทยฯ ได้ที่ทำการของมูลนิธิฯ สาขาต่างๆ ได้แก่ ที่เขตพญาไท ติดต่อได้ที่  306/1 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400

หรือติดต่อที่หมายเลข 0 2354 5996-7 และที่เขตบางนา ติดต่อได้ที่ มูลนิธิสายใจไทยฯ เลขที่ 265 ถนนสรรพาวุธ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

หรือติดต่อที่หมายเลข 0 2183 5115 และที่ศูนย์ราชการ ติดต่อได้ที่ อาคาร B ชั้น 1 ฝั่ง กกต. ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ หรือติดต่อได้ที่หมายเลข 0 2143 9543

พระเกียรติยศแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีผู้งามที่สุดในโลก
ครั้งหนึ่งในปี 2503 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนประเทศโปรตุเกส หนังสือพิมพ์ที่นั่นพาดหัวตัวใหญ่ว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีผู้งามที่สุดในโลก” ความข้อนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสายตาพสกนิกรทั่วโลก แต่ความงามนี้เป็นเพียงความงดงามภายนอก


และความงามภายนอกไม่อาจเทียบเท่าความงามภายในที่ทรงสั่งสมมาตั้งแต่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจเคียงข้างพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นความงามที่โลกร่ำลือ และกราบคารวะน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ เป็นความงามที่เพียบพร้อม และยังไม่อาจมีผู้ใดเสมอเหมือน ดังจะดูได้จากรางวัลต่างๆที่ทรงได้รับจากสถาบันอันทรงเกียรติทั้งในและนอกประเทศ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประเทศชาติ ศาสนา และปวงชน เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมาโดยตลอด เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระสวามีในการอุปถัมภ์บำรุงพสกนิกร ให้มีความอยู่ดีกินดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีการศึกษา มีความมั่นใจในการประกอบอาชีพการงาน มีความรักชาติบ้านเมือง และนิยมในศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ


ทั้งยังทรงดูแลไปถึงสภาพแวดล้อม และอนุรักษ์สรรพสิ่ง พระมหากรุณาธิคุณนี้ไม่เลือกเพศ ผิวพรรณ และชาติชั้นวรรณะใดๆ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และด้วยน้ำพระทัยอันเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านเป็นที่ประจักษ์ต่อคนไทยทั้งชาติ ทั้งยังเลื่องลือไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย

พระเกียรติคุณแห่งพระราชกรณียกิจอเนกประการนี้ เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและนอกประเทศทั่วโลก จึงมีผู้ขอทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาและรางวัลเกียรติยศเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณเป็นอันมาก


เหรียญเซเรส (Ceres Medal) เป็นรางวัลที่ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มอบแด่สุภาพสตรีที่มีส่วนช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของสตรีทั้งปวง

ดังคำจารึกที่ด้านหลังเหรียญเซเรสมีว่า “TO GIVE WITHOUT DISCRIMINATION” หรือในภาษาไทยว่า “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง” อันเป็นคติประจำพระทัยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

โดยทางผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเซเรส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2522 แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อันเนื่องมาจากการที่ทรงเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล และทรงพยายามที่จะยกระดับเศรษฐกิจกับสวัสดิการทางสังคม

ดังความตอนหนึ่งในคำประกาศสดุดีว่า “โดยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย มีพระราชหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม พระราชทานพระมหากรุณาอนุเคราะห์เกื้อกูลพสกนิกรชาวไทยทั้งมวลอยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขัดสนจนยากในท้องถิ่นชนบท ดังเห็นได้จากการที่ทรงทุ่มเทอุทิศทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกำลังพระวรกาย หรือกำลังทรัพย์ โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระองค์เองเลยแม้แต่น้อย พระราชทานความร่วมมือแก่องค์การสังคมสงเคราะห์กับองค์การกุศลต่างๆ อันมุ่งที่จะหาทางบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนที่ยากจนทั้งหลาย โดยจัดหาอาหารเลี้ยงดูผู้อดอยากขาดแคลน ตลอดจนแสวงหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่มีอันต้องตกระกำลำบาก รวมทั้งบรรดาเด็กกำพร้าที่ไร้ญาติขาดมิตรทั้งหลายทั้งปวง”


นักอนุรักษ์ดีเด่นด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้นทรงงานร่วมกับ WWF ประเทศไทยมายาวนาน MR. Russel Train ประธานกรรมการบริหารของกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งโลก จึงทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเทิดพระเกียรติ ในวโรกาสที่ทรงได้รับเลือกเป็นนักอนุรักษ์ดีเด่นด้านอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2529 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน


ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้กับองค์กรดังกล่าว ทั้งยังทรงริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อหาทุนช่วย WWF นอกจากนี้ทาง WWF ยังได้มีส่วนช่วยสนับสนุนโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่ม นั่นคือโครงการอนุรักษ์ช้าง และโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลบนเกาะมันใน โดยมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเป็นผู้นำที่ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และทรงพยายามที่จะทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น ทั้งสำหรับมนุษย์และธรรมชาติ


สมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอน

“เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศในพระมหากรุณาธิคุณ พระวิริยะอุตสาหะ และพระเกียรติคุณด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและสังคมที่พระราชทานแก่พสกนิกร เพื่อช่วยลดปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วย และส่งเสริมสุขภาพอนามัยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในขบวนเสด็จ ที่ให้บริการแก่ประชาชนที่ยากจนเป็นประโยชน์แก่ประชาชนเอง และสร้างความจรรโลงใจให้อายุรแพทย์และแพทย์ทั้งหลายสนใจที่จะปฏิบัติงานในชนบทมากขึ้นกว่าเดิม”


นี่คือส่วนหนึ่งของข้อความในประกาศพระเกียรติคุณที่ทางราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอน (The Royal College of Physician of London) ทูลเกล้าฯ ถวายพร้อมกับสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ (The Honorary Fellowship of the Royal College of Physician of London) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

เหรียญบุโรพุทโธทองคำ
เหรียญบุโรพุทโธทองคำ (Unesco Borobudur Gold Medal) นั้น เป็นเหรียญที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Unesco) สร้างขึ้นเมื่อปี 2519 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการผดุงรักษาไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของประชาคมโลก


วันที่ 30 มกราคม 2535 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิสเตอร์เฟเดอริโก้ มายอร์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Unesco) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญบุโรพุทโธทองคำ ในงานมรดกสิ่งทอของเอเชีย ดังความในคำประกาศสดุดีตอนหนึ่งว่า

“พระราชกรณียกิจของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่ทรงมีต่องานศิลปหัตถกรรมนั้น นอกจากจะเป็นการฟื้นชีวิตแก่ผู้ยากไร้แล้ว ยังช่วยให้ช่างทั้งหลายมีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งหากปราศจากพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว งานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ก็คงจะสูญสิ้นไป จึงนับได้ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พัฒนางานศิลปาชีพอย่างสมบูรณ์ ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติที่ได้ดำเนินมาทั่วโลกคือ การส่งเสริมพัฒนาการของประเทศตามแนววัฒนธรรม เป้าหมายที่มีร่วมกันคือ การจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณประโยชน์แก่มวลชน”


UNICEF Special Recognition Award

เหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขององค์การกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ตั้งอยู่บนฐานไม้ซึ่งสลักคำสดุดีไว้ว่า

“To Her Majesty Queen Sirikit In Recognition of Her Dedication and Profound Commitments to Improving the Lives of Mothers and Children in Thailand”

องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2535 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ระสานงานและดำเนินการจัดถวาย

ความในคำสดุดีพระเกียรติ ซึ่งมิสซิสคาริน ชัมพู รองผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าวตอนหนึ่งว่า “ในช่วงเวลา 42 ปี นับแต่ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรไทย เด็กและแม่นับล้านๆคน ได้รับประโยชน์จากบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ อาทิเช่น บริการสาธารณสุข การศึกษาและการส่งเสริมอาชีพ โดยผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิหรือโครงการทั้งหลายภายใต้พระบรมราชินูปถัมภ์ และรวมทั้งที่เป็นผลจากกระแสพระราชเสาวนีย์และพระราชดำริต่างๆด้วย”

รางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ
ในวันเดียวกันนั้นเองคือ วันที่ 2 สิงหาคม 2535 กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) ก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร อันเป็นรางวัลสากลที่ยูนิเฟมมอบแด่ผู้นำที่แสดงให้ประจักษ์ชัดถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะส่งเสริมบทบาทของสตรีละประกอบกิจกรรมด้านนี้อย่างเป็นเลิศ


มิสซิส Sharon Capling – Alakya ผู้อำนวยการกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล โดยมีข้อความในคำประกาศพระเกียรติคุณตอนหนึ่งว่า

“ความห่วงใยของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททั้งในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและในด้านสิ่งแวดล้อม ได้ช่วยให้สตรีไทยได้ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น สตรีเป็นผู้พิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ การที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเข้าพระราชหฤทัย และทรงตระหนักดีถึงความสำคัญของบทบาทสตรีในด้านนี้ ได้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้ชนในชาติได้รับรู้ถึงบทบาทของสตรีไทยที่มีส่วนส่งเสริมพัฒนาการของประเทศ”

บทความจาก นิตยสาร Hello

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความเป็นอยู่ของราษฎร คือ อุดมการณ์ในพระราชหฤทัย..ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 100 – 200 มาตรา


80ปี ก่อนตอนคนปล้นชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ยังไม่มีสำนึกว่า…ทำผิดมหันต์แก่ราษฎรและชาติบ้านเมือง..(วันนั้น)

คำเตือนวันนั้นว่ายังไมถึงเวลาถูกประณามว่าเป็นคำเรียกร้องของผู้สูญเสียอำนาจจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช…

กลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเรียนรู้จากเมืองนอกเมืองนาจนเจนจบศาสตร์แห่งการปกครองแล้ว..จนมองข้ามความปรารถนาดีของคนที่อยู่กับการปกครองมา 200 ปี

มันน่าสลดใจ…เสียใจจริงๆ….ผมอยากร้องตะโกนอีกครั้งว่า….

…พระมหากษัตริย์ของไทยเราทุกพระองค์ทรงรู้จักหน้าที่ของพระองค์เองดีว่าไม่เคยทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดและทรงเข้าพระทัย (ใจ) ในหน้าที่ของพระองค์ว่าคือดูแลและรักษาสมดุลของผู้มีอำนาจในสมัยก่อนอาทิเจ้าพระยาพระยา………ให้ทุกคนปฏิบัติต่อราษฎรของพระองค์อย่างดีให้ราษฎรมีความผาสุก

พระมหากษัตริย์อยู่กับพระราชอำนาจทรงเรียนรู้มาอย่างยาวนานว่าปัญหาของอำนาจคืออะไรคุณค่าของอำนาจคืออะไรและสิ่งควบคุมอำนาจได้คืออะไร…สายพระเนตรของพระมหากษัตริย์เล็งเห็นไกลไปเกือบร้อยปี

…ไม่ใช่เป็นกฤษดาภินิหารแต่คือประสบการณ์ของจริงที่พระองค์ทรงแลกมาด้วยเลือดเนื้อของบรรพบุรุษไทยในอดีตตลอด 700 ปีที่ผ่านมา…

ถึงวันนี้ผู้คนบางคนได้เสวยอำนาจใช้อำนาจและเริ่มหลงกับอำนาจถึงขั้นจะเหลิงอำนาจแล้ว..ผมอยากบอกดังๆถือเป็นการเตือนสติก่อนบ้านเมืองจะล่มจมไปมากกว่านี้ในความเหิมเกริมของนักการเมืองถึงขนาด“ขาดสติทำเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งอาจเป็นการเสี่ยงต่อความเสื่อมของพระมหากษัตริย์!”เรื่องอะไรพวกเราก็รู้ๆอยู่อย่าคิดว่าขอแค่ชนะในเกมชิงอำนาจการเมืองของท่านทั้งหลายเท่านั้นก็พอ

..ผมอยากบอกดังๆถือเป็นการเตือนสติก่อนบ้างเมืองจะล่มจม…
หยุดทะเลาะกัน..นับแต่…เดี๋ยวนี้เสียเถิด…

ความเป็นอยู่ของราษฎรคืออุดมการณ์การปกครองในพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 100 - 200 มาตรา

ความอยู่ดีมีสุขของราษฎรคือความมั่นคงของชาติยิ่งกว่าที่มาส.ส.ส.ว.องค์กรอิสระหรือกติกาการเลือกตั้งที่เล่นเป็นลิเกให้นายโรงสนุกสนานให้คนบ้าใบเต้นแร้งเต้นกาเต้นกันอยู่ขณะนี้

น้ำท่วมกว่า 30 จังหวัดครอบครัวไทยนับหมื่นๆครอบครัวตกทุกข์ได้ยากจากน้ำท่วมและกำลังจะมีพายุใหญ่อีกระลอกมา…นี่คือปัญหาสำคัญของชาติของประเทศไทย

สหกรณ์ครูที่ล่มไปนานหลายปี(ก่อนจะล่มอีก๖๐กว่าสหกรณ์)ก่อความเดือดร้อนแก่ครอบครัวครูนับหมื่น(อีกนับแสนในไม่ช้า)คือปัญหาสำคัญของชาติและของประเทศไทย

ราษฎรยากจนขาดหมอขาดยาขาดอาหารขาดความมั่นคงในอาชีพที่อยู่และเครื่องนุ่งห่มนี่คือปัญหาของชาติของประเทศไทย

ขุนเขาป่าไม้น้ำมันแม่น้ำลำธารทะเลทุกตารางนิ้วและทรัพยากรทั้งหลายที่อยู่บนดินใต้ดินและบนฟ้าคือสมบัติของลูกหลานทุกคนแต่ถูกโกงกินเป็นของส่วนตัวและพวกพ้องคือปัญหาของชาติของประเทศไทย
กฎหมายตามอำเภอใจศีลธรรมถูกมองข้ามความถูก-ผิดถูกละเลยคือต้นเหตุชาติฉิบหาย

ผมเชื่อมั่นเอาศีรษะเป็นประกันได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงแม้ตอนนี้ทรงพระประชวรทรงพระชนมายุมากแต่ในพระราชหฤทัยทรงเป็นห่วงประชาชนอยู่ตลอดเวลาว่าประชาชนของพระองค์ท่านตอนนี้ตกทุกข์ได้ยากจากน้ำท่วมบ้านเรือนของเขาและความแร้นแค้นในชีวิตอย่างไรจะทรงหาวิธีการแก้ไขได้อย่างไร

พระองค์เคยมีพระราชดำริที่ทรงเคยให้ไว้เกี่ยวกับวาตภัยอุทกภัยน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็มีแต่รับทราบพะยะคะ,พะยะครับหาได้ตอบสนองตามพระราชดำริที่พระองค์ทรงแนะถึงจะทำกันบ้างก็น้อยนิด
แต่ถ้ามีผลประโยชน์ก้อนโตเข้ามาเกี่ยวข้องก็รีบจะทำกันไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่เมื่อประชาชนรู้ทันลุกขึ้นมาคัดค้านหนักๆเข้าก็มาโบ้ย(โยน)เข้าใส่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นโครงของพระองค์ท่านเพื่อเอาพระบารมีมาปกป้องตัวเอง

รัฐธรรมนูญที่อ้างกันว่าเป็นกฎหมายสูงสุดนั้นพวกเราฉีกทิ้งกันจนนับไม่ถ้วนแล้ว

ถึงวันนี้ผู้คนได้เสวยอำนาจใช้อำนาจและเริ่มหลงกับอำนาจถึงขั้นจะเหลิงอำนาจแล้วท่านเหล่านั้นควรจะรู้ตัวเองว่าควรทำหรือควรเลิกทำอะไรได้แล้ว…ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ข้อความที่เขียนไว้หรือไม่เขียนไว้..หรือมีมติรับรองหรือไม่รับรองหรอก…มันอยู่ที่“สันดาน”คนต่างหาก

พวกเรายอมรับความจริงเถิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกปล้นพระราชอำนาจไปนานหนักหนาแล้วทุกวันนี้เราหยิบยืมมาเพื่อสร้างภาพให้การเมืองดูว่าถูกต้องเท่านั้นทั้งที่นักการเมืองไม่เคยรับผิดชอบต่อปัญหาของชาติที่กล่าวมาข้างต้นเลยสักครั้ง

ไม่เคยยอมให้ราษฎรเป็นเจ้าของประเทศจริงๆไม่ยอมรับสิทธิเสรีภาพไม่เคยกระจายการปกครองอย่างแท้จริง(ไม่ต้องพูดถึงที่เป็นหน้าที่อันควรทำของผู้ปกครองอีกนับไม่ถ้วน)

80ปี ไม่เคยแก้ไขทุกข์ยากราษฎรอย่างจริงจังกันเลย..

บัดนี้สถาบันกษัตริย์เหลือเพียงสิ่งเดียวคือพระราชสิทธิสิทธิส่วนตัวที่จะทำอะไรของตนเองบ้างที่ทำแล้วคนอื่นยอมรับด้วยความเคารพต่อกันเยี่ยงมนุษย์

แต่ถ้าจะบังคับให้พระองค์ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องแล้วเกิดไม่ถูกใจรัฐบาลและนักวิชาการและประชาชนที่ชั่วๆบางคนก็ไม่ต้องก่นด่าและอย่าขู่จะล้างโคตรกัน

ในลัทธิการปกครองแบบรัฐธรรมนูญที่เทิดทูนบูชากันราวเทพเจ้านั้นเหลือพื้นที่ไว้ให้พระองค์สักนิดจะได้ไหม????หลายคนอาจไม่เคารพพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ(เพราะมีบางคนพูดว่านายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งรัฐบ้างแล้ว…)ก็ขอให้เคารพต่อพระองค์ในพระราชสิทธิ์เถิด

เชื่อผมเถอะ…ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชสิทธิ์แล้วมีคำตอบแก่รัฐสภาว่า…

“ท่านทั้งหลายเลิกทะเลาะกันได้ไหมพวกท่าน(เธอ)เห็นว่าปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญของพวกท่าน(เธอ)มันยิ่งใหญ่กว่าความเดือดร้อนของราษฎรหรือ…รัฐธรรมนูญของพวกท่านท่าน(เธอ)จะแก้หรือไม่ยังรอได้ราษฎรยังไม่ตายแต่น้ำท่วมและอุทกภัยราษฎรตายตายจริงขอให้เอาจริงกับปัญหาของราษฎรก่อนได้ไหม

ผมอยากรู้จริงๆว่าพวกคุณจะอายไหม…………
……………………………………..
ที่มา:เฟซบุ๊คพลตรีม.จ.จุลเจิมยุคลhttps://www.facebook.com/chulcherm.yugala

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

77 เรื่อง ที่เรา (อาจ) ไม่เคยรู้ เกี่ยวกับ ในหลวง


บทความ เกร็ดความรู้ เรื่องของ ในหลวง ประวัติในหลวง รูปในหลวง ที่เรา(อาจ)ไม่เคยรู้ เป็น บทความ เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ ในหลวง ตั้งแต่เมื่อทรง พระเยาว์ พระอัจฉริยภาพ ในหลวง งานของในหลวง ของทรงโปรด ในหลวง และเรื่องส่วนพระองค์ …  อ่าน บทความ เกร็ดความรู้ เรื่องของ ในหลวง ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ที่นี่ค่ะ


เมื่อทรงพระเยาว์
 1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
 2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
 3.พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
 4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
 5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
 6. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol"หมายเลขประจำตัว 449
 7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า "แม่"
 8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
 9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม    
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า"บ๊อบบี้"
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจด อะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุก ขึ้นบ่อยๆ
13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" เอาไว้ 
หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุม เพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำ อะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"
17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง 


พระอัจฉริยภาพ
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก "การเล่น" สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บ สตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทยโดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทย
เป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ ***บเพลง (แอกคอร์เดียน)
22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสม ส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24. ทรงพระราชนิพนธ์พลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ "แสงเทียน" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์ เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซอง จดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง "เราสู้"
26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่ 5
27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้ มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์" และ "ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ "พระมหาชนก" ทรงพิมพ์ลง ในเครื่องคอมพิวเตอร์
29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบ ประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬาซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536
33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็น พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 
เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง 


เรื่องส่วนพระองค์
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า "น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท หลังอภิเษกสมรส ทรง"ฮันนีมูน"ที่หัวหิน
38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจาก น้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดี ีแก่ประเทศชาติ
43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ เมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง


งานของในหลวง
45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอ ที่มียางลบ
47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนักข้าราชการ และราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ ที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า "ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก 
บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ
53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้
ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน 


ของทรงโปรด
54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง 
แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที ่ จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่าน
นิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย 
นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ 
โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว


รู้หรือไม่ ?
65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "นายหลวง" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า "ทำราชการ"
68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง 
ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน
ชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้ 
บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า"อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก"
70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิง
ติดต่อกันหลายปี
72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค 
มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน
74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง 
ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระเกษมสำราญ มีพระพลานมัยแข็งแรงสมบูรณ์ ทรงหายจากอาการพระประชวร มีพระชนม์ยิ่งยืนนาน 

เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ.

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ 
ข้าพระพุทธเจ้าคณะข้าราชการและลูกจ้างพร้อมครอบครัวเรือนจำจังหวัดหนองบัวลำภู

อ้างอิงจาก http://www.correct.go.th/popnogb/About/m111.html

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย



สถาบันพระมหากษัตริย์
 
สถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่เหนือการเมืองและการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และชอบที่จะให้มีการเมืองที่มีเสถียรภาพ มีนิติรัฐและความผาสุก ถ้าการเมืองมีความมั่นคงแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเสถียรภาพไปด้วย ถ้าการเมืองไม่มั่นคงหรือมีความปั่นป่วนในสังคม สถาบันพระมหากษัตริย์จะไม่มั่นคงตามไปด้วย
 
สถาบันพระมหากษัตริย์จะรู้สึกไม่เป็นปกติทุกครั้งที่ประเทศไทยไร้เสถียรภาพซึ่งเป็นขอเท็จจริงที่สำคัญ สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจเข้ากับฝ่ายใดได้เนื่องจากจะเสียความเป็นกลาง สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการรบกวนจากการที่มีการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานในปี พ.ศ.๒๕๔๗ เนื่องจากไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และขณะนี้สถาบันฯ ก็ได้รับการรบกวนอีกครั้งจากทุกฝ่ายในความขัดแย้งครั้งนี้เนื่องจากทุกฝ่ายไม่ได้ใช้ปัญญาหรือแสดงความเสียสละเพื่อประเทศชาติเพื่อให้ประเทศชาติสามารถก้าวต่อไปบนทิศทางที่ควร
 
สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและแม้ว่าจะมีหนังสือบางเล่มพยามยามให้เราเข้าใจเป็นอย่างอื่น แต่ความจริงแล้วประชาธิปไตยที่อ่อนแอและนิติรัฐที่อ่อนแอจะส่งผลร้ายต่อความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เท่าเทียมกัน กล่าวโดยสรุปแล้ว ถ้ามีดุลยภาพในระบบของไทยและประชาชนชาวไทยมีความสุขและปรองดองกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเสถียรภาพตามไปด้วย สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถจะอยู่ร่วมกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในสภาพแวดล้อมของไทยได้
 
สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ต้องการการเมืองที่ไม่มีความมั่นคงเพื่อที่จะได้เลือกข้างกองทัพเพื่อให้มาปกป้อง“ผลประโยชน์และอภิสิทธิ” อย่างที่นิตยสารดิอีโคนอมิสต์ได้กล่าวอ้างอย่างผิดๆ การเมืองที่ไม่มีเสถียรจะส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน  ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ต้องการความมีเสถียรทางการเมืองในประเทศรอบข้าง เช่น ลาว กัมพูชา มาเลเซีย หรือพม่า ประเทศไทยจะไม่มีเสถียรภาพถ้าเพื่อนบ้านไร้เสถียรภาพทางการเมืองหรือมีเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ถ้าเพื่อนบ้านของไทยมีเสถียรภาพและความรุ่งเรือง ไทยก็จะได้รับประโยชน์จากเสถียรภาพและความรุ่งเรืองนั้นไปด้วย
 
สหรัฐอเมริกาก็ต้องการให้เม็กซิโกมีสุขภาพและเสถียรภาพที่ดี และไม่ต้องการเห็นวิกฤติเปโซครั้งต่อไป
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันอื่นในประเทศไทยควรจะได้รับการพิจารณาจากมุมมองนี้ ถ้ามีดุลยภาพในสังคมไทยและสถาบันต่างๆ มีความเข้มแข็งภายใต้หลักนิติรัฐแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเสถียรภาพตามไปด้วย
บทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงดำรงความเป็นกลาง โดยทรงปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและรัฐธรรมนูญ ทรงตักเตือนหลายครั้งให้ชาวไทยสามัคคีกันและใช้ปัญญาในการป้องกันไม่ให้ประเทศล่มจม และทรงใช้คำว่า “ล่มจม” หลายครั้ง
 
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชให้ยุบสภาเพื่อยุติปัญหาการเมือง โดยมีนัยยะว่าถ้านักการเมืองไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองได้ก็ควรจะคืนอำนาจสู่พระมหากษัตริย์
หลังจากการเลือกตั้งแล้ว พระมหากษัตริย์ก็จะทรงพระราชทานอำนาจคืนสู่ปวงชนชาวไทยผ่านรัฐสภา ในลักษณะนี้ก็จะมีการคงอยู่ของอำนาจการเมืองไทยตลอดเวลา โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่คงอยู่ตลอดเวลา
 
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงสูญเสียพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชในปี พ.ศ.๒๔๗๕ นั้น ไม่ทรงพระราชทานอำนาจให้แก่บุคคลใด แต่ทรงพระราชทานพระราชอำนาจนั้นให้ปวงชนชาวไทยอย่างเต็มเปี่ยม
 
เมื่อใดก็ตามที่ชาวไทยไม่สามารถตกลงวิกฤติการเมืองกันได้ ก็จะถวายอำนาจคืนให้พระมหากษัตริย์ เพื่อที่จะได้เดินหน้าต่อไปอีกครั้งหนึ่งโดยได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ นี่คือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเทศไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้โอบอุ้ม
 
เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสารฟอร์บส์ ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจว่ากษัตริย์ไทยเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วย ทรัพย์สินมูลค่า 35 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
 
นิตยสารดังกล่าวไม่ทราบว่าทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ การดูแลรักษา เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
2. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดูแลรักษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
3. ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติแผ่นดิน เช่นพระราชวังต่างๆ
 
ดังนั้นการสำรวจทรัพย์สินจึงควรต้องพิจารณา เฉพาะทรัพย์สินส่วนพระองค์ เช่นเดียวกับที่เราคงไม่อาจนับรวมทำเนียบขาวเข้าไปในบรรดาทรัพย์สินของประธานาธิบดีบุชได้ แต่ความร่ำรวยมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดประการใดถ้าความร่ำรวยนั้นไม่ได้มาโดยมิชอบ สำหรับที่ดินในกรุงเทพฯ จำนวนมากที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือครองอยู่นั้นมีเพียงร้อยละ ๗ เท่านั้น ที่ได้จัดประโยชน์เชิงพาณิชย์ ส่วนที่เหลือให้เช่าแก่บุคคลรายได้น้อย องค์กรการกุศลและองค์กรต่างๆ ของรัฐ ในอัตราที่ต่ำกว่าราคาตลาดทั่วไป
 
อันที่จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำรัฐประหารในปี พ.ศ.2549 และพระองค์มิได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเอกชาติชายในปี พ.ศ.2534 แต่เนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อทำไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับหรือยกเลิกได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต้องลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ มิเช่นนั้นก็จะเกิดสุญญากาศในการบริหารกิจการบ้านเมือง (การที่ไม่มีรัฐบาลจะทำให้ประเทศอยู่ในสภาวะสูญญากาศทางการเมืองและเกิดความสับสนวุ่นวาย)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและและทรงเป็นพุทธมามกะที่ยิ่งใหญ่ การที่ทรงเป็นพุทธมามกะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่มีความเห็นแก่พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้มีแต่ให้ พระองค์มิทรงเคยเอาผลประโยชน์จากประชาชนชาวไทย

เงินหรือการบริจาคจากสาธารณชนที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะถูกส่งต่อไปยังองค์กรการกุศลอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชจริยวัตรเรียบง่ายและเสวยพระกระยาหารธรรมดา พระองค์จะทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือทรงใช้รถพระที่นั่งลีมูซีนต่อเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีอย่างเป็นทางการ

นั่นคือถ้าเป็นพระราชกรณียกิจที่เป็นทางการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงทำอย่างเป็นทางการ แต่หากเป็นพระราชกรณียกิจที่ไม่เป็นทางการ พระองค์จะทรงทำอย่างเรียบง่าย
 
ตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย คำว่า“ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย”นี้เป็นสิ่งซึ่งอยู่ในพระราชหฤทัยเป็นลำดับแรกเสมอมา

บางครั้งคนไทยก็เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พ่อหลวง” คำนี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ในสมัยสุโขทัย แต่พระองค์ทรงปกครองประชาชนเฉกเช่นพ่อปกครองลูก

 “ประชาชนชาวไทยรู้อยู่ลึกๆ ในใจว่า
พ่อหลวงจะไม่ทรงคิดร้ายแก่ประเทศไทย
พ่อหลวงไม่ทรงเห็นแก่พระองค์”
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทไทยดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับที่ดินและสิ่งแวดล้อมของตนเอง เมื่อพวกเขาสามารถดำรงชีพได้อย่างพอเพียงบนผืนดินและสิ่งแวดล้อมของเขาเองแล้วพวกเขาก็จะสามารถมีเงินออมเพื่อใช้ในอนาคตโดยการขายส่วนที่เหลือกินเหลือใช้

ในความเป็นจริง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรมากที่สุดในโลก เรามีสภาพภูมิอากาศที่ดีมาก มีภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อยมาก ข้าวไทยเป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก ผลไม้ไทยก็เป็นผลไม้ที่ดีที่สุดในโลก ผืนดินก็อุดมสมบูรณ์และต้นไม้ก็สามารถเติบโตได้เองโดยธรรมชาติ ที่นี่คือสุวรรณภูมิ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งทองคำคุ้มครองโดยพระสยามเทวาธิราช

แต่ระบบและค่านิยมแบบสมัยนิยมผลักดันให้ชาวชนบทไทยออกห่างจากชุมชนของพวกเขาอันเป็นการทำลายโครงสร้างทางสังคมของพวกเขาลง พวกเขาจะถูกเอาเปรียบจากคนรวยในพื้นที่และสังคมชนบทก็ยิ่งถูกทำให้อ่อนแอลง ความไม่เท่าเทียมทางสังคมและความไม่ยุติธรรมพบเห็นได้ในประเทศไทยมานานก่อนที่จะเกิดปรากฏการณ์เสื้อแดงเสียอีก

การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองและกลุ่มเสื้อแดงก็เป็นผลจากช่องว่างของความคิดหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองและคุณค่าของสังคมไทย ในขณะนี้เราก็ยังคงมีความต้องการประชาธิปไตยแม้ว่าเราจะไม่รู้ว่ามันคืออะไรหรือการทำให้เกิดประชาธิปไตยจริงๆ ได้อย่างไร และไม่ว่ารัฐธรรมนูญของเราจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วนเพียงใด เรายังคงจะมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว และมีภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสมอยู่ในรัฐสภา

เมื่อใดก็ตามที่เรามีการเลือกตั้งเรามักจะพูดว่ามันเป็นสิ่งดี ที่ในที่สุดเสียงของประชาชนก็ได้รับความสนใจเพราะพวกเราไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงการเมืองไทยเต็มไปด้วยความทุจริต ไม่ว่าเราจะเปลี่ยนหรือปฏิรูปการเมืองหรือแม้กระทั่งมีรัฐประหาร นักการเมืองหน้าเดิมๆก็กลับมาหลอกหลอนพวกเราอีก ประชาธิปไตยของไทยช่างน่าสิ้นหวังจริงๆ

ในความเป็นจริงหากคนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าเรามีความสุขกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์และวัฒนธรรมอันมากมายที่ไม่มีในชาติอื่น เราก็จะยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์ไปตราบเท่าที่เราต้องการ ประชากรไทยเท่านั้นที่จะตัดสินใจ ไม่ใช่นักวิชาการจอมปลอม สื่อต่างชาติ นักสิทธิมนุษยชน องค์กรเอกชน หรือแม้แต่ผู้นิยมลัทธิมากซ์

หมายเหตุ บทความนี้เป็นบางส่วนของบทความ “เผด็จการเสียงข้างน้อย กับเผด็จการเสียงข้างมาก” (TheTyranny of the Minority vs the Tyranny of the Majority) ของทนง ขันทอง จาก http://blog.nationmultimedia.com/thanong/2008/10/08/entry-2 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 8 ตุลาคม 2551

สองธรรมราชา ตอนที่ 2 จบ


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามที่ "พระโศภณคณาภรณ์" ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษเป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) ในระหว่างที่เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

ในการนี้ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในพระราชทินนามที่ "สมเด็จพระวันรัต" ทรงเป็นพระราชอนุศาสนาจารย์

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง ในพระราชทินนามที่ "พระสาสนโสภณ" ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ 

ทรงปฏิบัติสมณธรรมรวมเป็นเวลา 15 วัน จึงทรงลาผนวช 


จากซ้าย : พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในพระราชทินนามที่ "สมเด็จพระวันรัต" ทรงเป็นพระราชอนุศาสนาจารย์


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง ในพระราชทินนามที่ "พระสาสนโสภณ" ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามที่ "พระโศภณคณาภรณ์" ทรงเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) 


พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงปลูกต้นสัก ณ บริเวณด้านหน้าของพระตำหนักใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร เมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวันทรงลาผนวช 

สองธรรมราชา


ช่วงก่อนที่จะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ประมาณ พ.ศ. 2520
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มักเสด็จฯ ไปที่วัดเพื่อสนทนาธรรม 
โดยรับเสด็จที่โบสถ์บ้าง ที่ตำหนักบ้าง แต่ช่วงหลังไม่สะดวก 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนิมนต์เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
กับพระสงฆ์อีก 15 รูป เข้าไปในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 
เพื่อถวายสังฆทานทุกวันจันทร์ หลังจากถวายสังฆทานแล้ว
จะทรงสนทนาธรรมเป็นเวลานับชั่วโมง 

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปบันทึกโอวาทและเทศนาต่างๆ ในพระอุโบสถ
และคำสอนพระใหม่ คำอบรมกรรมฐานตอนกลางคืน
ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร 
และของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมมสาโร) วัดราชผาติการาม 
แล้วนำไปฟัง ซึ่งน่าจะเริ่มตั้งแต่ปี 2510

พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร 
อดีตนายตำรวจราชสำนัก กล่าวถึงเรื่องเดียวกันนี้ว่า 

“ผมเชื่อว่าท่านทรงขึ้นต้นถูก และได้ครูที่มีความสามารถ ครูองค์นี้หรือรูปนี้ 
คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน 
ท่านเป็นพระพี่เลี้ยงพระเจ้าอยู่หัวในขณะที่ประทับอยู่ที่วัดบวรฯ 
เพราะฉะนั้นก็ได้ครูธรรมที่เรียกว่าชั้นยอดที่สุดของเมืองไทย 
ผมเห็นท่านทรงศึกษาจากตำราของครูบาอาจารย์เอง 
เสด็จฯ ไปที่ไหนก็ตาม ที่มีพระที่มีความรู้ทางกรรมฐาน ทางวิปัสสนา
จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมและรับสั่งกับพระเหล่านี้ทุกรูป

เมื่อผมยังอยู่ในวัง ผมมีหน้าที่หาพระถวายท่านเวลาเสด็จไปประทับต่างจังหวัด
เพราะเรามีหน้าที่ศึกษาภูมิประเทศเพื่อจะเตรียมการเสด็จพระราชดำเนิน
ตอนที่ออกเดินไปศึกษาภูมิประเทศ พบพระดีๆ
เราก็ต้องกลับมากราบบังคมทูลท่านว่ามีพระอยู่วัดนี้
ตอนเสด็จไปทางนั้นเราจะจัดเสด็จพระราชดำเนินให้สอดคล้องกัน
คือให้ทรงมีเวลาที่จะแวะวัดนั้นและพระเหล่านั้นด้วย
ถ้าท่านทรงศึกษาขนาดนี้แล้ว การไปหาพระก็จำเป็นน้อยลง” 
(หนังสือ ๙๙ คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช )


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขึ้นเป็น 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช 1351
ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2532
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 
ท่ามกลางมหาสังฆนิบาติ พระบรมวงศานุวงศ์ 
และข้าราชการทหารพลเรือน เป็นแบบแผนพระราชพิธีที่ปฏิบัติต่อมา
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต สืบต่อจาก 
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) 
เริ่มด้วยการจารึกพระสุพรรณบัฏ
ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันแรก 

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัตร
พระสุพรรณบัฏ พระตราตำแหน่ง พัดยศ และเครื่องสมณศักดิ์ ฯลฯ
แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ประวัติสังเขป สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน)
เจริญ คชวัตร
ประสูติ3 ตุลาคม พ.ศ. 2456
สิ้นพระชนม์24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พระชนม์100 ปี 21 วัน
อุปสมบทพ.ศ. 2476
พรรษา80 ปี 329 วัน
วัดวัดบวรนิเวศวิหาร
ท้องที่กรุงเทพมหานคร
สังกัดธรรยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.9
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ลายพระนามLikit SD.jpg

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

พระประวัติ
ขณะทรงพระเยาว์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู[2]
เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามเป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษาและได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมา คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่ง พระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม
พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484

การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวผนวช

หลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย

เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก

ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[6] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย[7]
สมเด็จพระสังฆราช


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น

เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์[6] ( ในพระนาม ใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)

ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช


หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547

ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ ประเทศจีน และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนปาล พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้ง สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช

ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวร และประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[12] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สิ้นพระชนม์


พระโกศกุดั่นใหญ่ประกอบพระอิสริยยศพระศพ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1] มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 นาฬิกา พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น พร้อมเครื่องประกอบพระเกียรติยศ และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน

พระกรณียกิจ
พระกรณียกิจของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นอเนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้

ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ
พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2509 ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
พ.ศ. 2511 เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2516, และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2514 เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศฯ
พ.ศ. 2520 เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน 43 คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
พ.ศ. 2528 ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซีย และในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน 73 คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พ.ศ. 2536 เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
พ.ศ. 2538 เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

ด้านสาธารณูปการ
ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ

ปูชนียสถาน
ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
พระอาราม ได้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง เชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง ชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตาอินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล

โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี

โรงพยาบาล
ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี, โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี, และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม 19 แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง

พระภารกิจ
พ.ศ. 2484 เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2489 เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
พ.ศ. 2499 เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ
พ.ศ. 2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระญาณสังวร" สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2363 ถึงปี พ.ศ. 2515 เป็นเวลาถึง 152 ปี
พ.ศ. 2517 เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. 2528 เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2531 รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

พระนิพนธ์
ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้

ประเภทตำรา
ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค 1-2 สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ

ประเภทพระธรรมเทศนา
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ 5 กัณฑ์, ทศพลญาณ 10 กัณฑ์, มงคลเทศนา, โอวาทปาฏิโมกข์ 3 กัณฑ์, สังฆคุณ 9 กัณฑ์ เป็นต้น

ประเภทงานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ
ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท, วินัยมุข, พุทธประวัติ, ภิกขุปาติโมกข์, อุปสมบทวิธี, และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น

ประเภททั่วไป
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา, หลักพระพุทธศาสนา, พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ, 45 พรรษาพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ), วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ, พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ), แนวปฏิบัติในสติปัฎฐาน, อาหุเณยโย, อวิชชา, สันโดษ, หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมจิต, การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่, บัณฑิตกับโลกธรรม, แนวความเชื่อ, บวชดี, บุพการี-กตัญญูกตเวที, คำกลอนนิราศสังขาร, และตำนานวัดบวรนิเวศ เป็นต้น


ตราประจำพระองค์

พระเกียรติยศ
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. 2490 พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโศภณคณาภรณ์
พ.ศ. 2495 พระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2498 พระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2499 พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกคุณวิภูสิต ธรรมวิทิตคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2504 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณสุนทร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ อุดมศีลจารวัตรสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
พ.ศ. 2532 สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช

ตำแหน่งที่ได้รับการถวาย
ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา อันเป็นตำแหน่งที่ได้รับการทูลถวายจากผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศเข้าร่วมประชุมสุดยอดพุทธศาสนิกชนแห่งโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2555 ในฐานะที่ทรงได้รับการเคารพอย่างสูงสุด รวมทั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแห่งประเทศไทย ผู้สอนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทุกคนปฏิบัติธรรมตั้งอยู่ในพระปัญญาธรรมและพระกรุณาธรรมนำ ไปสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองมีพระบารมีปกแผ่ไพศาลไปทั่วราชอาณาจักรไทยและทั่วโลก นับเป็นแบบอย่างของสากลโลก ซึ่งเป็นการมอบตำแหน่งนี้เป็นครั้งแรกของโลก

ปริญญากิตติมศักดิ์
พระองค์ได้รับการถวายปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันการศึกษา ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2529: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2532: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2533: พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2537: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2538: การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. 2539: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2540: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2543: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2545: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาไทศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พ.ศ. 2548: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
พ.ศ. 2554: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
พ.ศ. 2556: ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

งานฉลองพระชันษา 96 ปี (8 รอบ)
3 ตุลาคม 2552 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 96 ปี รัฐบาลจัดให้มีการบำเพ็ญกุศล และงานฉลองเนื่องในโอกาสมงคลนี้
งานฉลองพระชันษา 100 ปี 3 ตุลาคม 2556

งานแสดงมุทิตาจิต ฉลองพระชันษา 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เวลา 08.00 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จฯ ออกทรงรับบาตรจากศิษยานุศิษย์ และ ประชาชนทั่วไป
เวลา 09.00 น. ศิลปิน ดารา นักร้อง ที่จะมาร่วมรณรงค์รับบริจาคเงิน เพื่อโดยเสด็จพระกุศล สมเด็จพระสังฆราชให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรและรับประทานเกียรติบัตร และออกรณรงค์รับบริจาคตามคลินิกผู้ป่วยนอก / หอผู้ป่วยพิเศษ / สำนักงาน
เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพล ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ชั้น 5
เวลา 13.00 น. การบรรยายพิเศษ “ใส่บาตรอย่างไร ได้บุญ ไกลโรค” ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส ตึก อปร.
เวลา 13.30 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับน้ำสรงพระราชทาน จาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และบรมวงศานุวงศ์ทุก พระองค์ เนื่องในงานฉลองพระชันษา 100 ปี
เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานทอดผ้าป่าสามัคคี 84,000 กอง
เวลา 15.30 - 16.45 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โปรดฯ ให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร
เวลา 17.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์แสดงมุทิตาจิตฉลองสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในงานฉลองพระชันษา 100 ปี
เวลา 18.00 น. พิธีลาบวชเนกขัมมบารมี 101 คน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๙